รายการโครงงาน

01204114 Introduction to Computer Hardware Development

ภาคปลาย ปีการศึกษา 2565 หมู่ 1

กลุ่มที่ 1 : บอลเซียวุ้นเส้นอ๊บ
ปุณยภา เจริญสุข
วรรณกานต์ ตันติเบญจธรรม
อภิภู ชูเจริญประกิจ
อิทธิวัฒน์ ชูเชิด
ชื่อโครงงาน: Pet Me เกมฟักไข่และเลี้ยงสัตว์เลี้ยง
รายละเอียด:

ที่มาและความสำคัญ


      โครงงานนี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจากเกมทามาก็อตจิ ซึ่งเป็นเกมที่ให้เราเลี้ยงสัตว์เลี้ยงเสมือนจริง โดยเราต้องดูแลสัตว์เลี้ยงของเราให้มีความสุข โดยโครงงานนี้จะมีแนวคิดคล้าย ๆ กันคือ ความสุขของสัตว์เลี้ยงเราจะขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมของบอร์ดของเรา เช่น อุณหภูมิ ความชื้นและแสง ถ้าสัตว์เลี้ยงของเรามีความสุขมาก ก็จะมีโอกาสที่จะเริ่มฟักไข่ โดยเราสามารถควบคุมตัวทามาก็อตจิได้ผ่านอุปกรณ์สื่อสาร เช่น คอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ โดยใช้หลักการ IOT

แนวคิดและหลักการ


Diagram
แผนภาพแสดงการทำงานของฮาร์ดแวร์, MQTT broker และ Node-RED



1. หลักการทำงานของฮาร์ดแวร์

      ในการทำโครงงานนี้ จะใช้ ไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP32-S3 จำนวน 2 ตัว ในการทำงานร่วมกัน โดย บอร์ดที่ 1 จะมีตัวตรวจสอบอุณหภูมิ ความชื้น (ผ่าน DHT20 Temperature & Humidity Sensor) และความเข้มแสงเพื่อส่งข้อมูลลงในระบบ IOT ผ่าน MQTT broker แล้ว บอร์ดที่ 2 ที่ได้ทำการ subscribe หัวข้อ (topic) ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับอุณหภูมิ ความชื้น และความเข้มแสงไว้แล้วจะนำข้อมูลไปประมวลผลในบอร์ด เพื่อนำไปประกอบการคำนวณค่าความเหมาะสมในการฟักไข่อีกครั้ง โดย บอร์ดที่ 2 จะทำการแสดงผลข้อมูลของสัตว์เลี้ยงของเราผ่านจอ SSD1306 OLED display เช่น ท่าทาง ความหิว ความสุข เป็นต้น ในขณะเดียวกัน บอร์ดที่ 2 จะส่งข้อมูลลงในระบบ IOT ผ่าน MQTT broker เช่นกัน เพื่อนำไปประกอบข้อมูลที่จะแสดงใน dashboard ที่สร้างขึ้นใน Node-RED ซึ่งเราสามารถดูสถานะและควบคุมสัตว์เลี้ยงของเราได้ผ่านทาง dashboard เช่น ค่าสุขภาพ ความหิว การให้อาหาร การเล่นกับสัตว์เลี้ยง เป็นต้น



Diagram3
ภาพขยายของบอร์ดที่ 2 และคำอธิบายประกอบ



2. หลักการทำงานของสัตว์เลี้ยง

      สัตว์เลี้ยงของเรานั้น จะมีทั้งหมด 3 สถานะหลัก ๆ คือ ไข่ (egg) ตัวที่ฟักแล้ว (hatchling) และตาย (dead) โดยเมื่อเริ่มต้นจะเป็นสถานะไข่ (egg) ซึ่งจะฟักก็ต่อเมื่อเปอร์เซ็นต์การฟักไข่นั้นถึง 100% โดยความเร็วในการฟักไข่นั้นจะขึ้นอยู่กับ 3 สถานะ คือ อุณหภูมิ ความเข้มแสง ความชื้น และความสุข โดยไข่จะฟักเร็วที่สุดก็ต่อเมื่ออุณหภูมิ ความเข้มแสง ความชื้น และความสุขนั้นเท่ากับ 25°C, 50%, 50% และ 100% ตามลำดับ เมื่อสัตว์เลี้ยงของเราที่อยู่ในสถานะไข่ฟักแล้ว จะเปลี่ยนจากสถานะไข่เป็นสถานะตัวที่ฟักแล้ว ซึ่งในสถานะนี้ สัตว์เลี้ยงของเราจะมีความอยากกินอาหารและมีความต้องการความสุขเพิ่มขึ้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องให้อาหารและเล่นกับสัตว์เลี้ยงผ่านทาง dashboard

      เช่นเดียวกันกับในสถานะไข่ สัตว์เลี้ยงของเราจะมีการฟักไข่เรื่อย ๆ สะสมกันไป โดยความเร็วนั้นจะขึ้นอยู่กับสถานะที่ได้กล่าวไว้แล้วข้างต้น ถ้าค่าความหิว นั้นเท่ากับ 100% เมื่อใด สัตว์เลี้ยงของเราจะมีค่าสุขภาพที่แย่ลง และจะลดลงเร็วขึ้นเมื่อค่าความสุข ของสัตว์เลี้ยงของเราเป็น 0% และเมื่อค่าสุขภาพ ของสัตว์เลี้ยงเท่ากับ 0% จะทำให้สัตว์เลี้ยงของเรานั้นตาย และไม่สามารถทำให้สัตว์เลี้ยงกลับมามีชีวิตได้จนกว่าเราจะกดปุ่ม reset บนบอร์ด ESP32-S3 เพื่อเริ่มต้นเกมใหม่อีกครั้ง



3. หลักการทำงานของ Node-RED dashboard

Diagram4
flow ของ Node-RED dashboard ซึ่งจะสามารถแยกประเภทการทำงานได้ 3 ส่วนดังรูป



จากรูปข้างต้น สามารถแบ่งการทำงานของ Node-RED dashboard ได้ 3 ส่วน คือ ส่วนนำเข้า ส่วนนำเข้าพิเศษ และส่วนส่งออกและสั่งการ โดยจะมีรายระเอียดดังนี้:

      3.1) ส่วนนำเข้า: ทำหน้าที่ในการรับข้อมูล string จากบอร์ดผ่าน MQTT โดยใช้ node mqtt in แล้วนำไปแสดงผลใน UI widget สำเร็จรูปบน dashboard ทันทีโดยไม่ผ่านฟังก์ชันใด ๆ และยังมี widget ui_template ที่ชื่อว่า CSS อยู่ทางบนซ้ายไว้ตกแต่ง dashboard โดยใช้ HTML และCSS เพื่อให้ดูสวยงามยิ่งขึ้น

      3.2) ส่วนนำเข้าพิเศษ: ทำหน้าที่ในการรับข้อมูลเช่นเดียวกับส่วนที่ 1 แต่แทนที่จะนำข้อมูลที่รับมาแสดงเข้าใน widget เราจะส่งข้อมูลเหล่านั้นไปเก็บไว้ในความจำชั่วคราวผ่าน JavaScript โดยใช้ฟังก์ชัน flow.get() เพื่อที่จะนำไปส่งเข้ากับ UI widget ที่สร้างขึ้นมาเองผ่าน widget ui_template ที่ชื่อว่า Needs ซึ่งจะอยู่ในส่วนที่ 3

