รายการโครงงาน

01204223 Practicum for Computer Engineering

ภาคปลาย ปีการศึกษา 2564 หมู่ 11,12

กลุ่มที่ 1 : เอิ๊กขี้งอน
ชยพล สาสนรักกิจ
ทิวัตถ์ ทรัพย์รัตนกุล
ณัฐดนัย เติมบุญผาติ
ภราดร วัชรเสมากุล
ชื่อโครงงาน: Tetris upgrade
รายละเอียด:

เกม tetris ที่เพิ่มระบบการเล่นหลายคน และอุปสสรรคที่ขัดขวางการเล่น โดยจะใช้สวิตซ์ในการขยับตำแหน่งบล็อก เซนเซอร์แสงสำหรับกำจัดอุปสรรค

ที่มา :
Tetris เป็นเกมแก้ปัญหาจัดเรียงตัวบล็อกที่หล่นลงมาโดยเกมดั้งเดิมจะสามารถเล่นได้แค่คนเดียวและเกมค่อนข้างจะให้ประสบการณ์การเล่นที่ซ้ำเนื่องจากการเล่นแต่ละครั้งจะมีการเปลี่ยนแปลงแค่รูปร่างของบล็อกที่สุ่มออกมา กลุ่มของเราจึงนำเกมนี้มาดัดแปลงให้มีโอกาสเกิดอุปสรรคขัดขวางการเล่น เพื่อประสบการณ์การเล่นที่แตกต่างและเพิ่มความท้าทายมากขึ้น นอกจากนี้ยังเพิ่มโหมด multiplayer ที่สามารถเล่น2คนได้ โดยจะเป็นการแข่งขันกันเพื่อให้การเล่นสนุกมากขึ้น

แนวคิดการออกแบบ :
เมื่อเริ่มเกมจะมีหน้าต่างเมนู โดยจะให้ทำการเลือกว่าเราจะเล่นคนเดียว หรือ2คน โดยใช้สวิตช์ขึ้นลงในการเลือก และใช้สวิตช์ด้านขวาในการกดตกลง
เมื่อกดตกลงแล้ว จะเข้าสู่หน้า calibrate เซนเซอร์แสงเพื่อวัดระดับแสงแวดล้อมของผู้เล่น โดยให้ผู้เล่นกดปุ่มลงเพื่อให้ตัวโปรแกรมเริ่มวัดแสง เมื่อวัดแสงเสร็จสิ้นจะทำการเริ่มเกมต่อไป
โดยในเกมจะใช้สวิตช์ในการเคลื่อนที่บล็อกในเกม ใน1จอยจะใช้ปุ่มทั้งหมด 4 สวิตช์ใน โดยสวิตช์ขึ้นคือ เปลี่ยนแนวของบล็อก สวิตช์ซ้ายขวาคือเคลื่อนบล็อกไปทางซ้ายและขวาตามลำดับ สวิตช์ลงคือเร่งความเร็วในการตกของบล็อก
ในการเล่นนั้นจะมีอุปสรรคในระหว่างการเล่นนั่นคือ การที่เสมือนกับมีแสงวาบขึ้นมาที่หน้าจอทำให้เราไม่สามารถที่จะเล่นได้ โดยวิธีการกำจัดนั้นจะเอามือบังเซนเซอร์แสงเปรียบเสมือนการบังแสงที่เข้ามาใส่ตานั่นเอง
เมื่อจบเกมแล้วนั้น จะมีให้เลือกว่าจะเล่นใหม่ หรือกลับไปที่เมนู โดยใช้สวิตช์ขวาเพื่อเลือกเล่นใหม่และสวิตช์ซ้ายคือกลับไปที่เมนู

รายการอุปกรณ์ :
Raspberry PI 1 ตัว
Board NodeMCU - ATmega328p (Practicum Board v3.2 CPE. KU 2020-11) 2 ตัว
Peripheral board (PRACTICUM PROTOBOARD CPE. KU) 2 บอร์ด
สายแพร์ 2 เส้น
Tag Switch(สวิตซ์กดติดปล่อยดับ) ขนาด 6 x 6 mm 8 ตัว
เซนเซอร์แสง(LDR) 2 ตัว
ตัวต้านทาน 10K 2 ตัว

คลิปวีดีโอ:
ปรับปรุงล่าสุด 2022-04-12 16:21:27 โดย b6310500295
กลุ่มที่ 2 : รักในหลวง
สุคชาธัม เซียวศิริถาวร
ตะวันฉาย ฉัตรกุล ณ อยุธยา
ปองภพ ไกรรวีโรจ
วิชญ์นพัฒน์ จำปาเรือง
ชื่อโครงงาน: ที่ใส่รหัสผ่านเพื่อปลดล็อกประตูนิรภัย
รายละเอียด:

ใช้ opencv กับกล้องเว็บแคม เพื่อตรวจจับใบหน้าตจากการสแกนใบหน้า และใช้วงจรต่อสวิชทำเป็นที่กดรหัสผ่าน เพื่อเปิดประตูนิรภัย โดยการที่จะแบ่งเป็น 3 กรณี โดยจะมีสถานะการรอเพื่อสแกนใบหน้า เมื่อใบหน้าผ่าน ก็จะเข้าสู่สถานะการรอรหัสผ่าน ต่อมาก็จะเข้าสู่สถานะเปิดประตูนิรภัย และเมื่อเวลาผ่านไปสักพัก ก็จะเข้าสู่สถานะการรอสแกนใบหน้า

ที่มา
ในปัจจุบันนี้ เรื่องระบบรักษาความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญ ในการจะเปิดประตูนิรภัย ก็ต้องมีการตรวจสอบอย่างรอบคอบ เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการรักษาความปลอดภัยที่ดี ส่วนใหญ่แล้วระบบรักษาความปลอดภัยในการเข้าถึงต่างๆ ก็จะมีหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นการใส่รหัสผ่าน การสแกนใบหน้า หรือการสแกนลายนิ้วมือ ซึ่งจะทำแค่อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น ในที่นี้เลยจะนำการสแกนใบหน้าและรหัสผ่านมาใช้งานร่วมกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาความปลอดภัย

แนวคิดการออกแบบ
ออกแบบตัวโปรแกรมและ hardware ให้สอดคล้องกันโดยจะมี stage 3 stage คือ
• Stage 1 : ตรวจสอบใบหน้า
ในส่วนนี้จะทำการตรวจสอบใบหน้าผ่านทางกล้องที่ต่อ pc ด้วย opencv
ถ้าใบหน้าที่ตรวจพบอยู่ในฐานข้อมูลจของคนที่สามารถเปิดประตูได้ จะเข้าสู่ stage 2 หรือการรอรับรหัสผ่าน
• Stage 2 : การรอรับรหัสผ่าน
ในส่วนนี้จะเป็นช่วงทำการรอรับรหัสผ่านจาก mcu โดยในส่วนของ pc จะทำการดึง usb.read มาเรื่อยๆ ว่ารหัสผ่านที่ผู้ใช้ทำการกรอกในส่วนของ mcu คืออะไร และผู้ใช้ได้กด submit หรือยัง
ถ้าผู้ใช้กด submit แล้วก็จะเป็นการนำรหัสผ่านจาก mcu มาเช็คว่าถูกหรือไม่ ถ้าถูกจะส่งข้อมูลกลับไปให้เข้าสู่ stage3 หรือช่วงประตูเปิดนั่นเอง แต่ถ้ารหัสผิด ก้จะส่งไปว่ารหัสผิด เพื่อให้ผู้ใช้ใส่เข้ามาใหม่อีกครั้ง และสุดท้ายถ้าหากระยะเวลาที่ผู้ใช้กรอกรหัสผ่านยาวนานเกินไป ระบบจะทำการย้อนกลับสู่ stage 1 เพื่อให้ผู้ที่จะเข้ามาสแกนหน้าใหม่ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับการเปิดประตูนั่นเอง
• Stage 3 : ช่วงประตูเปิด
ในส่วนนี้จะเป็นการเปิดประตูตามระยะเวลาที่เราตั้งค่าไว้เพียงอย่างเดียวไม่มีการทำอย่างอื่น และปิดประตุกลับสู่ stage 1 อีกครั้งเมื่อหมดเวลา

