รายละเอียดโครงงาน

หลักสูตร/ปี พ.ศ.
วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ปี พ.ศ. 2557

ภาคและปีการศึกษาที่สำเร็จการศึกษา
ภาคปลาย ปีการศึกษา 2556

ประเภทโครงงาน
โครงงานวิศวกรรม

ชื่อโครงงานภาษาไทย
ระบบบันทึกภาพเสือแบบเวลาจริงผ่านตัวควบคุมไร้สาย

ชื่อโครงงานภาษาอังกฤษ
Real-time Tiger Capturing System through Wireless Controller

ผู้พัฒนา
5310504257 นายชยธร สิมะเสถียร

อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก
อภิรักษ์ จันทร์สร้าง

อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม
ชัยพร ใจแก้ว
อนันต์ ผลเพิ่ม

บทคัดย่อ

การติดตามประเมินประชากรเสือโคร่งในพื้นที่อนุรักษ์ มีความสําคัญในการอนุรักษ์สัตว์ป่า ปัจจุบันการ
สํารวจโดยวิธีวางกล้องดักถ่ายอัตโนมัติเพื่อเก็บภาพเสือโคร่งตามจุดสํารวจต่างๆ เป็นเทคนิคหลักในการ
ประเมินประชากรเสือโคร่งทั่วโลก ทั้งนี้เทคนิคดังกล่าวต้องการภาพลายเสือโคร่งทั้งสองด้านของลําตัวเพื่อ
ใช้ในการจําแนกระบุตัวเสือแต่ละตัว ดังนั้นจึงต้องใช้กล้องดักถ่ายอย่างน้อย 2 ตัวในการดักถ่ายในแต่ละ
จุดสํารวจ ในปัจจุบันประสบปัญหาการทํางานของกล้องดักถ่ายที่ใช้งานอยู่เดิมที่ไม่สามารถบันทึกภาพลาย
ลําตัวเสือโคร่งจากทั้งสองฝั่งในเวลาเดียวกัน ณ จุดตั้งกล้อง ทําให้เกิดปัญหาในการระบุตัวเสือโคร่งจาก
ฐานข้อมูล โดยเฉพาะกรณีที่เสือตัวดังกล่าวยังไม่เคยปรากฎข้อมูลในการระบุตัวมาก่อน ส่งผลต่อค่าความ
ถูกต้องในการประเมินประชากรเสือโคร่ง ดังนั้นโครงงานนี้จึงเสนอระบบที่ทําให้กล้องดักถ่ายภาพสามารถ
ถ่ายภาพโดยพร้อมกันซึ่งผ่านการควบคุมที่ติดต่อผ่านทางเครือข่ายไร้สายเทคโนโลยี IEEE 802.15.4 และ
ถ่ายโอนรูปจาก WI-FI SDCARD จากกล้องผ่านเครือข่ายไร้สาย IEEE 802.11 ไปเก็บไว้ที่อุปกรณ์เก็บข้อ-
มูลในจุดที่คาดว่าปลอดภัยจากการถูกทําลายของกล้องอันเนื่องมาจากสัตว์ป่าหรือพรานป่า เช่น การติด-
ตั้งบนต้นไม้ ผลการทดสอบระบบเบื้องต้นในห้องปฏิบัติการ โดยติดตั้งกล้อง 2 ตัวตามรูปแบบที่ใช้ในการ
ถ่ายภาพเสือในป่า พบว่า เมื่อมีวัตถุผ่านหน้ากล้องตัวใดตัวหนึ่งก็จะสั่งการให้กล้องทั้ง ๒ ตัวถ่ายภาพได
โดยพร้อมกัน นอกจากนี้ระบบสามารถโอนถ่ายภาพของกล้องกลับมาเก็บที่อุปกรณ์ที่กําหนดได้ ทั้งนี้ใน
ขั้นตอนถัดไปจะติดตั้งและทดสอบระบบในพื้นที่ศึกษาวิจัยเสือโคร่งร่วมกับสถานีวิจัยสัตว์ป่าเขานางรํา เพื่อ
ปรับปรุงและพัฒนาให้ระบบดังกล่าวมีประสิทธิภาพที่เหมาะสมสําหรับการนําไปใช้งานในสถานที่จริง

Abstract

Keeping track of tigers in conservative areas is important for wildlife conservation. This is
usually done by setting trail cameras in certain areas to capture pictures of tigers. Tiger
identification needs images of a whole tiger stripe pattern. Therefore, it is preferred
to use more than one camera to take pictures in each area. This solution still has
a limitation in that each camera cannot take pictures of a tiger at the same time,
which causes a problem when matching a tiger with the database. This affects the
correctness of estimating the tiger population. This project introduces a system that
triggers every camera in the same area to take photos simultaneously. The cameras
are controlled and communicating with one another through IEEE802.15.4 wireless
technology. Pictures are transferred to a storage located in a safe place using IEEE802.11
technology. Experimental results in a laboratory show that by installing two cameras
opposite each other, an object moving past one of the cameras will be taken by both
cameras at the same time. Furthermore, the system can transfer the photos from the
cameras to a selected device.

คำสำคัญ (Keywords)

กล้องดักถ่าย ,IEEE 802.11 ,IEEE 802.15.4 ,การอนุรักษ์สัตว์ป่า ,ถ่ายภาพ

เว็บไซต์โครงงาน
-

วีดีโอคลิปของโครงงาน
-

ที่เก็บเวอร์ชันซอร์สโค้ด

-


สถานะการนำเข้าข้อมูล

ผู้นำเข้าข้อมูลครั้งแรก
นายชยธร สิมะเสถียร (b5310504257)

แก้ไขครั้งสุดท้าย
เมื่อ Sept. 27, 2014, 6:14 p.m. โดย นายชยธร สิมะเสถียร (b5310504257)

สถานะการอนุมัติ
อนุมัติแล้ว โดย ชัยพร ใจแก้ว (fengchj) เมื่อ May 20, 2015, 6:11 p.m.