      3.3) ส่วนนำเข้าและส่งออกแบบพิเศษ: ส่วนบน (Naming) ทำหน้าที่ในการส่งออกข้อมูล string กลับไปยังบอร์ดที่ 2 โดยใช้ node mqtt out โดยไม่ผ่านการประมวลผลผ่านฟังก์ชัน ในขณะที่ส่วนข้างล่าง (Clock) จะเป็นทั้งการรับและส่งข้อมูลทุก ๆ 1 วินาที โดยจะมีฟังก์ชันที่ชื่อว่า Counter ที่รับข้อมูลที่เก็บไว้ในความจำชั่วคราวในส่วนที่ 2 แล้วนำไปเรียบเรียงให้เป็นแบบ JSON เพื่อที่จะส่งไปยัง widget ui_template ที่ชื่อว่า Needs ที่ได้เคยกล่าวไว้ในส่วนที่ 2 ซึ่งสามารถทำให้เราสร้าง UI ขึ้นมาได้เองโดยใช้ HTML และCSS โดยในกรณีนี้ได้นำมาใช้สร้างหลอดความต้องการ ปุ่มให้อาหารและปุ่มเพิ่มความสุข โดย widget นี้จะอ่านข้อมูล JSON และแสดงผลออกมาผ่านทางหลอดทั้งสามหลอด และเมื่อกดปุ่มให้อาหารหรือปุ่มเพิ่มความสุขแล้ว จะมีการส่งข้อมูลชื่อชุดคำสั่งซึ่งเป็น string นำไปคัดแยกในฟังก์ชันที่ชื่อว่า Action เพื่อนำไปตัดสินใจว่าจะต้องใช้ node mqtt out ตัวใดส่ง



Diagram2
ตัวอย่าง Node-RED dashboard



อุปกรณ์ที่ใช้


  1. ESP32-S3 DevKit 2 ตัว:
    • ตัวที่ 1 ใช้ในการรับ-ส่งข้อมูล จากเซนเซอร์ไปยังในระบบ IOT ผ่าน MQTT broker
    • ตัวที่ 2 ใช้รับข้อมูลที่ส่งจากบอร์ดตัวที่ 1 แล้วแสดงผลออกมาผ่านทางจอ SSD1306 OLED Display และยังมีหน้าที่ในการรับคำสั่งจาก dashboard ในการควบคุมสัตว์เลี้ยงอีกด้วย
  2. LDR 1 ตัว: ใช้ในการวัดความเข้มแสง
  3. DHT20 Temperature & Humidity Sensor 1 ตัว: ใช้วัดความชื้นและอุณหภูมิ
  4. SSD-1306 OLED Display: ใช้ในการแสดงผล รูปร่างของตัวสัตว์เลี้ยง และสถานะต่าง ๆ เช่น การฟักไข่ ความหิว ความสุข อารมณ์และท่าทาง
ภาพถ่าย:
คลิปวีดีโอ:
ปรับปรุงล่าสุด 2023-03-17 10:16:09 โดย b6510503913
กลุ่มที่ 2 : เราจะทำอะไรกันนะ
คณาธิป พันธ์ดี
พฤฒินันท์ จรัสจารุมนต์
พสิษฐ์ พิศาลอัครเลิศกุล
ภวัต เลิศตระกูลชัย
ชื่อโครงงาน: ไฟผีหลอก
รายละเอียด:

ที่มาและความสำคัญ

      เป็นการนำแนวคิดของ LED Sensor หรือไฟเซนเซอร์ มารวมกับกล้องวงจรปิด คุณเคยเห็นไฟที่เปิดเองได้ไหม คนส่วนใหญ่ก็คงจะตอบว่าไม่ และถ้าอยู่ดีๆเราเห็นไฟมันติดเอง ก็คงจะเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องจ้องไปที่ไฟดวงนั้น แล้วคิดในใจว่า "เห้ย ผีหลอกเปล่าเนี่ย" ทำให้เรามีไฟอัตโนมัติใช้ในบ้านและสามารถใช้เป็นกล้องวงจรปิดที่มีโอกาสจับหน้าโจรที่แอบย่องเข้าบ้านคุณได้อีกด้วย

แนวคิดและหลักการทำงานของโปรแกรม

การทำงานของ Hardware

      เราใช้บอร์ด ESP32-S3 2 ตัว และ ESP32-CAM 1 ตัว โดยให้บอร์ด ESP32-S3 ตัวที่ 1 เชื่อมกับ IR Sensor ซึ่งจะใช้เป็นเป็นตัวตรวจจับวัตถุ เมื่อตรวจจับวัตถุได้จะส่งข้อมูลผ่าน MQTT Broker ไปยังระบบ IOT จากนั้นเมื่อบอร์ด ESP32-S3 ตัวที่ 2 ซึ่งเชื่อมต่อกับ Relay 5v ที่เป็นตัวควบคุมการเปิดปิดหลอดไฟ รับสัญญาณจากระบบ IOT จะทำให้หลอดไฟสว่างและส่งสัญญาณไปบอก user ผ่าน Node-RED Dashboard และ LINE Notify ในขณะเดียวกัน เมื่อ ESP32-CAM รับสัญญาณจากระบบ IOT จะทำการถ่ายภาพและส่งภาพไปให้ user ผ่าน LINE Notify จากนั้นเมื่อเซนเซอร์ไม่รับสัญญาณแล้วก็จะส่งข้อความไปบอกผู้ใช้งานผ่าน LINE Notify ว่าหลอดไฟดับแล้ว พร้อมบอกจำนวนหน่วยไฟที่ใช้งาน และคำนวณค่าไฟ ดังภาพ

line

ภาพตัวอย่างข้อความจาก LINE Notify

การใช้งาน Node-RED Dashboard

dashboard

ภาพ flow ของ Node-RED (สามารถกด Save ภาพ เพื่อดูภาพที่ชัดขึ้นได้)

      โดย Node-RED Dashboard ของเราประกอบด้วยฟังก์ชันต่อไปนี้

      1.การแสดงผล โดยในช่อง เช็คสถานะหลอดไฟ จะแสดงให้เห็นถึงสถานะของหลอดไฟ ถ้าค่าเป็น 0 แสดงว่าไฟดับ ถ้าค่าเป็น 1 แสดงว่าไฟติดอยู่ ในช่อง เช็คสถานะเซนเซอร์ จะแสดงให้เห็นถึงสถานะของเซนเซอร์ ตั้งแต่ 0 ถึง 100 โดยทุกๆ 1 ค่า จะเป็นการหน่วงเวลาของเซนเซอร์ 0.1 วินาที

      2.ระบบคำนวณค่าไฟ โดยในช่อง ขณะนี้ใช้ไฟไปแล้ว (หน่วย) แสดงให้เห็นว่า ขณะนี้ได้ใช้ไฟไปแล้วกี่หน่วย โดยเราสามารถนำมาคำนวณค่าไฟได้ เมื่อนำค่าไฟต่อยูนิตของวันนั้นๆมาใส่ในช่อง ราคาไฟฟ้าต่อหน่วย จากนั้นจะแสดงให้เห็นถึงค่าไฟในช่อง จำนวนเงินที่ต้องชำระ (บาท)