อุปกรณ์

• Board NodeMCU - ATmega328p (Practicum Board v3.2 CPE. KU 2020-11) 2 ตัว
• Peripheral board (PRACTICUM PROTOBOARD CPE. KU) 3 ชิ้น
• สายแพ 3 เส้น
• Switch button กดติดปล่อยดับแบบ 4 ขา ขนาด 6x6x5 mm 6 ชิ้น
​​• Servo SG90S 1 ตัว
• 1602 LCD (Blue Screen) 16x2 LCD with backlight of the LCD screen พร้อม I2CInterface 5V 1 ชุด
• Jumper wire Female-Female 4 เส้น
• Jumper wire Male-Female 3 เส้น
• Pin header ที่เพิ่มเข้ามา มีหลากหลายขนาด ดังนี้
- ขนาด 5x2 : 3 ชิ้น
- ขนาด 2x1 : 1 ชิ้น
- ขนาด 1x1 : 5 ชิ้น

เทคนิคที่ใช้ :
• Fronted :
- มีการแสดง GUI โดยจะมีการแสดงสถานะ 3 สถานะ คือ แสดงสถานะแรกคือการรอสแกนใบหน้า สถานะต่อมาคือสถานะการรอรับรหัสผ่าน และสถานะสุดท้ายคือ สถานะที่แสดงว่าประตูนิรภัยได้เปิดออก

• Backend :
- วิเคราะห์ใบหน้าโดยใช้ไลบราลี่ opencv ซึ่งจะวิเคราะห์ใบหน้าของผู้ใช้งาน โดยระบบจะทำการเรียนรู้ใบหน้าของผู้ใช้ที่ทำการเตรียมไว้แล้ว และจะทำการวิเคราห์ใบหน้าที่ได้รับจากกล้อง webcam ว่าตรง กับใบหน้าที่ได้เตรียมไว้หรือไม่ โดยหากส่วนวิเคราะห์เสร็จเรียบร้อยแล้ว โค้ดไลบราลี่ดังกล่าวจะส่งข้อมูลไปยัง microcontroller โดยผ่าน Pysub เพื่อรอรับการกดรหัสผ่านจาก Hardware เมื่อรหัสผ่านถูกต้อง ตัวไลบราลี่ opencv ก็จะส่งสถานะไปยัง microcontroller อีกครั้งเพื่อควบคุม servo ให้หมุน แล้วระบบก็จะทำซ้ำแบบนี้ไปเรื่อยๆ

• Hardware :
- mcu จะต่อพ่วงกับ 3 วงจรย่อย คือ
1. วงจร LCD หรือจอแสดงผล ซึ่งจะแสดงผลตาม stage ที่มันอยู่ เช่น stage 2 จะแสดงผลว่าผู้ใช้กำลังพิมพ์รหัสอะไรอยู่ เป็นต้น
2. วงจร switch หรือส่วนกดรหัสผ่าน จะมีสวิชอยู่ 6 ตัว โดยมี 4 ตัวไว้สำหรับพิมพ์รหัสผ่าน 1 ตัวไว้แทน backspace และอีก 1 ตัวไว้แทน enter(submit)
3. วงจร servo หรือส่วนประตู เป็นส่วนคอยเปิดปิด ซึ่งจะใช้อยู่ตอน stage 3

คลิปวีดีโอ:
ปรับปรุงล่าสุด 2022-04-06 22:19:17 โดย b6310500350
กลุ่มที่ 3 : คิดไม่ออก
ชนินทร์ชัย ช่วยประสาทวัฒนา
พุฒิสรรค์ ทองประเสริฐ
ยศวริส เนาวบุตร
ปารณัท วงศ์สานุภา
ชื่อโครงงาน: Snake Game
รายละเอียด:

ทำเกมส์งูกินหาง ใช้สวิตซ์ 4 ตัวในการควบคุมทิศทางของงู

ที่มา
เกมส์นี้เป็นเกมส์ที่เล่นได้ตามมือถือสมัยก่อน และเป็นไม่กี่เกมส์ที่เล่นได้ จึงทำให้คิดถึงและอยากลองสร้างเพื่อเล่นเอง

แนวคิดการออกแบบ
ต่อวงจรโดยใช้ switch 4 ตัวเป็นการควบคุมทิศทางของงูและแสดงตัวเกมทางหน้าจอ

รายการอุปกรณ์ที่ใช้
1. switch 4
2. RaspberryPI 1
3. Practicum Board (NodeMCU ATmega328p) 1
4.สายไฟ
5.ตัวต้านทาน

คลิปวีดีโอ:
ปรับปรุงล่าสุด 2022-04-11 22:07:17 โดย b6310503481
กลุ่มที่ 4 : JoyGress
ผู้นำ แซ่เล้า
พงศธร อินตะนัย
พีรณัฐ ศรีสุทธางกูร
ทศพล อัศวเดชขจร
ชื่อโครงงาน: ยอดนาฬิกามหัศจรรย์
รายละเอียด:

Description :
นาฬิกาที่สามารถตั้งปลุกได้ โดยหากจะปิดนาฬิกาปลุกต้องแก้ puzzle เพื่อหยุดนาฬิาปลุก
ที่มา:
นาฬิกาปลุกธรรมดาปิดเสียงได้ง่ายเกินไป ไม่ได้ช่วยให้ตื่นหรือแก้ปัญหาการง่วงจากการตื่นนอนอย่างจริงจัง จึงมีนาฬิกานี้ขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว

แนวคิดการออกแบบ
นาฬิกาแสดงผลเวลาบนจอ LCD โดยตั้งเวลาปลุกได้ผ่านทาง Website จาก Front end เมื่อเสียงปลุกดังขึ้นโดยใช้ passive buzzer และจะมี puzzle game “Light out 3*3” ที่แสดงผลด้วย LED 9 ตัวมาให้แก้เพื่อหยุดนาฬิกาปลุก โดยทีการทำงานของตัว puzzle นี้จาก backend บนคอมพิวเตอร์

รายการอุปกรณ์ที่ใช้
- RaspberryPI x1
- Practicum Board (NodeMCU ATmega328p) x1
- LED x9
- LCD x1
- Switch x3
- สายไฟ
- Jumper
- Passive Buzzer x1
- ตัวต้านทาน 330 ohms x3
- ตัวต้านทาน 10k ohms x9

เทคนิคที่ใช้ :
- Frontend
ใช้ Flask framework เพื่อสร้างเว็ปไซต์ซึ่งสามารถเพิ่มหรือลบเวลาที่ต้องการจะตั้งนาฬิกา รวมถึงแสดงเวลาที่ต้องปลุกไว้ทั้งหมด
- Backend
ใช้ MongoDB เป็น database ในการเก็บเวลาที่ตั้งปลุกไว้ โดยจะตั้งให้หน้าจอ LCD แสดงเวลาปัจจุบัน แต่เมื่อเวลาปัจจุบันตรงกับหนึ่งในเวลาที่กำหนดไว้ ระบบจะเริ่มเกมโดยอ่านค่าการทำงานของ Switch และตั้งสเตตัสของหน้าจอและ LEDs ด้วยผ่าน Microcontroller จนกว่าจะแก้ puzzle ได้แล้วจะกลับไปเป็นนาฬิกาปกติอีกครั้ง
- Hardware
ใช้จอ LCD ในการแสดงเวลาและไว้ใช้สำหรับเล่นเกม โดยจะมี led 9 ดวงสำหรับแสดงผลตัวเกม เมื่อถึงเวลาที่ต้องปลุก backend จะสั่งให้ active buzzer ดัง และจะดับก็ต่อเมื่อเล่นเกมผ่านหรือไม่ก็เกินเวลาที่กำหนด

