รายละเอียดโครงงาน

หลักสูตร/ปี พ.ศ.
วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ปี พ.ศ. 2558

ภาคและปีการศึกษาที่สำเร็จการศึกษา
ภาคปลาย ปีการศึกษา 2557

ประเภทโครงงาน
โครงงานวิศวกรรม

ชื่อโครงงานภาษาไทย
ระบบติดตามสัตว์ป่าแบบประหยัด

ชื่อโครงงานภาษาอังกฤษ
Low-cost Wildlife Tracking System

ผู้พัฒนา
5410501411 รัชชานนท์ รัตนธรรม

อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก
อภิรักษ์ จันทร์สร้าง

อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม
ชัยพร ใจแก้ว
อนันต์ ผลเพิ่ม

บทคัดย่อ

การติดตามสัตว์ป่าจากระยะไกลโดยระบุพิกัดของสัตว์ป่า เป็นวิธีหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการอนุรักษ์สัตว์ป่าในปัจจุบัน ระบบติดตามสัตว์ป่าที่ใช้งานอยู่ จะใช้อุปกรณ์ติดตามไปติดที่ตัวของสัตว์ป่าโดยอุปกรณ์จะมีลักษณะเป็นปลอกคอหรือกระเป๋าหลัง ปัญหาสำคัญของระบบติดตามสัตว์ป่าที่ใช้งานในปัจจุบันคือ ราคาต่อหน่วยของอุปกรณ์ติดตามมีราคาสูง ทำให้ด้วยงบประมาณที่จำกัดสามารถผลิตอุปกรณ์ได้จำนวนน้อย บทความนี้นำเสนอระบบติดตามสัตว์ป่าแบบประหยัด โดยที่ตัวอุปกรณ์มีราคาต่อหน่วยถูกลงมาก อีกทั้งยังคำนึง ถึงข้อจำกัดอื่น ๆ ของอุปกรณ์ติดตามที่ต้องคำนึกถึงอีก คือ น้ำหนัก ขนาดของอุปกรณ์ที่เหมาะสมพอที่สัตว์ป่าจะรับไหว และแหล่งพลังงานของอุปกรณ์ที่ต้องเพียงพอต่อระยะเวลาการใช้งาน โดยตัวอุปกรณ์ที่ถูกนำไปติดที่สัตว์ป่าจะระบุพิกัดของสัตว์ป่าโดยใช้จีพีเอสแล้วส่งพิกัดของสัตว์ป่ากลับมาที่ผู้ติดตามจากระยะไกลโดยใช้จีพีอาร์เอส ซึ่งข้อมูลจะถูกส่งมาที่เซิร์ฟเวอร์แล้วบันทึกลงฐานข้อมูล ผู้ติดตามจะสามารถเข้าไปดูพิกัดของสัตว์ป่าได้ที่เว็บไซต์ ซึ่งจะทำการดึงข้อมูลจากฐานข้อมูลมาแสดงผลในรูปแบบของแผนที่ อย่างไรก็ตามพิกัดของสัตว์ป่าจะไม่ถูกส่งมาตลอดเวลา แต่จะถูกส่งมาเป็นระยะเพื่อประหยัดพลังงาน จากผลการทดสอบเบื้องต้นพบว่า อุปกรณ์ต้นแบบสามารถส่งพิกัดกลับมาที่เซิร์ฟเวอร์ได้ถูกต้อง ในขั้นต่อไปจะปรับปรุงและพัฒนาระบบเพื่อให้สามารถนำไปใช้งานกับสภาพแวดล้อมจริงได้

Abstract

Wildlife tracking is essential for the wildlife conservation. In current tracking systems, tracking devices, also known as collars or backpacks, are attached to wild animals. Due to the high cost per unit and budget limitation, an alternative system design to reduce the cost of tracking devices is presented where the additional constraints have been considered. The weight and size must be appropriate for the animal. The power supply must be sufficient for long term use. The tracking devices use GPS to get their current locations and report to the remote server by GPRS. The server is used to store the locations in the database. Subscribers can then visit the website to see locations of wild animals in the form of Google Maps. However, the locations of wild animals are not sent to the server in real-time but intermittently so that the energy consumption is reduced. Preliminary experiments show that the prototype sent locations to the remote server correctly. The next step is to improve the system for deployment in the real scenario.

คำสำคัญ (Keywords)

ระบบติดตามที่ใช้จีพีเอสระบุตำแหน่ง, ระบบติดตามที่ใช้จีพีอาร์เอสในการส่งข้อมูลกลับ, ระบบติดตามสัตว์ป่า

เว็บไซต์โครงงาน
-

วีดีโอคลิปของโครงงาน

ที่เก็บเวอร์ชันซอร์สโค้ด

-


สถานะการนำเข้าข้อมูล

ผู้นำเข้าข้อมูลครั้งแรก
รัชชานนท์ รัตนธรรม (b5410501411)

แก้ไขครั้งสุดท้าย
เมื่อ May 28, 2015, 7:47 p.m. โดย รัชชานนท์ รัตนธรรม (b5410501411)

สถานะการอนุมัติ
อนุมัติแล้ว โดย อนันต์ ผลเพิ่ม (fenganp) เมื่อ June 13, 2015, 4:29 p.m.