      3.การเปิดปิดระบบไฟเซนเซอร์ เราสามารถควบคุมระบบไฟเซนเซอร์ได้ด้วยสวิตช์ หลอดไฟ 001 เมื่อทำการปิดสวิตซ์ ระบบไฟเซนเซอร์ก็จะหยุดทำงาน ไฟจะดับ และระบบจะหยุดนับหน่วยไฟ แม้มีวัตถุมาบังเซนเซอร์ ตัวบอร์ดก็จะไม่ส่งสัญญาณมายังระบบ IOT และเรายังมีปุ่ม ระบบตั้งเวลาปิดอัตโนมัติ ซึ่งสามารถตั้งเวลาปิดของระบบไฟเซนเซอร์เมื่อถึงเวลาได้ วิธีการใช้งาน เช่น เราต้องการให้ระบบไฟเซนเซอร์ปิดการใช้งาน ณ เวลา 14:09 ก็ให้เราเลื่อนแถบ slider นาฬิกา (o'clock) ไปที่ 14 และแถบ slider นาที (minutes) ไปที่ 9 เมื่อถึงเวลา 14:09 สวิตช์ หลอดไฟ 001 ที่เปิดอยู่ก็จะปิดลง และระบบไฟเซนเซอร์ก็จะหยุดทำงานอัตโนมัติ

dashboard

ภาพ Node-RED Dashboard

อุปกรณ์

1. บอร์ด ESP32-S3 Devkit 2 ตัว :

      บอร์ดตัวที่ 1 ใช้ในการรับ ส่งข้อมูล จากเซนเซอร์ตรวจจับวัตถุไปยังในระบบ IOT

      บอร์ดตัวที่ 2 ใช้รับข้อมูลจากระบบ IOT ที่ได้จากบอร์ดตัวที่ 1 แล้วแสดงผลออกมาผ่านหลอดไฟ ที่ควบคุมโดย relay

2. บอร์ด ESP32-CAM 1 ตัว : ใช้สำหรับถ่ายและส่งภาพ

3. หลอดไฟ 9 W 1 อัน

4. IR Sensor 1 ตัว : ใช้สำหรับตรวจจับวัตถุ

5. Relay 5v 1 ตัว : ใช้สำหรับควบคุมหลอดไฟ

6. SSD-1306 OLED Display 1 ตัว : ใช้สำหรับ debug

7. ESP32-CAM USB TTL CH340G 1 ตัว : ใช้จ่ายไฟและเชื่อมต่อ ESP32-CAM

ภาพถ่าย:
คลิปวีดีโอ:
ปรับปรุงล่าสุด 2023-03-16 15:43:46 โดย b6510503247
กลุ่มที่ 3 : เช็ดโดรว
พลพล พัวกาหลง
ภัทรพล วลิตวรางค์กูร
ภูวนัตถ์ เนียมหลวง
ศักย์ศรณ์ มาลาสุทธิชัย
ชื่อโครงงาน: เซ็นเซอร์ตรวจสภาพอากาศ
รายละเอียด:

ที่มา

เนื่องด้วยสภาพอากาศของประเทศไทยในปัจจุบันมีความแปรปรวนเป็นอย่างมาก ทำให้กลุ่มของนิสิตต้องการทำเครื่องมือที่สามารถช่วยในการสังเกตสภาพอากาศในปัจจุบัน

แนวคิดและการออกแบบ

ในโปรเจคนี้เราจะใช้บอร์ด micro controller ESP32S3 ในการสร้างสถานีตรวจสภาพอากาศ โดยจะตรวจวัดสภาพอากาศ ซึ่งคือ อุณหภูมิ ความดันบรรยากาศ ความสูงจากระดับน้ำทะเล และ สามารถส่งข้อมูลที่ได้รับมา โดยจะใช้เซ็นเซอร์ BMP280 ในการตรวจวัดข้อมูล และ แสดงข้อมูลที่ได้มาผ่านจอ OLED โดยมี Led 3 ตัวเป็นตัวระบุข้อมูลที่ส่งไปใน Mqtt โดยแบ่งตามสี RED = Pressure YELLOW = Temperature Green = Altitude และเราจะรับค่าความหนาแน่นของฝุ่น PM 2.5 จาก IqAir ผ่าน Api แล้วแสดงผลผ่าน Node-RED Dashboard

อุปกรณ์ที่ต้องใช้

  • ESP32-S3 microcontroller
  • BMP280 sensor for temperature, humidity, and atmospheric pressure
  • OLED display (มีบนบอร์ด)
  • RGB LED (มีบนบอร์ด)
  • Resistors (220 ohm, 10k ohm) (มีบนบอร์ด)
ภาพถ่าย:
คลิปวีดีโอ:
ปรับปรุงล่าสุด 2023-03-14 21:46:18 โดย b6510503701
กลุ่มที่ 4 : ฮักไม่ยุ่งมุ่งแต่เฮียนแต่ถ้าสาวมาแวะเวียนข้อยบ่เฮียนก็ด้าย
ฉันทวัฒน์ อภิวัฒน์ธนาคม
ณัฐดนัย สุธรรมภาวดี
ธัญชนก ปั้นมีรส
พรเทพ หอมเกษร
ชื่อโครงงาน: เฆื่องลสต้ลม๊าญน๊าม🥰🥰อีเอ๊ดพรีศามษิบศร๊อง👁👅👁
รายละเอียด:

ที่มา

เนื่องจากคนส่วนใหญ่ใช้เวลากับการใช้ชีวิตอยู่นอกบ้าน ทำให้คนที่ปลูกต้นไม้ที่บ้านไม่มีเวลา/ลืมรดน้ำต้นไม้ เราจึงคิดค้นเครื่องรดน้ำต้นไม้อันโตมันติที่สามารถตั้งเวลาและปริมาณน้ำที่รดได้

แนวคิดและการออกแบบ

ในโปรเจคนี้เราจะออกแบบการรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติโดยการใช้บอร์ด esp32s3 เซนเซอร์ตรวจจับความชื้นของดิน สามารถเปิดปิดน้ำและตั้งเวลาได้โดยผ่านแอป และบอกข้อมูลสถานะ : ความชื้นในดิน(แสดงผลเป็นเปอร์เซ็นต์), ชื่อพืช(ตั้งเองได้) และ Pump Status(ON/OFF)

อุปกรณ์ที่ใช้

1.ESP32-S3 2 ตัว ตัวแรกใช้ควบคุมการเปิดปิดน้ำ และการตั้งเวลา ตัวที่สองใช้รับค่าสถานะจากตัววัดความชื้นและอุณหภูมิ

2.Water Pump ใช้ในการปั้มน้ำ

3.Relay ใช้ในการเปิด/ปิดคล้ายสวิทซ์ไฟ

4.สายยางรดน้ำ

5.Soil moisture sensor เครื่องวัดความชื้น

6.สายไฟฟ้า

7.Bread board

8.Switch(มีบนบอร์ด)

ภาพถ่าย:
คลิปวีดีโอ:
ปรับปรุงล่าสุด 2023-03-16 12:31:44 โดย b6510503352
กลุ่มที่ 5 : จอมโจรขโมยหัวจัย
ชานน แสงสมชัยพิพัฒน์
นภัสสรณ์ ทองแท้
เบญญาภา จันทร์วิสุทธิ์สิริ
รสิตา วรคามิน
ชื่อโครงงาน: จอมโจรก็หนาวใจ
รายละเอียด:

ที่มา

ในตอนกลางคืน เราเปิดเครื่องปรับอากาศระหว่างนอนหลับ และตั้งเวลาปิดแอร์ไว้เพื่อประหยัดค่าไฟ เมื่อเครื่องปรับอากาศดับลง อุณหภูมิในห้องก็จะสูงขึ้น ทำให้เรารู้สึกร้อนจนต้องตื่นขึ้นมากลางดึกเพื่อเปิดพัดลม เป็นการขัดจังหวะการนอน และทำให้เรารู้สึกนอนไม่เต็มอิ่ม เราจึงทำอุปกรณ์ที่สามารถเปิด-ปิดพัดลมอัตโนมัติ และควบคุมอุณหภูมิในห้องให้คงที่ได้ ปัญหาร้อนหรือหนาวเกินไปก็จะไม่เกิดขึ้นอีกต่อไป