คลิปวีดีโอ:
ปรับปรุงล่าสุด 2022-04-12 22:19:02 โดย b6310503430
กลุ่มที่ 5 : แหนดมหาประลัย
ปิยกร ทัตตินาพานิช
ณัฐ วีรกุล
ธีร์วรา เศรษฐเอกพันธ์
นนน บัวเพชร
ชื่อโครงงาน: Shake it!
รายละเอียด:

ที่มา:
ได้รับแรงบันดาลใจจากเกมผสม Cocktail "Bartender the right mix"

แนวคิด:
มีวัตถุดิบให้เลือกทั้งหมด 6 อย่าง กดเลือกวัตถุดิบที่จะมาเป็นส่วนผสมของ Cocktail ได้ 3 อย่างในเว็บไซต์ กดยืนยัน เขย่าขวด Cocktail ซึ่งมีเซนเซอร์วัดการสั่นสะเทือนติดไว้ที่ปากขวด จนกว่าจะสำเร็จ หากเลือกส่วนผสมตรงตามสูตร จะแสดงชื่อ Cocktail บนหน้าเว็บ

อุปกรณ์ที่ใช้:
1. Raspberry PI
2. Practicum Board
3. สายแพ
4. สายไฟ
5. 801S Vibration Sensor Module
6. Breadboard

เทคนิคที่ใช้
Frontend
ใช้ React javascript แสดงส่วนผสมที่สามารถเลือกได้ และสามารถกดเลือกส่วนผสมได้ผ่านหน้าเว็บ เมื่อเลือกและเขย่าขวดแล้วก็จะแสดง Cocktail ที่ได้
Backend
ใช้ Flask รับข้อมูลค่าการสั่นสะเทือนจาก Microcontroller และส่งข้อมูลต่อให้ React
Hardware
ใช้เซนเซอร์ 801S Vibration Sensor Module ในการวัดค่าการสั่นสะเทือนจากการเขย่า และส่งค่าให้ Microcontroller

คลิปวีดีโอ:
ปรับปรุงล่าสุด 2022-04-12 20:14:19 โดย b6310503294
กลุ่มที่ 6 : SAI-O (ไซโอ้)
ชนาวิทย์ เตชมณีกร
นพรุจ ศรีพงษ์พันธุ์กุล
ปริชญ์ สมานไพสิฐ
รวิชญ์ พยัคฆวรรณ
ชื่อโครงงาน: Speedpong
รายละเอียด:

ในทุกๆปีจะมีข่าวเกี่ยวกับการทำร้ายตัวเองของนักศึกษาซึ่งสาเหตุของการกระทำดังกล่าวก็คือ “ความเครียด”
ใช่ครับ คนเราทุกคนมีความเครียดสะสมอย่ในตัวเเละบางคนก็ไม่รู้ตัวว่าตัวเองมีความเครียดสะสมอยู่ด้วยซ้ำไป
เเละบางคนก็ไม่รู้วิธีการจัดการกับความเครียดอย่างเหมาะสม

ในวันนี้คุณอาจจะมองว่าเรื่องการฆ่าตัวตายมันเป็นเรื่องไกลตัวของคุณเเละคุณก็สามารถจัดการความเครียดของตัวคุณเองได้ดี เเต่คุณมั่นใจเหรอ ว่าคุณจะไม่เจอกับเรื่องที่คุณไม่สามารถรับมือได้เลย เเล้วถ้าวันนั้นมาถึง คุณจะทำอย่างไร?

พวกเรากลุ่ม SAI-O ได้มองเห็นปัญหานี้ อีกทั้งไม่นานมานี้ยังมีข่าวนิสิตมก.ที่กระโดดตึก ทางเราจึงอยากที่จะสร้างโปรเจคที่จะลดปัญหาหรือป้องกันไม่ให้ปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นอีก เเละเราหวังว่าจะให้ทุกคน สามารถให้ทุกคนระบายความเครียดเเละสนุกไปกับผลงานของเราได้

เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ในปัจจุบัน ทำให้เราไม่สามารถออกไปเล่นปิงปองที่ไหนได้ กลุ่มเราจึงจัดทำเกมตีปิงปองขึ้นมาเพือแก้ไขปัญหานี้ โดยจะทำการเขียนโค้ดเกมจากภาษา python ขึ้นมา แล้วทำการรับ input จากปุ่มบนบอร์ด เพื่อใช้ในการบังคับไม้ปิงปองในเกม (ใช้ในการเคลื่อนที่ขึ้นและลง)
อุปกรณ์ที่ใช้
- RaspberryPI x1
- Practicum Board (NodeMCU ATmega328p) x1
- Switch x4
- Wire
- Resistor 330 Ohms x4

คลิปวีดีโอ:
ปรับปรุงล่าสุด 2022-04-12 23:45:46 โดย b6310503421
กลุ่มที่ 7 : ปรมาจารย์การหนีเอฟ
โฆษิต วัฒนกุลวิวัฒน์
วิมลมณี วิศิษฎ์สกุลเจริญ
จิดาภา ณัฐภานนท์
ชุติพันธุ์ บาลมงคล
ชื่อโครงงาน: ROCK PAPER SCISSORS
รายละเอียด:

เป็นเกมเป่ายิ้งฉุบ โดยจะแบ่งผู้เล่นออกเป็น 2 ฝ่าย แข่งกันเป่ายิ้งฉุบ เมื่อฝ่ายใดชนะก็จะได้คะแนน 1 แต้มและถ้าฝ่ายไหนที่คะแนนสะสมครบ 3 คะแนน ก่อนก็จะเป็นฝ่ายชนะ

ที่มา:
ได้รับแรงบันดาลใจมาจากการเล่นเกมเป่ายิ้งฉุบกับเพื่อนในสมัยเด็ก ซึ่งเป็นเกมที่เด็กเข้าใจได้ง่าย เล่นง่าย และก็สนุกอีกด้วย เมื่อได้ความรู้ในการทำวงจรอิเล็กทรอนิกส์แล้วจึงอยากลองเป็นผู้สร้างเกมเป่ายิ้งฉุบนี้ในแบบของตัวเอง

แนวคิด:จะแบ่งเป็น 2 ฝั่ง ฝั่ง Player1 และ Player2
เริ่มจากการที่ทั้ง 2 ฝั่งกดปุ่มค้อนเพื่อเป็นการบอกว่าพร้อมในการเล่นเกม จากนั้นเว็บไซต์จะแสดงผลให้กดปุ่ม start เมื่อกดแล้วมีการนับถอยหลัง 3 วินาทีเพื่อเป็นการส่งสัญญาณให้กดปุ่มของค้อน กรรไกร หรือกระดาษ เมื่อกดปุ่มแล้ว servo จะทำงานเพื่อแสดงให้เห็นว่าแต่ละฝ่ายออกอะไร โดยฝ่ายที่ชนะในแต่ละรอบก็จะได้รับคะแนน 1 แต้มและจะแสดงผลคะแนนสะสมบนหน้าจอ ฝ่่ายไหนที่คะแนนครบ 3 แต้มก่อนก็จะเป็นฝ่ายชนะ

