หลักสูตร/ปี พ.ศ. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ปี พ.ศ. 2556
ภาคและปีการศึกษาที่สำเร็จการศึกษา ภาคปลาย ปีการศึกษา 2555
ประเภทโครงงาน
การศึกษาค้นคว้าอิสระ
ชื่อโครงงานภาษาไทย
การบริหารจัดการอุทกภัยด้วยการบูรณาการข้อมูลที่มีคุณภาพ
ชื่อโครงงานภาษาอังกฤษ
Flood Disaster Management with Information Interoperability and High Quality Data: Preparedness in Patient Referral System
ผู้พัฒนา
5414550701 ศุภวรรณ ทามี
อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก
หัชทัย ชาญเลขา
อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม
-
บทคัดย่อ
ในปี พ.ศ. 2554 ได้เกิดมหาอุทกภัยส่งผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างร้ายแรง สร้างความเสียหายมูลค่ากว่า 14 ล้านล้านบาท ผู้เสียชีวิตสูงถึง 813 ราย และโรงพยาบาลบางแห่งจำเป็นต้องส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลปลายทาง ซึ่งการประสานการส่งต่อผู้ป่วยในยามภัยพิบัติไม่สามารถทำได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เนื่องจากขาดการเชื่อมโยงข้อมูลด้านศักยภาพของโรงพยาบาลที่จำเป็นในยามภัยพิบัติ
การจัดการอุทกภัยนั้นใช้หลักการของ 2P2R คือ การป้องกัน การเตรียมพร้อม การรับมือและการฟื้นฟูเยียวยา สำหรับการศึกษาค้นคว้าอิสระฉบับนี้มุ่งเน้นในเรื่องการเตรียมความพร้อมด้วยการบูรณาการข้อมูลที่มีคุณภาพ ซึ่งจะเน้นไปในเรื่องของศักยภาพของโรงพยาบาลที่ประกอบไปด้วย 4S คือ Space (เตียงที่ว่าง) Staff (ผู้เชี่ยวชาญ) Stuff (วัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์) Special Equipment (อุปกรณ์พิเศษทางการแพทย์) เพราะข้อมูลปัจจุบันของโรงพยาบาลยังไม่สามารถรองรับการส่งต่อผู้ป่วยยามฉุกเฉินและยังไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ดังนั้นควรมีการเชื่อมโยงข้อมูลศักยภาพของโรงพยาบาล โดยการเพิ่มเติมในส่วนของการนำเข้าข้อมูลศักยภาพของโรงพยาบาล กระบวนการได้มาซึ่งข้อมูลนั้นมีการใช้ทฤษฎี Emergency Data Exchange Language (OASIS) รวมทั้งเกิดจากการประชุมจาก แพทย์,พยาบาล เจ้าหน้าที่ และหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการส่งต่อผู้ป่วยยามภัยพิบัติ
ผลที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าอิสระในครั้งนี้ ได้ชุดข้อมูลศักยภาพของโรงพยาบาล และระบบนำเข้าข้อมูล เพื่อที่จะช่วยประหยัดเวลาในการส่งต่อผู้ป่วย รวมทั้งเพื่อให้ได้โรงพยาบาลที่มีศักยภาพพร้อมที่จะรับส่งต่อผู้ป่วย
Abstract
The cost of damage due to flooding in Thailand, in 2011, is widely estimated to reach $2,500 billion and there were 813 deaths. It became increasingly apparent that activities associated with the disaster management: 2P2R, i.e. Preparation, Prevention, Response and Recovery, needed improvement for effective management. In order to achieve a higher level of efficiency and accountability in the handling of such activities, real time and up-to-date data are crucially needed in the support of decision making. The challenges are that need supporting data for disaster management coming from various government agencies. These data are heterogeneous in nature, since their data systems were developed in different ways, by different agencies and at different times.
This independent study focuses on the hospital availability preparedness for patient referral system in order to support referral effectively and appropriately. With high quality data of 4Ss: Space, Staff, Stuff and Special equipment, the secure of referred patients could be improved. The minimum data set, then, has been designed for sharing the hospital availability status. The data set is also approved through several workshops with the participants from many hospitals. The Emergency Data Exchange Language (OASIS) is also applied for data exchange between the hospital information system and hospital capacity database in order to handle real time and up-to-date data which are crucially needed in decision making of right hospital to refer the patient.
The output of this independent study is a data set of hospital capacity and data entry system. The expected benefit is to reduce the time lost in referring a patient with improving patient safety.
คำสำคัญ (Keywords)
-
เว็บไซต์โครงงาน
-
วีดีโอคลิปของโครงงาน
-
ที่เก็บเวอร์ชันซอร์สโค้ด
-
ผู้นำเข้าข้อมูลครั้งแรก
ศุภวรรณ
ทามี
(g5414550701)
แก้ไขครั้งสุดท้าย
เมื่อ March 1, 2013, 10 a.m. โดย
ศุภวรรณ
ทามี
(g5414550701)
สถานะการอนุมัติ
อนุมัติแล้ว โดย
หัชทัย
ชาญเลขา
(fenghtc)
เมื่อ March 1, 2013, 10 a.m.