แนวคิดและการออกแบบ

การทำงานของอุปกรณ์นี้จะใช้บอร์ด ESP32-S3 ทั้งหมด 2 ตัว ดังนี้

บอร์ดแรก จะติดตั้ง thermistor เพื่อใช้วัดอุณหภูมิภายในห้องเอาไว้ เราจะรับค่ามันมาและแปลงด้วยสูตรให้กลายเป็นองศาเซลเซียส จากนั้นก็จะทำการตรววจสอบเงื่อนไข ว่าเกินอุณหภูมิที่ได้ตั้งไว้หรือไม่ หากเกิน บอร์ดตัวนี้จะทำการส่งสัญญาณผ่าน mqtt ไปยังบอร์ดที่สอง

บอร์ดที่สอง จะทำการรับค่าอุณหภูมิที่ส่งมาจากบอร์ดตัวแรก และทำให้ relay เปิดกลายเป็นวงจรที่สมบูรณ์ ทำให้พัดลมติดนั่นเอง

สำหรับ user เราได้สร้าง dashboard จาก Node-RED มีช่องที่สามารถใส่เพื่อกำหนดอุณหภูมิห้องที่อยากให้คงที่ได้ และมี gauge และตัวเลขแสดงอุณหภูมิห้อง ณ ขณะนั้น

อุปกรณ์ที่ใช้

  1. ESP32-S3 DevKit 2 ตัว
    • ตัวแรกตรวจจับอุณหภูมิ
    • ตัวที่สองส่งสัญญาณไปเปิด-ปิดพัดลมอัตโนมัติ
  2. Relay board 5V 1 ตัว : ใช้เปิด-ปิดพัดลมอัตโนมัติ
  3. TTC103 thermistor 1 ตัว : ใช้วัดค่าอุณหภูมิในห้อง
  4. ตัวต้านทาน 10k 1 ตัว
  5. USB port : เชื่อม external power supply
  6. พัดลม 5V

*ดูไฟล์ README.html จะเห็นเป็นหน้าเว็บสวยๆ

ภาพถ่าย:
คลิปวีดีโอ:
ปรับปรุงล่าสุด 2023-03-14 20:14:04 โดย b6510503492
กลุ่มที่ 6 : แม่หนูโมย่า แม่ปลาน้อยนีโม่
ทิพานัน ชาครียรัตน์
ปัณณพร อินทรสมใจ
ภิญญมาศ สังสิทธยากร
สุพิชชา แมนประโคน
ชื่อโครงงาน: เจ้าหนูโมย่าา MOYAA (demo ver.)
รายละเอียด:

ที่มา :

พอการสั่งของออนไลน์มันทำได้สะดวกขึ้น ทำให้คนเรายิ่งจับจ่ายซื้อของมากขึ้นจนลืมไปว่าสั่งของมาไว้นานแล้ว บางคนถึงขั้นดองไว้หลายกล่องในลิ้นชักพัสดุจนนิติคอนโดงง เลยเกิดไอเดียที่จะมาช่วยแจ้งเตือนเมื่อมีของเข้ามาใหม่ ทำให้เราไม่ลืมที่จะลงไปเอาของ

อุปกรณ์ที่ใช้ :

  • ESP32-S3 microcontroller
  • IR Infrared photoelectric Sensor Module
  • power bank

หลักการทำงาน :

พอ ir sensor จับวัตถุที่ขวางได้(digitalRead ได้ค่าเป็น0) ก็จะส่งข้อมูลมาที่ ESP32S3 โดยเราจะใช้ arduino IDE เขียนโค้ดให้ 1.บอร์ดหลัก publish ข้อมูลผ่าน mqtt broker(จะเอาข้อมูลตรงนี้ไปใช้ใน node-red อีกที เพื่อส่ง payload เข้า google form จะได้ google sheet ที่ real time ออกมาเพื่อไปทำหน้าเว็บแจ้ง history ต่อ)
2.ส่งline notification ด้วย ESP32S3 3.บอร์ดรองจะ subscribe topic ตัวเดียวกัน เพื่อแสดงผลผ่านหน้าจอ OLED

ภาพถ่าย:
คลิปวีดีโอ:
ปรับปรุงล่าสุด 2023-03-15 21:17:36 โดย b6510503697
กลุ่มที่ 7 : artist
พงศธร รักงาน
พิชญา เอี่ยมกล้าหาญ
ภาณุพงศ์ เลิศวีรนนทรัตน์
วรพล วัลลิภากร
ชื่อโครงงาน: PianoButLDR
รายละเอียด:

แนวคิด

เคยเห็นการนำแนวคิดของ LDR Sensor มารวมกับเปียโนหรือไม่ คนส่วนใหญ่ก็คงจะตอบว่าไม่ และถ้าได้เห็นการเล่นเปียโนจากLDR คงจะน่าสนใจมาก

หลักการทำงาน

บอร์ดแรกจะทำงานเป็นเหมือนเปียโนโดยเราจะใช้ LDR 9 ตัว เมื่อระดับแสงต่ำกว่าที่กำหนด ก็จะทำการเล่นตัวโน้ตจากไฟล์ .wav ผ่านลำโพง laptop

บอร์ดสองจะเป็นเหมือน remote control โดยใช้ปุ่มทั้ง 3 ตัวในการควบคุม ปุ่มแรกจะใช้ตั้งค่าโหมดที่ต้องการเปลี่ยน โดยมี 2 mode คือ ค่าระดับแสงขั้นต่ำ (sensitivity) และเครื่องดนตรี (instruments) ตั้งค่าระดับแสงขั้นต่ำในการเล่นเสียงเพลง และตั้งค่าเครื่องดนตรีที่จะให้ laptop เล่นเสียง เช่น piano, guitar, violin เป็นต้น แล้วก็แสดงค่าทั้งหมดใน OLED

ใน Node red ก็จะแสดงระดับแสงของ LDR ทั้ง 9 ตัว ระดับค่าแสงขั้นต่ำ (sensitivity) และ เครื่องดนตรี (instruments)

github.com/inspirezuza/PianoButLDR

อุปกรณ์ที่ใช้

บอร์ดแรก

  • ESP32-S3 1 ตัว
  • LDR 9 ตัว
  • ตัวต้านทาน 10K 9 ตัว

บอร์ดสอง

  • ESP32-S3 1 ตัว
  • Button 3 ตัว
  • ตัวต้านทาน 10K 5 ตัว
  • OLED 1 ตัว
ภาพถ่าย:
คลิปวีดีโอ:
ปรับปรุงล่าสุด 2023-03-16 23:01:10 โดย b6510503671
กลุ่มที่ 8 : ลิงกินผัก
กาลวัฏ งามเจตนรมย์
รัญชน์ นาคจีน
ลภัส ฉัตรจตุรภัทร
ศุภาพิชญ์ ช่วยชูหนู
ชื่อโครงงาน: ลิงกินพาร์คกิ้ง(ปิกาจูธาตุลม)
รายละเอียด:

ที่มาและแนวคิด

เพื่อพัฒนาระบบการจอดรถให้มีประสิทธิภาพ และอำนวยความสะดวกให้เหล่าประชาราษฎร์ โดยใช้เทคโนโลยี และปัญญาประดิษฐ์ ในการจัดการระบบการจอดรถสุดยอดอัจฉริยะ

อุปกรณ์ที่ใช้

  • Esp32
  • Esp-cam
  • IR sensor
  • IR LED
  • Display

หลักการทำงาน

ใช้ ESP32 เพื่อรับสัญญาณกับตัว Server(Node.js) ในการตรวจจับรถ(IR) ถ่ายภาพทะเบียน(Camera) และหน้าจอ โดยมีหน้าเว็บให้ใช้งานควบคู่กัน(React แสดง ที่ว่าง เงิน และบัญชี) ในส่วนของ Server จะรับหน้าที่ในการประมวณผลทั้งหมดไม่ว่าจะเป็น การจดจำป้ายทะเบียน(AI img to text) ระบบข้อมูลผู้ใช้(Database) รับ และส่งข้อมูล(API - esp32 - Webbroser)

ภาพถ่าย:
คลิปวีดีโอ:
ปรับปรุงล่าสุด 2023-03-16 21:56:40 โดย b6510503727
กลุ่มที่ 9 : 4กุมารหาญกล้า
กฤติน นันทสมบัติ
พงศภัค เอกฉาย
เสฏฐวุฒิ อภิชัย
เอกราช สุวรรณ์
ชื่อโครงงาน: water pikachu
รายละเอียด:

ที่มาและแนวคิดการออกแบบ

เนื่องจากในปัจจุบันผู้คนส่วนใหญ่มีความเกียจคร้านและหลงลืมอยู่บ่อย ๆ อีกทั้งยังไม่ค่อยให้ความสำคัญกับคุณภาพการนอนของตนเองให้มีประสิทธิภาพ พวกเราจึงจัดทำปิกาจูธาตุน้ำขึ้นมาโดยสามารถวิเคราะห์การนอนของผู้ใช้งาน

  • สามารถสั่งเปิด/ปิดอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ภายในบ้าน ซึ่งสามารถปิดอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า หรือสามารถตั้งเป็นแจ้งเตือนว่าลืมปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าตอนออกจากสัญญาณไวไฟของบ้าน
  • มีการตรวจสอบฝุ่น PM2.5 เพื่อนำมาปรับใช้กับเครื่องกรองอากาศภายในบ้าน
  • ตรวจสอบแก๊สภายในบ้านเพื่อป้องกันปัญหาไฟไหม้และแก๊สรั่ว
  • วิเคราะห์ความชื้นและอุณหภูมิสำหรับใช้ในการเปิด/ปิดอุปกรณ์เครื่องใช้ภายในบ้านให้เหมาะสม

อุปกรณ์

  1. ESP32S3
  2. ir transmitter infrared
  3. AHT10
  4. MQ2
  5. Dust Sensor
  6. Watt Meter
  7. Relay
  8. ESP32 WROOM Generic DevKit
  9. GY1145
  10. Nodemcu esp8266 V.3
  11. Arduino uno
ภาพถ่าย:
คลิปวีดีโอ:
ปรับปรุงล่าสุด 2023-03-17 09:07:41 โดย b6510503212
กลุ่มที่ 10 : คิดถึงคนบนฝ้า
ธนกร ศิริสลุง
ธนดล จำปาเงิน
ปุณกฤษ ตระกูลเงิน
พิทยา สุธีรวุฒิ
เศรษฐพงศ์ อดิเรกลาภ
ชื่อโครงงาน: Garage Legacy
รายละเอียด:

ที่มาและแนวคิด

ในปัจจุบันนี้ เวลาไปห้างสรรพสินค้าหรือไปหาที่ว่างจอดรถส่วนใหญ่แล้วก็จะเจอปัญหาที่ว่าไม่สามารถหาที่จอดรถได้ จึงหาวิธีที่จะหาที่จอดรถที่ว่างอยู่เพื่อความสะดวกสบายมากขึ้นโดยสามารถดูสถานะที่จอดรถได้ผ่านเว็บไซต์ หรือสามารถเห็นได้จากจอแสดงผลทางด้านหน้าที่จอดรถ โดยหลักการทำงานคือจะมีบอร์ดจำนวน 2 บอร์ด บอร์ดตัวที่หนึ่งจะมีเซ็นเซอร์ตรวจจับวัตถุและจะส่งค่าออกไปยังเซิฟเวอร์ บอร์ดตัวที่สองจะรับค่าที่ส่งมาไปยังจอแสดงผล และมีเซ็นเซอร์ทำงานร่วมกับ Servo motor สำหรับไม้กั้นทางเข้า และใช้ Node-Red ในการแสดงข้อมูลผ่านเว็บไซต์

อุปกรณ์ที่ต้องใช้

อุปกรณ์ที่มีอยู่แล้ว

  • ESP32-S3
  • OLED

อุปกรณ์เพิ่มเติม

  • Sensors
  • Servo motor
ภาพถ่าย:
คลิปวีดีโอ:
ปรับปรุงล่าสุด 2023-03-14 16:39:23 โดย b6510503832
กลุ่มที่ 11 : แซลม่อน
คุณากร พูลสุวรรณ
จิรเมธ วัฒนไพบูลย์
จุลศรี วัฒนาพิเชษฐ์พงศ์
ศุภกฤต สงสุวงค์
ชื่อโครงงาน: What the Dust 2.5
รายละเอียด:

ที่มา

ปัจจุบันประเทศไทยเผชิญปัญหามลภาวะทางอากาศที่รุนแรงมากขึ้นทุกปี โดยเฉพาะในเมืองหลวงและพื้นที่หัวเมืองภาคเหนือ เราจะได้ยินข่าวสารภัยผลกระทบสุขภาพจากมลภาวะทางอากาศโดยเฉพาะอย่างยิ่งฝุ่น PM2.5 เป็นประจำทุกปี

การตอบสนองกับปัญหามลภาวะทางอากาศในปัจจุบันได้เห็นการพัฒนาเครื่องมือวัดฝุ่นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการตรวจวัดค่าฝุ่นที่อาจกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตัวอย่างเช่น เซนเซอร์วัดค่าฝุ่น GP2Y1010AU0F ที่ถูกนำมาใช้ในการวัดค่าฝุ่น PM2.5 และ PM10 ซึ่งเป็นเครื่องมือที่มีความน่าเชื่อถือสูงและได้รับการยอมรับจากผู้ใช้งานอย่างแพร่หลาย

แนวคิดและการออกแบบ

ในการทำโครงงานนีเราออกแบบให้มีเซนเซอร์วัดร์ระดับค่าฝุ่น PM2.5 พร้อมส่งค่าอ่านที่อ่านได้ไปยังบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP32

รายการอุปกรณ์

  • Arduino ESP 32S3 2 บอร์ด
  • LCD 1 จอ
  • เซนเซอร์วัดค่าฝุ่น SHARP GP2Y10 GP2Y1010AU0F 1 ตัว
  • หลอด LED 3 สี

หลักการทำงาน

การทำโครงการนี้ จะใช้บอร์ด ESP32 เพื่ออ่านค่าจากเซนเซอร์วัดค่าฝุ่น GP2Y1010AU0F และส่งข้อมูลไปยัง IoT ซึ่งจะถูกนำมาแสดงผลบนจอ OLED ของ ESP32 อีกบอร์ดหนึ่ง