อุปกรณ์ที่ใช้:
1.servo moter 6 ตัว
2. สายไฟ
3. สวิตซ์ 6 ตัว
4. Arduino Uno board 1 ตัว (Practicum Board 2 boards)
5. Breadboard

เทคนิคที่ใช้ :

• Hardware :
มีการเขียนโปรแกรมบน Arduino IDE แล้วอัปโหลดลงบอร์ด Practicum ซึ่งควบคุมการทำงาน 2 ส่วนคือ
-สวิตซ์ 6 ตัว ควบคุมค้อน กรรไกร กระดาษ ของทั้ง 2 ฝั่ง
-servo motor แสดงผลว่าแต่ละฝ่ายกดสวิตซ์ค้อน กรรไกร หรือกระดาษ

• Website :
- มีการใช้ Flask เพื่อเชื่อมผลลัพธ์ที่ได้จาก Hardware กับ Website
- Website เขียนด้วย html css และ javascript
- Website ประกอบด้วย 2 หน้าคือ หน้าที่แสดงคะแนนสะสมกับหน้าที่แสดงผู้ชนะ

คลิปวีดีโอ:
ปรับปรุงล่าสุด 2022-04-12 08:45:09 โดย b6310505696
กลุ่มที่ 8 : ขอAได้ไหมคะ
ภรภัทร วงศ์สาวิตร
สุพิชชา วสุประสาท
ชนนันท์ วัฒนชานนท์
ณัฐรดา วัชราสินธร
ชื่อโครงงาน: ไม้เท้าปิ้วปิ้วปิ้ว (Pewpewpew_Cane)
รายละเอียด:

ไม้เท้าปิ้วปิ้วปิ้ว คือไม้เท้าที่ออกแบบมาสำหรับคนพิการทางด้านสายตา โดยมีลักษณะการใช้งานคือมีการแจ้งเตือนสิ่งกีดขวางที่อยู่ข้างหน้า รวมถึงเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้น จะมีการแจ้งเตือนไปยังผู้ดูแลเพื่อให้เกิดการช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที นอกจากนี้ยังสามารถสั่งการไม้เท้าผ่านทางโทรศัพท์ได้อีกด้วย

ที่มา
เนื่องจากทางเท้าในประเทศไทย มีการติดตั้ง braille block บนทางเท้าสำหรับผู้พิการทางสายตา แต่ใช้งานจริงไม่ได้ เพราะมักจะมีสิ่งกีดขวาง เช่น เสาไฟฟ้า ต้นไม้ เสากั้นมอเตอร์ไซค์ ป้ายบอกทางต่างๆ บนทางเท้าที่ไปกั้นทางเดินสำหรับผู้พิการทางสายตา และพื้นทางเดินมีความขรุขระ เป็นหลุมบ่อ ซึ่งทำให้อาจเกิดอุบัติเหตุ อย่างการเดินชน หรือเดินสะดุดได้ ทางคณะผู้จัดทำจึงเกิดความคิดที่จะทำไม้เท้าสำหรับผู้พิการทางสายตา ที่สามารถตรวจจับสิ่งกีดขวางข้างหน้า และตรวจจับการล้มได้ เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุบนทางเท้าของผู้พิการทางสายตา และยังสามารถสั่งการไม้เท้าผ่านทางโทรศัพท์ เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้แก่ผู้พิการมากขึ้น

แนวคิดการออกแบบ
- ฟังก์ชันการตรวจจับสิ่งกีดขวาง : ใช้เซนเซอร์ตรวจจับวัตถุ Ultrasonic Sensor โดยอาศัยหลักการการสะท้อนของคลื่นความถี่เสียง เมื่อพบวัตถุอยู่ข้างหน้า จะมีการแจ้งเตือนโดยการส่งเสียงแจ้งเตือนผ่าน Passive Buzzer ที่ไม้เท้า เพื่อให้ผู้พิการหลีกเลี่ยงได้ทัน และให้คนที่พบเห็นช่วยระวังได้อีกทางหนึ่ง
- ฟังก์ชันการตรวจจับการล้ม : ใช้เซนเซอร์วัดความเอียง Gyro Module ในการตรวจจับการล้ม เมื่อเซนเซอร์พบว่าค่าความเอียงอยู่ระดับที่มีความน่าจะเป็นในการล้ม จะมีการส่งข้อความแจ้งเตือนผ่าน Line Notify ไปให้ผู้ดูแลทราบ เพื่อที่จะให้ความช่วยเหลือได้ทัน ลดการเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงของผู้พิการ
- ฟังก์ชันการสั่งการไม้เท้า : ไม้เท้าจะรับคำสั่งจากผู้พิการสั่งการผ่านทางโทรศัพท์ และประมวลผลตามคำสั่งที่ได้สร้างไว้ เพื่อให้ความสะดวกแก่ผู้พิการ โดยในแบบจำลองจะใช้ google assistant ในการรับคำสั่งเพื่อเปิด/ปิดไฟ LED

รายการอุปกรณ์ที่ใช้
• Raspberry Pi 3 Model B+ 2 ชุด
• Board NodeMCU - ATmega328P (Practicum Board v3.2 CPE. KU 2020-11) 2 ชุด
• Gyro Module - GY-521 MPU6050
• Ultrasonic Sensor Module - HC-SR04
• Passive Buzzer Module
• LED 3mm (Yellow)
• 330 Ohm Resistor
• Breadboard 2 ชิ้น
• สายแพ 2 สาย
• Jumper wire male-Female 11 สาย
• Jumper wire male-male 4 สาย

คลิปวีดีโอ:
ปรับปรุงล่าสุด 2022-04-12 20:14:45 โดย b6310505700
กลุ่มที่ 9 : Hello World
ชายนิ มิตรสาธิต
ญาตาวี สมณวัฒนา
ธีวรา มัทราช
วงรี สมุทรพูนไพศาล
ชื่อโครงงาน: ลืมไปเลยว่าเคยมีผ้า
รายละเอียด:

ที่มาและแนวคิดการออกแบบ

ที่มา
ในทุกวันนี้สภาพอากาศในประเทศไทยมีความแปรปรวนมาก มีฝนหลงฤดูบ่อย ทำให้หลาย ๆ ครั้งผ้าที่ตากไว้ก็ต้องเปียกไปเพราะเก็บไม่ทัน หรือในบางวันที่เราเผลอตากผ้าทิ้งไว้แล้วลืมเก็บ ทำให้ผ้าอยู่นอกบ้านตลอดตอนกลางคืนจนผ้าชื้น ซึ่งหลายๆบ้านก็สะดวกในการตากผ้ามากกว่าอบ เพราะการอบผ้าอาจใช้ไม่ได้กับเนื้อผ้าทุกชนิด แต่การตากผ้าก็มีปัญหาดังกล่าวข้างต้น ดั้งนั้นเราจึงคิดจัดทำอุปกรณ์ชิ้นนี้ขึ้นมาเพื่อให้การตากผ้าสะดวกและหมดปัญหาดังกล่าว

แนวคิดการออกแบบ
อุปกรณ์นี้จะเก็บผ้าอัตโนมัติเมื่อฝนตก โดยใช้มอเตอร์ดึงราวตากผ้ามาเก็บ ใช้ Water sensor ในการตรวจน้ำฝน และสามารถกดเก็บผ้าด้วยสวิตช์ได้ จึงทำให้การเก็บผ้าสะดวกยิ่งขึ้น ลดปัญหาการเก็บผ้าไม่ทัน หรือลืมเก็บผ้า

รายการอุปกรณ์ที่ใช้
-RasberryPI x1
-Practicum Board (NodeMCU ATmega328p) x1
-Water Sensor x 1
-สายแพ 2 สาย
-Stepper motor & ULN2003 stepper
-Joy Stick

