รายละเอียดโครงงาน

หลักสูตร/ปี พ.ศ.
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ปี พ.ศ. 2551

ภาคและปีการศึกษาที่สำเร็จการศึกษา
ภาคปลาย ปีการศึกษา 2550

ประเภทโครงงาน
การศึกษาค้นคว้าอิสระ

ชื่อโครงงานภาษาไทย
ระบบสืบค้นและจัดหมวดหมู่สมุนไพรไทยโดยใช้วิธีการ ออนโทโลจี

ชื่อโครงงานภาษาอังกฤษ
Ontology – based search system for Thai Herbs

ผู้พัฒนา
49653553 นางสาวธิติวรรณ ทิมาภากร

อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก
กฤษณะ ไวยมัย

อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม
-

บทคัดย่อ

จากความนิยมในการใช้อินเตอร์เน็ตและความสนใจข้อมูลความรู้ด้านสมุนไพรไทยที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้แต่ละหน่วยงานมีการจัดเก็บ รวบรวมข้อมูลและนำเสนอออกมาหลากหลาย เมื่อทำการค้นหาข้อมูลสมุนไพรไทยจะพบว่ามีอยู่อย่างกระจัดกระจายและไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งต้องใช้เวลาในการศึกษาและจัดรูปแบบเพื่อนำไปใช้ต่อ และหากมีการปรับปรุงข้อมูลสมุนไพรไทยจากเว็บไซด์ต้นทาง ระบบการสืบค้นในปัจจุบันไม่สามารถรองรับการปรับปรุงข้อมูลได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และไม่มีการนำเสนออย่างมีมาตรฐานเพียงพอ

โครงงานการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ จึงมีวัตถุประสงค์ในการนำวิธีการออนโทโลจีเข้ามาปรับปรุงระบบสืบค้นและจัดหมวดหมู่สมุนไพรไทย ซึ่งจะส่งผลให้รองรับการปรับปรุงข้อมูลสมุนไพรไทยได้จากหลากหลายแหล่งข้อมูลได้สะดวกและรวดเร็ว ทั้งยังนำเสนอข้อมูลสมุนไพรไทยโดยใช้วิธีการออนโทโลจีเพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน รวมทั้งรองรับการสืบค้นข้อมูลสมุนไพรไทยได้อย่างต่อเนื่องด้วย

ผลจากการดำเนินงานศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองในโครงงานนี้ ทำให้ผู้ใช้บริการสืบค้นข้อมูลสมุนไพรไทยทั่วไป สามารถค้นหาข้อมูลสมุนไพรไทยและสามารถนำไปใช้ต่อได้อย่างสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น นอกจากนี้ผู้ดูแลระบบสามารถปรับปรุงข้อมูลสมุนไพรไทยได้สะดวกยิ่งขึ้น ด้วยระบบบริหารจัดการข้อมูลสมุนไพรไทย โดยไม่จำเป็นต้องเข้าไปปรับปรุงยังฐานข้อมูลโดยตรง

Abstract

Nowadays, the increasing of both Internet use and widespread interest in Thai herbs has caused many organizations to try to collect, manage, and provide their information variously. It is found out that information on Thai herbs is scattered and not standardized; therefore, it wastes time on utilizing the information. Moreover, when the information is updated at the data original source, the information search system cannot support the updating activities properly and cannot provide the appropriate and standardized searching output.

This independent study therefore has its objective to use Ontology in order to improve the search system and classification management of Thai herbs. This improvement would enhance the system and management to well support the information updating activities done at the different sources. It would also have the Ontology as the standard system for information presentation and provide the information search continuously.

Furthermore, the study would provide the search system users with faster and more convenient searching tool and service. The system administrator can also update the information more conveniently with the information managing system without the direct update at the original source.

คำสำคัญ (Keywords)

-

เว็บไซต์โครงงาน
-

วีดีโอคลิปของโครงงาน
-

ที่เก็บเวอร์ชันซอร์สโค้ด

-


สถานะการนำเข้าข้อมูล

ผู้นำเข้าข้อมูลครั้งแรก
สุนันทา ช้างทอง (fengsntc)

แก้ไขครั้งสุดท้าย
เมื่อ July 6, 2016, 2:57 p.m. โดย สุนันทา ช้างทอง (fengsntc)

สถานะการอนุมัติ
รออนุมัติ