โดย ESP32 จะทำหน้าที่เป็นตัวอ่านค่าจากเซนเซอร์ GP2Y1010AU0F และนำข้อมูลที่ได้ส่งผ่านไปยัง IoT โดยใช้โปรโตคอล ในที่นี้ผ่าน WIFI KUWIN-IOT

ภาพถ่าย:
คลิปวีดีโอ:
ปรับปรุงล่าสุด 2023-03-16 20:03:47 โดย b6510503263
กลุ่มที่ 12 : เสือสุพรรณ
ชญานนท์ มานะกิจจานนท์
ชวัลวิทย์ เกียรติณัฐกร
ธนภูมิ แตงวงศ์
ศุภกิตต์ วงศ์โต
ชื่อโครงงาน: Lost Temple Adventure
รายละเอียด:

ที่มาและแนวคิด

ในปัจจุบันเกมส่วนใหญ่เป็นเกมออนไลน์ที่เน้นการแข่งขันเป็นหลัก ทำให้เกิดความเครียด มีปากเสียงกับเพื่อน อาจทำให้จุดประสงค์ของการเล่นเกมของบางคนแทนที่จะเล่นกับเพื่อนเพื่อผ่อนคลายความเครียดกลับได้ความเครียดเพิ่มขึ้นมาแทน กลุ่มของผมเลยมีแนวคิดที่จะจัดทำเกมขึ้นมา โดยเป็นเกมที่สามารถเล่นกับเพื่อนได้อย่างสนุกสนานด้วยอุปกรณ์ควบคุม 2 ชิ้นที่มีลักษณะแตกต่างกันไป ทำให้ต้องร่วมมือกันกับเพื่อนเพื่อข้ามผ่านอุปสรรคด้วยกัน จึงเกิดเป็นเกม Lost Temple Adventure ขึ้น ซึ่งตัวเกมเป็นเกมแนว 2D Platformer ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากเกมคลาสสิคตลอดกาลอย่าง Super Mario ที่จะต้องวิ่งผ่านด่านและอุปสรรคไปจนถึงเส้นชัยให้ได้

อุปกรณ์ที่ต้องใช้

  1. ESP32-S3 2 ตัว
    • ตัวแรกใช้ควบคุมการเดินของตัวละคร
    • ตัวที่สองมีใช้ควบคุมการโจมตีและการกระโดดของตัวละคร
  2. Accelerometer 1 ชิ้น
  3. Switch 2 ตัว

หลักการทำงาน

เป้าหมายของเกมคือพาตัวละครไปถึงเส้นชัยด้วยการควบคุมจากผู้เล่น 2 คน

บอร์ดที่ 1

ผู้เล่นที่ควบคุมบอร์ดที่ 1 จะเป็นคนควบคุมตัวละครให้เดินไปทางซ้ายหรือขวา ด้วยการเอียงบอร์ดไปด้านซ้ายหรือด้านขวา หลังจากมีการเคลื่อนไหวในแนวแกน X Accelerometer จะอ่านค่าเข้ามาที่ ESP32 firmware ที่ลงไว้ที่ ESP32 ก็จะประมวลผลและ publish ทิศทางที่ผู้เล่นกำลังเคลื่อนไหวไปยัง MQTT Broker จากนั้น script ที่เขียนในภาษา C# ก็จะ subscribe รับข้อมูลทิศการเคลื่อนที่ของผู้เล่นจาก MQTT Broker และทำให้ตัวละครเคลื่อนที่ไปตามการเคลื่อนไหวของบอร์ดต่อไป

บอร์ดที่ 2

ผู้เล่นที่ควบคุมบอร์ดที่ 2 จะควบคุมการกระโดดและการโจมตี โดยการกดปุ่มบนบอร์ด โดยปุ่มหนึ่งจะเป็นปุ่มที่ควบคุมการโจมตี และอีกปุ่มหนึ่งควบคุมการกระโดด เมื่อปุ่มถูกกด ก็จะส่งข้อมูลให้ ESP32 publish สถานะการโจมตีและการกระโดดไปยัง MQTT Broker จากนั้น script ที่เขียนในภาษา C# ก็จะ subscribe รับข้อมูลการสั่งโจมตีและกระโดดของผู้เล่นจาก MQTT Broker และทำให้ตัวละครโจมตีหรือกระโดดตามคำสั่งต่อไป

ภาพถ่าย:
คลิปวีดีโอ:
ปรับปรุงล่าสุด 2023-03-16 21:54:55 โดย b6510503298
กลุ่มที่ 13 : ไม่มีสติมีแต่สตางค์
ธนภรณ์ กิจวรเกียรติ
นพณัช สาทิพย์พงษ์
พัทธดนย์ ตันติเอมอร
วีรภัทร์ อุ่นอบ
ชื่อโครงงาน: JAVILS, Just A Very Intelligent light System
รายละเอียด:

ที่มา

ผู้จัดทำมีความเห็นว่า เวลาทำกิจกรรมที่แตกต่างกัน เราต้องการปริมาณแสงไม่เท่ากัน เช่นเวลาอ่านหนังสือ เวลาทำกิจกรรมปกติ เวลาพักผ่อน หรือเวลานอนหลับ รวมถึงเรื่องของสีของแสง โดยขึ้นอยู่กับความชอบส่วนตัวและความเหมาะสมของกิจกรรมนั้นๆ โดยผู้จัดทำต้องหลอดไฟ สามารถเพิ่มลดแสงได้ตามปริมาณ ณ จุดต้องการโดยอัตโนมัติ และสามารถเปลี่ยนสี โดยสามารถสั่งคำสั่งทั้งหมดจากโทรศัพท์ได้ *เพิ่มเติม เราจะมีฟังก์ชั่นในการให้ผู้ใช่สามารถตั้งค่า preset โดยเลือกค่าแสงและสีเก็บไว้ และตั้งชื่อ เมื่อกดปุ่ม preset จะสามารถตั้งค่าหลอดไฟเป็นค่าที่กำหนดไว้ก่อนได้

อุปกรณ์ที่ใช้

  • esp32 s3 2board
  • LDR
  • Oled
  • Neopixel (ต้องซื้อเพิ่ม)

หลักการทำงาน

จะมีบอร์ด1ตัว ที่มี LDR ตรวจสอบความเข้มแสง ณ สุดที่อยู่ และ บอร์ด1ตัว ที่มีหลอดไฟ RGB โดยผู้จะ กำหนดค่าแสงที่ต้องการ และสี ผ่าน note red เข้า mqtt ค่าแสงที่ต้องการจะถูกส่งไปบอร์ด LDR เพื่อประเมินว่าจะต้องเพิ่ม/ลด ความเข้มแสงของหลอดไฟผ่าน mqtt ส่งเข้าบอร์ดที่มีหลอดไฟและสีของแสงจะถูกส่งจาก note red ผ่าน mqtt เข้าบอร์ดที่มีหลอดไฟ

ส่วนของ preset คือใช้ module list ใน note red โดยเมื่อมีการเซฟ preset จะถูกแสดงในหน้าต่างนี้ และเมื่อกดปุ่ม preset ที่ต้องการ note red จะส่งค่าสี และค่าแสงส่งไปเข้าบอร์ด ผ่าน mqtt

ส่วนของการสร้าง preset เราจะเก็บข้อมูลเมื่อกดปุ่ม apply จะเก็บข้อมูล ชื่อ ค่าแสง และสีของแสง เป็น grobal แล้วเก็บสี ค่าแสง และสีเป็นlist เข้า dict ที่มีkey เป็น ชื่อที่ตั้งไว้