คลิปวีดีโอ:
ปรับปรุงล่าสุด 2022-04-12 23:57:57 โดย b6310506528
กลุ่มที่ 10 : จาพนมดงรัก
วีรนนท์ ธุวสิน
ภูมิภัทร เปี่ยมลือ
สมัชญ์ ห้าวหาญ
ศิวกร กมลดิลก
ชื่อโครงงาน: เครื่องตรวจจับเสียงเด็กร้อง
รายละเอียด:

เครื่องตรวจจับเสียงเด็กร้อง สมมติว่าถ้าเกิดในตอนกลางคืนหรือตอนที่ผู้ปกครองของเด็กอยู่คนละห้องกับตัวของเด็ก เครื่องนี้ก็จะสามารถตรวจสอบเสียงร้องของเด็กขึ้นมาได้และจะสามารถส่ง Line Notification สู่โทรศัพท์มือถือของผู้ปกครองได้เพื่อให้ผู้ปกครองสามารถมาดูแลเด็กได้ทันเวลา

ที่มา
ในตอนกลางคืนหรือตอนที่ผู้ปกครองของเด็กอยู่คนละห้องกับตัวของเด็ก แล้วเด็กเกิดร้องขึ้นมา ผู้ปกครองก็ไม่สามารถรู้ได้ว่าเด็กร้องและอาจจะทำให้เกิดอันตรายต่อตัวเด็กได้ ดังนั้นกลุ่มของพวกเราจึงได้มีแนวคิดที่จะทำเครื่องตรวจจับเสียงเด็กร้องนี้ขึ้นมา

แนวคิดการออกแบบ
ถ้ามีเสียงร้องขึ้นมา อุปกรณ์ของเราก็จะสามารถตรวจจับเสียงร้องของเด็ก พอมีเสียงร้องของเด็กขึ้นไฟก็จะติดและจะส่ง Line Notifications สู่มือถือของผู้ปกครองเพื่อที่จะให้มาดูเด็กได้ทันเวลา

อุปกรณ์
1.Raspberry pi x1
2.LED 1 ชุด
3.ky-038 x1
4.Breadboard x1
5.สายไฟ x1
6.Board NodeMCU - ATmega328p (Practicum Board v3.2 CPE. KU 2020-11) x1
7.ตัวต้านทาน 330Ω x1
8.สายแพร์ x1
9.Practicum Breakout CPE KU x1

คลิปวีดีโอ:
ปรับปรุงล่าสุด 2022-04-11 16:20:39 โดย b6310505751
กลุ่มที่ 11 : หน้าร้อนตอนนี้เธอไปอยู่ไหน
กิตติพงศ์ ตำแอ
เทพจุฑา วรรณนิยม
บุณยธร จี้กังวาฬ
ภูริณัฐ วงศ์เกษตรชัย
ชื่อโครงงาน: Smart Genius Fan
รายละเอียด:

ที่มา : แรงบันดาล คือ เนื่องจากนักวิทยาศาสตร์เผยเมื่อปีที่แล้ว อุณหภูมิของโลกร้อนที่สุดเป็นอันดับ 5 จาก 7 ปีย้อนหลัง ดังนั้นทางเราจึงบรรเทาปัญหานั้นด้วย Smart Genius Fan พัดลมอัจฉริยะ มีความสะดวกในการใช้งาน สามารถลดค่าใช้จ่ายได้และบรรเทาความร้อนได้อย่างดีเยี่ยม

แนวคิด : เป็นพัดลมอัจฉริยะที่สามารถหมุนอัตโนมัติตามอุณหภูมิที่กำหนด โดยจะมี sensor 4 ตัว ที่ทำการตรวจจับอุณหภูมิที่บริเวณนั้น และเมื่อตรวจเจออุณหภูมิที่สูงกว่าที่กำหนด ตัวพัดลมก็จะหันไปทิศทางที่ตรวจจับความร้อนได้ และเมื่อความร้อนไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนด พัดลมก็จะหมุนกลับมาที่จุดเริ่มต้นอัตโนมัติ

อุปกรณ์ที่ต้องใช้ :
1.DHT22 (ตัววัดอุณหภูมิ) x4
2.SERVO MG996R x1
3.FAN DC12V 1.5" (พัดลม) x1
4.จอ LCD1602 IIC/I2C แสดงอุณหภูมิ x1
5.สายจัมเปอร์ x10 สาย
6.RaspberypPi x1
7.BreadBoard x1

คลิปวีดีโอ:
ปรับปรุงล่าสุด 2022-04-12 01:23:28 โดย b6310503332
กลุ่มที่ 12 : Operation Overlord
ณกรณ์ ศรีพันธุ์
ณัฐภัทร ตัณฑ์สุรัตน์
ภัคพล นารถธนะรุ่ง
กิตติภัค วิบูลเสถียร
ชื่อโครงงาน: Mini Iron Dome
รายละเอียด:

ที่มา: ระบบนี้ได้แรงบันดาลใจจากระบบ Iron Dome ของประเทศ Israel ซึ่งในระบบ Iron Dome ของ Israel นั้นจะมีประกอบไปด้วย 4 หน่วยใหญ่ๆคือ 1. Radar Detection Unit 2. Battle Management & Control Unit 3. Interceptor Missile Firing Unit
โดยในหน่วย 1. Radar Detection Unit นั้นจะสามารถ Detect หรือตรวจจับ วัตถุแปลกปลอมหรืออากาศยานเช่น UAV, missile, เครื่องบินรบ ที่วิ่งเข้ามายังดินแดนประเทศอิสราเอล จากนั้นจะสามารถติดตามและวัดความเร็วและคาดการณ์ทิศทางเคลื่อนที่(จำลองโมเดลการเคลื่อนที่)ของวัตถุชนิดนั้นไปเก็บไว้เพื่อส่งต่อข้อมูลให้หน่วยต่อไป สำหรับ 2. Battle Management & Control Unit จะเป็นระบบเพื่อจัดการเพื่อตัดสินใจว่าวัตถุแปลกปลอมนั้นมีอันตรายหรือไม่(มีโอกาสที่จะตกลงในสถานที่ที่มีคนอาศัยหรือสามารถสร้างแรงระเบิดที่มีขีดทำลายล้างสูงได้หรือไม่) ถ้าข้อมูลที่ได้มาสามารถทำให้ตัดสินใจได้ว่าวัตถุนั้นหรืออากาศยาน (UAV, missile) ชนิดนั้นๆ มีอันตรายหรือเป็นวัตถุจากฝั่งข้าศึกก็จะมีการส่งคำสั่งไปยังหน่วยที่รับผิดชอบฐานยิง missile (3. Interceptor Missile Firing Unit) ของตนเองเพื่อยิง missile ขึ้นไปสวนกับ missile (วัตถุแปลกปลอม) จากฝั่งตรงข้ามเพื่อให้เกิดการชนกันระหว่าง missiles ทั้งสองเป็นการ "Interception" เพื่อป้องกันไม่ให้ missile หรือ วัตถุแปลกปลอมและอันตราย ตกลงสู่พื้นดิน

