หลักสูตร/ปี พ.ศ. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ปี พ.ศ. 2551
ภาคและปีการศึกษาที่สำเร็จการศึกษา ภาคปลาย ปีการศึกษา 2550
ประเภทโครงงาน
การศึกษาค้นคว้าอิสระ
ชื่อโครงงานภาษาไทย
ฐานข้อมูลระบบคลังข้อมูลเพื่อสนับสนุนการวิเคราะห์เงินฝาก
ชื่อโครงงานภาษาอังกฤษ
Data Warehousing System for Data Deposit Analysis
ผู้พัฒนา
49653470 นายดำรงค์ กุ่ยประเสริฐ
อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก
กฤษณะ ไวยมัย
อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม
-
บทคัดย่อ
ปัจจุบัน ธนาคารฯ ยังไม่มีการจัดทำคลังข้อมูลทางด้านเงินฝากอย่างเป็นทางการ จึงส่งผลให้การสืบค้นข้อมูลเป็นไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจากการติดต่อประสานงานขอข้อมูลระบบเงินฝากของธนาคาร ต้องผ่านฝ่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งได้สิทธิ์ในการบริหารจัดการข้อมูล ทำให้ในการนำข้อมูลต่าง ๆ มาประมวลผลต้องประสบปัญหามากมาย อาทิเช่น รูปแบบของข้อมูลมีความแตกต่างกัน แหล่งการจัดเก็บข้อมูลกระจัดกระจาย และกระบวนการเข้าถึงข้อมูลที่ยุ่งยาก เป็นต้น จึงไม่ได้นำข้อมูลด้านเงินฝากมาใช้ประโยชน์เท่าที่ควร และ
สืบเนื่องจากปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น จึงทำให้ในการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะพัฒนาและออกแบบคลังข้อมูล เพื่อช่วยสนับสนุนการวิเคราะห์ข้อมูลทางด้านเงินฝาก โดยได้นำเอาเทคโนโลยีทางด้านคลังข้อมูล (Data Warehouse) เข้ามาช่วยในการบริหารงานข้อมูลเงินฝาก ของธนาคาร 3 ประเภท คือ เงินฝากออมทรัพย์ เงินฝากประจำ และกระแสรายวัน โดยใช้ Microsoft SQL Server 2005 เป็นส่วนจัดเก็บข้อมูลลูกค้า เน้นส่วนโครงสร้างระบบเงินฝากหลัก ในระดับ Account Balance และใช้ Microsoft Visual FoxPro เข้ามาช่วยจัดการในส่วนของการคัดกรองข้อมูล (Data Extraction) โดยกระบวนการ ETL จัดเก็บในส่วน Data Stage Area และใช้ SAS เป็นเครื่องมือในการเชื่อมต่อระบบคลังข้อมูล ในการนำข้อมูลเข้า – ส่งข้อมูลออก มาใช้ทำการวิเคราะห์ เพื่อจัดทำเป็นรายงานสนับสนุนให้แก่ผู้บริหาร
การศึกษาโครงงานในครั้งนี้ ได้ออกแบบและพัฒนาระบบงานย่อยต่าง ๆ เพื่อช่วยสนับสนุนให้แก่ฝ่ายงานที่เกี่ยวข้อง โดยใช้ Microsoft Visual FoxPro พัฒนาเป็นรูปแบบโปรแกรมประยุกต์ ในลักษณะรายงานในเชิงวิเคราะห์ทางด้านเงินฝาก เช่น โปรแกรมการคำนวณยอดรายรับ-รายจ่ายจากดอกเบี้ยเงินฝาก และโปรแกรมการจัดการทำรายงานผลการวิเคราะห์ทางด้านเงินฝากในแต่ละประเภท โดยสามารถเน้นการจัดทำรายงานในระดับชั้นของสังกัดใน 3 ระดับ คือ สาขา,เขต และภาค เพื่ออำนวยความสะดวกในการสรุปผลการดำเนินงานของแต่ละระดับสังกัด ซึ่งหลังจากได้ทำการเปิดให้ฝ่ายงานต่าง ๆ ได้เข้าใช้งานในข้อมูลเหล่านี้
การพัฒนาระบบตามโครงงานนี้ สามารถช่วยอำนวยความสะดวกในด้านต่าง ๆ อาทิเช่น ลดขั้นตอนในการร้องขอข้อมูล จากเดิมที่ต้องขอผ่านทางฝ่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาเป็นอย่างมาก และยังให้การเข้าถึงข้อมูลในส่วนต่าง ๆ สามารถเข้าได้จากจุดเดียวและมีรูปแบบไปในทิศทางเดียวกัน จึงทำให้รายงานการวิเคราะห์ข้อมูลที่นำเสนอให้แก่ผู้บริหารอยู่ในรูปแบบเป็นมาตรฐานยิ่งขึ้น
Abstract
Nowadays, the bank does not have the concrete deposit account data warehouse, and so it causes the difficulties of data retrieval process. Those deposit account data must be acquired through the IT Department that has rights to manage data. This makes data processing even grow difficult because of the variety of data forms, scattering of database sources and increasingly complicated data access method. So that the bank cannot utilize its deposit account data as worth as it should.
According to the above-mentioned problems, this research is aiming at Data warehouse development and design to support deposit account data analysis by bringing in Data warehouse technology to manage bank’s 3 kinds of deposit accounts (Saving, Fix, and Current accounts). Microsoft SQL Server 2005 is being used to collect customer database, mainly emphasizing on deposit account structure in Account Balance level, and Microsoft Visual Foxpro is applied in Data Extraction process. ELT process is used in Data Stage Area while SAS is the tool to connect Data Warehouse with data-in and-out, and then to be analyzed to make decision support reports for the executives.
This project research has designed and developed sub-function systems to facilitate those relevant counterparts by utilizing Microsoft Visual Foxpro in application program development in form of deposit account analytical report such as deposit interest revenue & expense calculation and each deposit account analytical report management program by emphasizing on categorizing levels of control in 3 levels-branches, district and region to facilitate management report of each level after the system is opened for those levels access and use this information.
This project development will facilitate several operations such as reduction on data inquiry process that previously consumed much time in acquiring it through the IT Department, and enable all data access in one single point and have the same direction. This will create the standardization of analytical report to the executive level.
คำสำคัญ (Keywords)
-
เว็บไซต์โครงงาน
-
วีดีโอคลิปของโครงงาน
-
ที่เก็บเวอร์ชันซอร์สโค้ด
-
ผู้นำเข้าข้อมูลครั้งแรก
สุนันทา
ช้างทอง
(fengsntc)
แก้ไขครั้งสุดท้าย
เมื่อ July 6, 2016, 2:39 p.m. โดย
สุนันทา
ช้างทอง
(fengsntc)
สถานะการอนุมัติ
รออนุมัติ