ภาพถ่าย:
คลิปวีดีโอ:
ปรับปรุงล่าสุด 2023-03-17 12:59:16 โดย b6510503450
กลุ่มที่ 14 : กล้ามใหญ่ไก่ย่าง
ณทรรศ ศิริจันทร์
ต่อบุญฤทธิ์ อิสระภักดีรัตน์
ธฤต จันทร์ดี
ศิวกรณ์ ชูภักดิ์
ชื่อโครงงาน: ระบบ safety ตรวจจับ เปลวไฟและควันไฟ
รายละเอียด:

ที่มาและแนวคิด

__ในปัจจุบันเกิดอุบัติเหตุเพลิงไหม้ในอาคารและบ้านเรือนอยู่บ่อยครั้งซึ่งเกิดขึ้นจากการควบคุมสถานการณ์หรือไม่ทราบถึงเหตุการณ์ได้ทันเวลา ทางกลุ่มของเราจึงพัฒนาโครงการนี้ขึ้นมา เป็นโครงการที่สร้างปอุปกรณ์เซฟตี้ ซึ่งตรวจจับ เปลวไฟ และ ควันไฟ ถ้าตรวจพบก็ออดเตือนภัยทำงาน ส่งข้อมูลไปยังมือถือของผู้ใช้และโทรแจ้งดับเพลิงสามารถควบคุมสถานการณืได้อย่างทันเวลา

อุปกรณ์ที่ต้องใช้

  • Esp32s3 Dev-module 2 ตัว
  • Infrared IR Flame Detector Sensor Module เซนเซอร์ตรวจจับเปลวไฟ 1 ตัว
  • MQ-2 Gas Sensor Module เซนเซอร์ตรวจจับควันและแก๊ส 1 ตัว

หลักการทำงาน

__ให้บอร์ดตัวที่2ตรวจจับแก๊ส LPG ด้วยอุปกรณ์ MQ-2 และส่งค่าควันและแก๊สที่วัดได้ไปแสดงผลที่ Node-Red และส่งค่าแก๊สLPGไปที่บอร์ดที่1 ในส่วนของบอร์ดที่1จะทำหน้าที่ตรวจจับเปลวเพลิงผ่านอุปกรณ์ Flame Detector และรับค่าแก๊ส LPG จากบอร์ดที่2 แล้วนำมาประมวลผล หากประเมินว่าเกิดไฟไหม้,แก๊สรั่ว หรือทั้งสองอย่างจะทำการส่งข้อความแจ้งเตือนไปยังอีเมลของผู้ใช้ทันที

ภาพถ่าย:
คลิปวีดีโอ:
ปรับปรุงล่าสุด 2023-03-16 20:22:29 โดย b6510503361
กลุ่มที่ 15 : แก้ไขภายหลังได้
กฤติน ชูเชิด
พัชรพล ธูปประสม
หัสชัย เอ้งฉ้วน
อิทธิเดช นามเหลา
ชื่อโครงงาน: นาฬิกาปลุกของด.ช.อภิภู
รายละเอียด:

1. ที่มาและแนวคิด

อิทธิเดช นามเหลา ไม่สามารถตื่นนอนภายในเวลาที่กำหนดได้ เพราะอิทธิเดช ชอบกดนาฬิกาแล้วไปนอนหลับต่อ ทำให้อิทธืเดชไม่สามารถตื่นไปเรียนทันได้ นอกจากนาย อิทธิเดชแล้ว ยังมีอีกหลายคนที่ประสบปัญหาคล้ายๆกัน ทำให้ทางตณะผู้จัดทำเล็งเห็นถึงปัญหาและต้องการหาวิธีการแก้ไข โดยการทำนาฬิกาปลุกที่ไม่สามารถหยุดปลุกได้โดยง่าย และไม่สามารถหยุดปลุกได้หากยังอยู่ใกล้นาฬิกา จึงเกิดเป็นนาฬิกาปลุกที่มีตัวหยุดปลุกแยกตั้งหาก และเพื่อเพิ่มความยากในการปลุกขึ้น ตัวหยุดปลุกเองจะเป็นเกมส์ที่จะแก้ก่อนเพื่อจะหยุดปลุก ไม่ใช่แค่กดปุ่มเฉยๆก็หยุด เพื่อประสิทธิภาพที่สูงขึ้น

2. แนวคิดและหลักการทำงาน

2.1 ส่วนของระบบโดยรวม

ในโครงงานนี้เราได้ตัดสินใจออกแบบให้มีโมดูลแยกกัน 3 โมดูลด้วยกัน ประกอบด้วย 1) โมดูลนาฬิกาตัวกลาง ทำหน้าที่แสดงค่าเวลาที่รับมาจาก Node red และส่งเสียงปลุกเมื่อเวลาตรงกับเวลาตั้งปลุกที่ได้รับมาจาก Node red พร้อมส่งสัญญาณไปกระตุ้นการทำงานของโมดูลที่เหลือ 2) โมดูล QUIZ กดสีตามหลอดไฟ 4 สี (ไซมอน) มีหน้าที่เป็นมินิเกมส์ที่ผู้เล่นต้องกดสีตามลำดับที่กระพริบขึ้นมาจากหลอด LED เพื่อจะส่งสัญญาณที่จะหยุดการดังของนาฬิกา แต่เพียงตัวเดียวจะไม่สามารถหยุดได้ ซึ่งโมดูลสุดท้าย 3) โมดูล QUIZ การคูณเลขง่ายๆ เป็นโจทย์ที่มีช้อยสองข้อ การตอบถูกจะเป็นการส่งสัญญาณให้หยุดการดังของนาฬิกา เมื่อตัวหยุดสัญญาณของนาฬิกาได้ส่งมาทั้งสองตัว นาฬิกาจะหยุดดัง และเตรียมปลุกในเวลาต่อไปตามที่ได้ตั้งไว้

2.2 ส่วนของแต่ละโมดูล

  • ตัวโมดูลนาฬิกามีเพียง ESP32-DEVKIT ลำโพง และ 7 Segments Display 4 digits เพราะต้องการแค่แสดงผลเวลา รับสัญญาณปลุก/เลิกปลุก และ ส่งเสียงเตือนผ่านลำโพง

alt text

  • ตัวโมดูล QUIZ กดสีตามหลอดไฟ 4 สี (ไซมอน) ประกอบด้วย ESP32-DEVKIT 4 LED Unit / 4 color buttons และ เซนเซอร์รับเสียง โดยเครื่องจะเริ่มทำงานเมื่อได้รับคำสั่งที่ส่งมาจากนาฬิกาเมื่อเสียงปลุกดังขึ้น 4 LED Unit / 4 color buttons เป็น Output Input หลักของโมดูลนี้เพื่อใช้ในการแก้โจทย์และส่งสัญญาณไปปิดนาฬิกาปลุก โดยเซนเซอร์เสียงมีหน้าที่ตรวจว่ายังได้ยิงเสียงของนาฬิกาปลุกหรือไป ถ้ายังได้ยิน แสดงว่ายังใกล้กับนาฬิกาเกินไป และจะไม่กระพริบไฟให้กดเพื่อแก้โจทย์ แต่จะส่องไฟค้างไว้ ระหว่างกดหากกดผิดหรือเว้นช่วงนานเกินไป ไฟจะกระพริบตามลำดับอีกรอบเพื่อให้กดใหม่อีกครั้ง