แนวคิดการออกแบบ:
- ในการออกแบบนั้นเราจะจำลองระบบเตือนภัยทางอากาศยาน Radar Detection Unit แต่เป็นฉบับ Mini โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ช่วงแรกจะเป็นการวัดความเร็ว (Speed Detection Unit) และช่วงที่สองจะเป็นการวัดระยะห่างตามแนวแกน y (Y-Distance Detection Unit) โดยในช่วงแแรกคือ Speed Detection Unit จะมีการใช้ IR sensor 2 ตัวเพื่อใช้ในการวัดความเร็วของวัตถุที่วิ่งผ่านตัวเซ็นเซอร์ทั้ง 2 ตัวในอากาศ โดยมีเงื่อนไขในการแจ้งเตือนที่ว่าถ้าวัดความเร็วแล้วปรากฏว่าวัตถุนั้นมีความเร็วเกินกว่าที่เรากำหนดไว้ก็จะทำให้ Buzzer ส่งเสียงแจ้งเตือนและจะมีการแสดงค่าความเร็วของวัตถุที่วิ่งผ่านที่หน้าจอคอมพิวเตอร์
- จากนั้นเมื่อวัตถุวิ่งผ่านไปต่อจะเข้าไปสู่ช่วงที่สองซึ่งก็คือ Y-Distance Detection Unit ซึ่งจะมี Ultrasonic sensor 1 ตัวที่จะคอยวัดระยะตามแนวแกน Y ว่าวัตถุอยู่ห่างจากตัว sensor เป็นค่าเท่าใดมาเก็บเอาไว้เป็นค่าตัวแปร h (height) เพื่อนำไปใช้ต่อในการคำนวณหาว่าวัตถุนี้จะมีระยะห่างเมื่อตกลงสู่พื้นเมื่อเทียบกับตัว Ultrasonic Sensor (ค่า R) มีระยะเท่าไรโดยประมาณ และ ระยะเวลาที่ใช้ทั้งหมด (t) ก่อนจะตกถึงพื้นโดยเริ่มต้นนับเมื่อวัตถุวิ่งผ่าน Ultrasonic Sensor และนอกจากนี้จะมีการแสดงผล ค่า R และ t ที่หน้าจอคอมพิวเตอร์พร้อมกับความเร็วของวัตถุ
- (วงจรแถม) ในส่วนวงจรแถมนั้นเราเรียกว่าเป็นวงจร Radar X-Distance Detection Unit ซึ่งจะคล้ายๆกับเป็นวงจรลาดตระเวนวัตถุที่ตกลงสู่พื้น โดยตัววงจรจะประกอบไปด้วย Servo Motor ที่ติดกับ Ultrasonic Sensor ซึ่งจะทำให้ตัว Ultrasonic Sensor เคลื่อนที่โดยการหมุนไปมาเป็นมุมประมาณ 180 องศา เพื่อแสกนหาวัตถุ โดยหลักการทำงานคือเมื่อ Ultrasonic Sensor พบวัตถุ มันก็จะแสดงระยะห่างของวัตถุนั้นกับตัววงจรว่าห่างกันเป็นระยะห่างเท่าใดตามแนวแกน X

Hardware:
1) IR Sensors 2 ตัว
2) jumper 21 เส้น
3) Buzzer 1 ตัว
4) Ultrasonic Sensor HC-SR04 model 2 ตัว
5) Servo motor SG90 model 1 ตัว
6) สายแพร์ 1 เส้น
7) Practicum Board (NodeMCU ATmega328p) 2 บอร์ด
8) Breadboard 3 บอร์ด
9) RaspberryPI 2 บอร์ด
10) PC (or notebook) (อย่างน้อย 2 เครื่อง)

Frontend:
1) Javascript เพื่อแสดงผลความเร็ว (Velocity), ระยะห่างในการตกของวัตถุเมื่อเทียบกับตัว Ultrasonic Sensor โดยประมาณ (ค่า R), ระยะเวลา (ค่า t) ที่วัตถุใช้ทั้งหมดก่อนจะตกถึงพื้นโดยเริ่มต้นนับเมื่อวัตถุวิ่งผ่าน Ultrasonic Sensor

คลิปวีดีโอ:
ปรับปรุงล่าสุด 2022-04-12 16:23:03 โดย b6310505688
กลุ่มที่ 13 : วินจะมาแบก
ปรมี สกุลตั้งมณีรัตน์
ปรัญชัย สมเกษม
กัณฑ์เพชร เตชะวิจิตรา
ทัตเทพ รัตนจันทร์
ชื่อโครงงาน: เข้าออกปลอดภัยด้วยระบบสแกน
รายละเอียด:

ที่มา

ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) การสแกนลายนิ้วมือเพื่อเข้าออกสถานที่อาจไม่เหมาะสมกับมาตรการลดการสัมผัสเพื่อป้องกันเชื้อไวรัส โครงงานชิ้นนี้จึงจัดทำบัตรสแกนเพื่อเข้าออกสถานที่แทนการแสกนลายนิ้วมือเพื่อลดการสัมผัสที่สแกนจากร่างกายโดยตรง อีกทั้งสามารถบอกจำนวนคนที่อยู่ในอาคาร, จำนวนคนที่สามารถเข้าใช้งานได้เพื่อลดความเเออัดในสถานที่ และทำการบันทึกประวัติเข้าออกสถานที่ เผื่อใช้ติดตาม timeline ของผู้ติดเชื้อและแจ้งผู้เป็นกลุ่มเสี่ยงสูง

แนวคิดและการออกแบบ

ในการเข้าออกสถานที่ต้องสแกนบัตรที่เครื่องสแกนเพื่อให้ประตูปลดล็อค หากไอดีของบัตรตรงกับฐานข้อมูลประตูจะถูกปลดล็อค จะแสดงข้อความ ‘welcome’ เเละสามารถเข้าออกสถานที่ได้ แต่หากไอดีของบัตรไม่ตรงกับฐานข้อมูลประตูจะไม่ถูกปลดล็อก จะแสดงข้อความ ‘access denied’ ทำให้ไม่สามารถเข้าออกสถานที่ได้ โดยสามารถเช็คจำนวนคนที่อยู่ในอาคาร, จำนวนคนที่สามารถเข้าใช้งานได้ผ่านเว็บ

อุปกรณ์
Board NodeMCU - ATmega328p (Practicum Board v3.2 CPE. KU 2020-11) x 1
RaspberryPI x 1
Servo x 1
BreadBoard x 1
LCD x 1
RFID Card Reader/Detecto x 1
สายไฟ

คลิปวีดีโอ:
ปรับปรุงล่าสุด 2022-04-12 21:00:36 โดย b6310500481
กลุ่มที่ 14 : SuperTeeX
ณฐโชค เอกธีรธรรม
ธนพลธรณ์ เด่นสิริเดชา
พฤกษ์ อ่วมเทศ
รัฐธรรม เอิบอิ่มฤทธิ
ชื่อโครงงาน: SuperPongX
รายละเอียด:

ที่มาและแนวคิดการออกแบบ

เนื่องด้วยในเหตุการณ์ที่ผ่านมาได้เกิดโรคระบาด covid-19 ขึ้น ทำให้เราต้องกักตัวอยู่ที่บ้าน หรือถ้าหากติดเชือ ก็ต้องไปกักตัวที่ต่าง ๆ เช่นโรงพยาบาลสนาม โรงแรม หรืออื่น ๆ ซึ่งบางทีการที่ไปกักตัวในสถานที่อื่น ก็ไม่สามารถพกคอมพิวเตอร์ไปเล่นเกมได้ เราจึงพัฒนาเกมที่สามารถเล่นผ่านตัว RasberryPI ได้ เพราะว่า RasberryPI มีขนาดเล็ก พกพาได้ง่าย และเกมที่เราทำก็เป็นเกมที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากเกมสมัยก่อนอย่างเกม Pong โดยจะเป็นเกมที่มีผู้เล่น 2 ฝั่ง ตีโต้ลูกกันคล้าย ๆ เล่นปิงปอง โดยควบคุมผ่านบอร์ด mcu ของเราที่จะใช้ LDR เป็นตัวควบคุมไม้ปิงปองของเรา แล้วก็จะมีเอฟเฟกต์แสง LED บนตัวบอร์ด mcu เสมือน keyboard RGB ที่จะเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ระหว่างการเล่นเกมของเรา อีกทั้งยังสามารถเล่นได้ถึง 2 คน

อุปกรณ์ที่ต้องใช้
1.RasberryPI x1
2.Practicum Board (NodeMCU ATmega328p) x1
3.LDR x1
4.Switch x1
5.LED สีเขียว x1
6.LED สีเหลือง x1
7.LED สีแดง x1
8.TM1637 4-digit-seven-segments x1
9.Keyboard
10.Mouse
11.Computer Screen
12.Jumper
13.Resistor 330 ohms x3
14.Resistor 10k ohms x1

คลิปวีดีโอ:
ปรับปรุงล่าสุด 2022-04-12 19:55:26 โดย b6310503341
กลุ่มที่ 15 : แมวจะทำตามสัญญา
สรวิศ แสนเสนาะ
ธนกฤต สวนใต้
จอมภพ ลิขิตรัตนพร
นวพล บุญเสริม
ชื่อโครงงาน: Cat vs Dog
รายละเอียด:

ที่มาและแนวคิดการออกแบบ
สืบเนื่องมาจากว่าทางกลุ่มของเรา รู้สึกเบื่อหน่ายจากการเรียนแบบออนไลน์มาโดยตลอด ทางกลุ่มของเราจึงสร้างเกมขึ้นมาเพื่อช่วยผ่อนคลายความเครียดที่เกิดขึ้นมา โดยเกมที่กล่าวมานี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจากเกม Cat VS Dog ที่หลายๆท่านได้เคยสัมผัสมาก่อนในตอนที่ยังเป็นเด็ก
ส่วนการออกแบบเกมนั้น ทางกลุ่มของเราได้ออกแบบเกมออกมาในรูปแบบของเกม Turn Based 2D ผู้เล่น 2 คน โดยผู้เล่นจะผลัดกันโยนสิ่งของ เพื่อโจมตีอีกฝั่งเพื่อลดพลังชีวิต และใช้การควบคุมตัวละครผ่าน Peri Board ที่ประกอบไปด้วย LDR เพื่อควบคุมมุมของการโยนของ และความเร็วของของที่โยนออกไป กดปุ่มเพื่อใช้ยืนยัน และจะมีการแสดงผลบนบอร์ดผ่าน LED ว่าตานี้เป็นตาของใครที่จะโยนของ

อุปกรณ์ที่ใช้
LED 2 หลอด (สีเขียวและสีแดง)
Peri Board 1 แผ่น
R 330 ohm 2 อัน
R 10k ohm 2 อัน
LDR 2 ขา 2 อัน
Connector 2*5 1 อัน
ปุ่ม 4 ขา 1 อัน
Practicum Board 1 แผ่น
Ribbon Cable 1 เส้น
Raspberry Pi 1 เครื่อง
PC 1 เครื่อง (สำหรับใช้ในการเชื่อมต่อกับ Raspberry Pi ด้วย SSH และแสดงผลภาพออกมา)

คลิปวีดีโอ:
ปรับปรุงล่าสุด 2022-04-12 23:42:09 โดย b6310503260
กลุ่มที่ 16 : My Little Hockey
นางสาวกนกวรรณ เทียนโฉม
พลอยพัชรินทร์ พูลสวัสดิ์กิติกูล
อติกานต์ อนุสุทธิ์
อภิญญา สุทธิโสภาอาภรณ์
ชื่อโครงงาน: Air Hockey DIY
รายละเอียด:

ที่มา : จากสถานการณ์โควิด ทำให้เราไม่สามารถไปพบปะกับเพื่อนในที่ที่แออัดได้ จึงอยากหาอะไรที่เล่นร่วมกับเพื่อนได้ โครงงานชิ้นนี้ได้แรงบันดาลใจมาจากเกม Air Hockey ที่เล่นตาม Arcade กลุ่มเราอยากทำเพราะคิดว่าน่าสนใจ จึงอยากลองทำเครื่องเกมเองขึ้นมา

แนวทางการออกแบบ : เป็นการทำของเล่น Air Hockey DIY โดยจะมีการนับคะแนนอัตโนมัติโดยใช้ Sensor ตรวจจับวัตถุเพื่อตรวจจับการหล่นลงโกลของ Air Hockey Pucks เมื่อหล่นลงโกลไปแล้วก็จะมีการนับคะแนนและแสดงผลทางจอ LCD และเมื่อฝั่งใดฝั่งหนึ่งมีคะแนนถึง 3 คะแนนก็จะชนะ และจากนั้นเมื่อกดปุ่ม Reset ที่อยู่บนบอร์ด คะแนนของทั้งสองฝ่ายก็จะกลับมาเป็น 0

อุปกรณ์ที่ใช้ :
-Ultrasonic sensor 2
-บอร์ด raspberry pi
-Bread Board 1
-LCD 16x2 (Blue Screen) I2C
-พัดลมระบายความร้อน 5V 1

สำหรับสร้างโต๊ะ :
-กระดาษลัง
-ฟิวเจอร์บอร์ด
-กาวร้อน
-คัตเตอร์
-กรรไกร
-เข็ม (ไว้สำหรับเจาะบอร์ดให้เป็นรู)

คลิปวีดีโอ:
ปรับปรุงล่าสุด 2022-04-13 05:30:52 โดย b6310503596
กลุ่มที่ 17 : จรวดขวดน้ำพลังMentos
สรวิชญ์ มานะธุระ
จรูญพงษ์ สุขเลิศ
ชื่อโครงงาน: ประตูหิน เหล็ก ไฟ
รายละเอียด:

ทำระบบล็อกประตูซึ่งรหัสจะเปลี่ยนทุกครั้งที่เจ้าของจะเข้าใช้งานเพื่อความปลอดภัย
โดยเมื่อจะทำการปลดล็อกระบบจะส่งรหัสไปให้ผู้ใช้เพื่อปลดล็อกในครั้งนั้น

ที่มา
เนื่องจากระบบเดิมในการล็อกห้องซึ่งใช้กุญแจในการปลดล็อกนั้นมีปัญหามาก ต้องพกกุญแจอยู่ตลอด ถ้าลืมกุญแจก็เกิดปัญหาต้องเรียกช่างมาเปิด เสียเวลาและค่าใช้จ่ายมาก รวมถึงหากมิจฉาชีพ ได้กุญแจไปก็จะเกิดความอันตรายได้ เราจึงอยากจะทำระบบใหม่ซึ่งไม่จำเป็นต้องพกกุญแจ เพียงแค่เป็นระบบล็อกที่กดขอรหัสเข้าห้องก็จะได้รหัสที่ใช้เปิดห้อง

แนวทางการออกแบบ
ในการที่ผู้ใช้ต้องการจะปลดล็อกห้อง จะต้องกดขอรหัสผ่านหน้าเว็บซึ่งอยู่บน RaspberryPI และระบบจะทำการสุ่มรหัส 4 หลัก ส่งมาแสดงบนหน้าเว็บให้ผู้ใช้ได้เห็น และเมื่อผู้ใช้กดรหัสบนปุ่มซึ่งเชื่อมกับ Board NodeMCU ตัวBoard จะส่งรหัสที่ผู้ใช้กดไปให้ RaspberryPI ดูว่าตรงกับที่ กำหนดให้หรือไม่หากตรง จะทำการสั่งBoard ให้ปลดล็อก แต่ถ้าผิดจะจะไม่ปลดล็อด\ หลังจากกดขอรหัส รหัสนั้นจะใช้ได้เพียงประมาณ 2 นาที หลังจากนั้นหากไม่มีการขอรหัส จะอยู่ในสถานะที่ไม่สามารถกดรหัสใดๆเพื่อปลดล็อกได้ และหากประตูไม่ได้ล็อกสามารถ กดให้ล็อกได้ผ่านเว็บเช่นเดียวกับการขอรหัสระบบจะมีจอLCD แสดง สถานะ,รหัสที่กด ให้เห็นที่ประตู และยังมีระบบที่กดล็อกประตูได้ผ่านหน้าเว็บหากประตูไม่ได้ล็อกอยู่