alt text

  • ตัวโมดูล QUIZ การคูณเลขง่ายๆ ประกอบด้วย ESP32-DEVKIT SSD-1306 LED DISPLAY ปุ่มกดสองปุ่ม และ เซนเซอร์รับเสียง โดย ESP32 จะสร้างโจทย์คูณเลขสองหลักออกมา จากนั้นสร้างคำตอบที่แท้จริงและคำตอบปลอมที่ใกล้เคียงกันมาเป็นช้อยให้เลือกสองอัน และส่งผลให้ Display แสดงผล ผู้เล่นต้องเลือกคำตอบที่ถูกต้องจากสองคำตอบนี้ โดยการกดปุ่มค้างไว้ให้ที่ตรงกับคำตอบที่ถูกต้อง หากตอบถูก เครื่องจะส่งสัญญาณไปปิดนาฬิกาปลุก และรีเซตโปรแกรม แต่หากตอบผิด เครื่องจะรีเซตโปรแกรมโดยไม่ส่งสัญญาณไปหยุดนาฬิกา และจะต้องทำให้จนกว่าจะตอบถูก ส่วนเซนเซอร์เสียงมีหน้าที่ตรวจว่ายังได้ยิงเสียงของนาฬิกาปลุกหรือไป ถ้ายังได้ยิน แสดงว่ายังใกล้กับนาฬิกาเกินไป และจะแสดงโจทย์ให้แก้ แต่จะแสดง GET AWAY FROM THE ALARM แทน จนกว่าเสียงจะหายไป

alt text

2.3 Node red & Dashboard

ในส่วนของ Node Red แบ่งออกเป็นห้าส่วน ดังรูป

alt text

  • ส่วนที่ 1 รับค่าเวลาเป็นช่วงโมงและนาทีจาก Dashboard ค่าเวลาที่ได้จะถูกนำมาใช้เป็นเวลาตั้งปลุกของนาฬิกา
  • ส่วนที่ 2 เป็นส่วนที่ดึงค่าเวลามาจาก Real time Clock GMT+7 เพื่อใช้เป็นเวลาที่โชว์ใน Dashboard และส่งไปยังโมดูลนาฬิกาเพื่อโชว์ลงบนจอ แสดงเป็นเวลาปัจจุบัน
  • ส่วนที่ 3 รับสัญญาณซับสไคปจากโมดูลนาฬิกา เพื่อส่งไปยังโมดูล QUIZ ทั้งสองให้ทำงานเมื่อนาฬิกาปลุก
  • ส่วนที่ 4 และ 5 เป็นส่วนที่รับสัญญาณซับสไคปจากโมดูล QUIZ ทั้งสอง และส่งไปยังนาฬิกา เพื่อสั่งให้นาฬิกาหยุด เมื่อได้รับสัญญาณจากทั้งสองเรียบร้อย

ส่วนหน้า DASH BOARD ประกอบด้วย

  • ตัวตั้งเวลาปลุกเป็นชั่วโมงและนาที

  • ระดับความยากของ QUIZ 1

  • แสดงเวลาปัจจุบันที่ได้รับจาก RTC

alt text

รายการอุปกรณ์ที่ใช้

1.ESP32-S3 DevKit 3 ตัว

  • บอร์ดตัวที่ 1 ใช้เป็นนาฬิกาปลุก

  • บอร์ดตัวที่ 2 ใช้เป็น Quiz กดปุ่มตามสีหลอดไฟ

  • บอร์ดตัวที่ 3 ใช้เป็น Quiz คูณเลขง่ายๆ

2.ลำโพงขนาดเล็ก 1 ตัว

3.ปุ่มกดขนาดเล็ก 2 ตัว

4.SSD-1306 OLED Display 1 ตัว

5.เซนเซอร์รับเสียง 2 ตัว

6.LED 4 สี 1ตัว

7.ปุ่มกด 4 ปุ่ม 4 สี 1ตัว

8.Seven Segment Display 4 digits 1ตัว

ภาพถ่าย:
คลิปวีดีโอ:
ปรับปรุงล่าสุด 2023-03-16 23:56:32 โดย b6510503883
กลุ่มที่ 16 : ตะลัยมาละจ้า
ธนภัทร จำเริญ
นิธิบุญ ฉัตรภัทริน
ภัทรพล ณ เนตร
สมพล อ้นหลำ
ชื่อโครงงาน: KULAI แอพบอกตำแหน่งรถตะลัยในมหาลัย
รายละเอียด:

ที่มา

เนื่องจากเราได้เล็งเห็นถึงปัญหาของคนที่เดินทางในมหาวิทยาลับเกษตรศาสตร์ในชั่วโมงเร่งด่วนทำให้บางคนไม่สามารถวางแผนเวลาว่าควรจะรอรถตะลัยหรือซิ่งวิน15บาทไป

หลักการทำงาน

ติดGPS MODULE ที่รถตะลัยแล้วนำตำแหน่งมาแสดงบนแผนที่ด้วยGoogle Map และมีจอติดที่ป้ายโดยสารจะบอกระยะและเวลาของรถตะลัยที่ใกล้ที่สุด

Map

จอที่ป้ายโดยสาร

อุปกรณ์

  • GPS Module GY-NEO-6MV2 Ublox https://www.cybertice.com/product/674/gps-module-gy-neo-6mv2-ublox
  • ESP32-S3
  • OLED I2C 0.96Inch 128x64 Blue Display
ภาพถ่าย:
คลิปวีดีโอ:
ปรับปรุงล่าสุด 2023-03-16 19:55:47 โดย b6510503654
กลุ่มที่ 17 : เราสองและสองเรา
บุรินทร์ จาริไพบูลย์
สุทธเมธ จันทร์นวล
ชื่อโครงงาน: ระบบควบคุมไฟจราจร
รายละเอียด:

ที่มา

เกิดจากการที่พวกผมอยากจะแก้ไขปัญหารถติดที่เกิดขี้นจากไฟจราจรภายในเมืองได้ตามสภาพการจราจร

อุปกรณ์ที่ใช้

  • esp32-s3
  • led 3 หลอด
  • จอ ssd1306 oled
  • ldr

หลักการทำงาน

ระบบไฟจราจรจะมีให้เลือก 3 โหมดโดยจะสาธิตไฟสีต่างๆด้วย led 3 สีและเวลาที่เหลือของไฟจราจรด้วยจอ oled

  • Passive Mode: เราจะสามารถตั้งเวลาไฟเขียว/แดงได้
  • Active Mode: เราจะสามารถควบคุมว่าไฟจราจรสามารถเปลี่ยนได้ตอนไหน (ยกเว้นไฟเหลือง)
  • Proceeds with Caution: ไฟเหลืองจะกระพริบทุกๆ 1-3 วินาทีให้ผู้ขับขี่ระมัดระวังต้องตัวเอง

โดยระบบทั้งหมดจะควบคุมด้วย Node-Red Dashboard แล้วจะสามารถเปลี่ยนโหมดได้แต่ต้องรอไฟเหลืองขึ้นก่อนระบบจึงจะเปลี่ยนเป็นโหมดที่ต้องการเพื่อความปลอดภัยและจะแสดงผลใน Node-Red Dashboard ว่าขณะนี้ระบบกำลังอยู่ในระบบใดไฟกำลังขึ้นสีใด Bonus: ไฟจราจรจะมืดสว่างตามความสว่างรอบข้างตรวจจับจาก ldr เพื่อให้แสงไม่แซบตาขณะขับขี่และประหยัดไฟ

ภาพถ่าย:
คลิปวีดีโอ:
ปรับปรุงล่าสุด 2023-03-17 09:49:18 โดย b6510503484