รายละเอียด
ตัว Webapp สร้างด้วย microframework Flask ซึ่งรันอยู่บน Raspberry Pi และ ตัวRaspberry Pi ก็จะเป็นตัวประมวลผลหลักที่มีหน้าที่ สุ่มรหัส ตรวจสอบรหัสด้วย และจะติดต่อสื่อสารกับ MCU ผ่านทาง USB ด้วย Library PyUSB ซึ่ง MCU จะเป็นตัวควบคุมอุปกรพ่วง/เสริม เช่น ไฟที่แสดงสถานะถูก/รอ/ผิด ,จอ LCD ที่แสดงสถานะและรหัสที่กำลังกด รับ Input จากปุ่มกดรหัสทั้งสี่ปุ่ม และคอยเปิด/ปิดล็อกประตูที่ใช้ Servo

อุปกรณ์
1.Raspberry Pi 3 Model B Plus Rev 1.3 1 ตัว
2.Board NodeMCU - ATmega328P (Practicum Board v3.2 CPE.KU 2020-11) 1 ตัว
3.Servo MG90S 1 ตัว
4.LCD 1602 with I2CInterface 1 ชุด
5.Practicum Protoboard CPE.KU 1 ตัว
6.Switch button กดติดปล่อยดับ ขนาด 6x6x5 mm 4 ชิ้น
7.Practicum Breakout Board 1 ตัว
8.สารแพร์ 2 เส้น
9.LED สีเขียว เหลือง แดง อย่างละ 1 ตัว
10. ตัวต้านทาน 330 Ohm 3 ตัว

คลิปวีดีโอ:
ปรับปรุงล่าสุด 2022-04-12 00:30:18 โดย b6310500147
กลุ่มที่ 18 : บอร์ดฉันพังตรงไหนให้เอาปากกามาวง
กัณธิฎา ภารัตนวงศ์
กันตธร วุฒิวิริยะ
จีรพัฒน์ ฉิมมา
สุนิษา อรรควงษ์
ชื่อโครงงาน: AutoFanCare
รายละเอียด:

พัดลมเปิดปิดอัตโนมัติตามอุณหภูมิที่กำหนดพร้อมจอ LCD แสดงผลอุณหภูมิของสภาพแวดล้อมร้อบตัวที่สามารถวัดได้ในปัจจุบัน

ที่มา
เนื่องจากปัจจุบัน ประเทศไทยได้เข้าสู้หน้าร้อน ทางคณะผู้จัดทำจึงอยากพัฒนาอุปกรณ์คลายร้อนแบบอัตโนมัติอย่างง่าย และ ประหยัดไฟ นั่นก็คือพัดลมเปิดปิดอัตโนมัติ เพื่อให้ผู้ใช้งานไม่ต้องเดินไปเปิดหรือปิดพัดลมด้วยตนเองให้เหนื่อยเปล่าๆ นอกจากนั้น ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับระบบระบายอากาศอัตโนมัติ หรือ ระบบเปิดปิดเครื่องปรับอากาศอัตโนมัติได้ในอนาคตอีกด้วย

แนวคิดในการออกแบบ
ระบบจะเริ่มต้นด้วยการวัดอุณหภูมิผ่านเซนเซอร์วัดอุณหภูมิสภาพแวดล้อม จากนั้น ระบบจะนำเอาข้อมูลอุณหภูมิที่วัดได้ไปแสดงผลที่จอ LCD โดยแสดงผลทั้งอุณหภูมิในหน่วยองศาเซลเซียส และ หน่วยฟาเรนไฮ นอกจากนี้ ระบบจะนำอุณหภูมิที่วัดได้ไปเช็คเงื่อนไขการทำงานของพัดลม เมื่ออุณหภูมิเกินกว่า 33.2 องศาเซลเซียส พัดลมจะติด แต่ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า พัดลมจะดับ หรือ ผู้ใช้งานสามารถสั่งการผ่าน Raspberry Pi เพื่อปิดโหมดอัตโนมัติได้ โดยพัดลมจะทำการเปิดตลอดเวลา

อุปกรณ์ที่ใช้
1) Board Microcontroller (Practicum Board)
2) พัดลม 5V DC
3) Module L9110 Fan Module
4) Temperature Sensor Module KY-001 พร้อมเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ DS18B20
5) LCD Blue screen 16x2
6) I2C Interface Module
7) สายไฟจัมป์เปอร์ ผู้-เมีย
8) สายไฟจัมป์เปอร์ ผู้-ผู้
9) สายแพร์
10) Breadboard
11) Arduino IDE

คลิปวีดีโอ:
ปรับปรุงล่าสุด 2022-04-12 20:50:12 โดย b6310506471
กลุ่มที่ 19 : ReXyz
นำภูมิ เลิศพิทักษ์ธรรม
กันต์กฤช พรหมมาโนช
กานน ชีวทรรศน์
นายธนากริช พรมจิตร
ชื่อโครงงาน: Chopsticks Spy
รายละเอียด:

เกมกล่องให้ผู้เล่นยื่นตะเกียบไปกดปุ่มในกล่อง โดยห้ามโดนเลเซอร์ที่อยู่ภายในกล่อง แล้วแข่งกันโดยวัดว่าใครสามารถกดปุ่มได้เร็วกว่า

ที่มา:
แรงบันดาลใจมาจากฉากในหนังสายลับ/ขโมยในหลายๆเรื่องที่ต้องไปขโมยของในห้องที่เต็มไปด้วยเลเซอร์มากมาย และต้องหาวิธีในการไปถึงของชิ้นนั้นให้ได้โดยการพยายามหลบหลีกจากเลเซอร์ทั้งหมดบวกกับสมาชิกในกลุ่มเรามีความชื่นชอบในการเล่นเกม จึงอยากใช้โอกาสในการทำโปรเจคที่เกี่ยวกับเกมโดยใช้เลเซอร์ขึ้นมา มีจุดประสงค์เพื่อให้เป็นกิจกรรมแข่งขันสนุกๆ ผ่อนคลายความเครียดกับเพื่อนๆได้

แนวทางการออกแบบ:
เมื่อเริ่มเกมจะสุ่มยิงเลเซอร์ให้สะท้อนไปมาในกล่อง ผู้เล่นสามารถใช้ตะเกียบ หรือวัตถุอะไรก็ได้เพื่อใช้ลอดผ่านไปกดปุ่มภายในกล่องให้ได้โดยห้ามไปสัมผัสกับแสงเลเซอร์ที่สะท้อนอยู่ในกล่อง หากโดนเลเซอร์จะเสียเลือด เมื่อเลือดหมดก่อนที่จะสามารถกดปุ่มได้ก็จะแพ้ทันที

อุปกรณ์ที่ใช้:
1.Raspberry Pi 1 ตัว
2.Board NodeMCU 1 ตัว
3.Light Dependent Resistor(LDR) 6 ตัว
4.Red-Dot Laser 6 ตัว
5.Capacitor(0.1 uF) 6 ตัว
6.Button/Switch 1 ตัว
7.สายไฟ Jumper
8.กระจกเงาสะท้อน
9.กล่องทึบ 5 ด้าน

คลิปวีดีโอ:
ปรับปรุงล่าสุด 2022-04-12 22:22:27 โดย b6310503219