รายละเอียดโครงงาน

หลักสูตร/ปี พ.ศ.
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ปี พ.ศ. 2556

ภาคและปีการศึกษาที่สำเร็จการศึกษา
ภาคปลาย ปีการศึกษา 2555

ประเภทโครงงาน
การศึกษาค้นคว้าอิสระ

ชื่อโครงงานภาษาไทย
การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเครือข่ายสังคมเพื่อการพัฒนาแบบจำลองในการประเมินสถานการณ์น้ำท่วม: กรณีศึกษาข้อมูลอุทกภัยของประเทศไทยในปี ๒๕๕๔

ชื่อโครงงานภาษาอังกฤษ
The Study and Analysis of Social Network Data to Develop Flood Disaster Assessment Model: Case Study of the Thailand Flood Disaster in 2011.

ผู้พัฒนา
5414550671 ศิริพร แป้นพรหม

อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก
หัชทัย ชาญเลขา

อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม
-

บทคัดย่อ

ในปี 2554 ที่ผ่านมา ประเทศไทยประสบเหตุภัยพิบัติน้ำท่วมครั้งใหญ่ ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนเป็นอย่างมาก ในช่วงภัยพิบัติที่เกิดขึ้น ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ภัยพิบัติจำนวนมากทั้งจากภาครัฐและเอกชน ถูกรายงานตามสื่อต่างๆหลายชนิด แต่ข้อมูลจากสื่อสังคมออนไลน์ ได้แก่ เฟสบุ๊คและทวิตเตอร์ กลายมาเป็นแหล่งข้อมูลที่ประชาชนให้ความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีความรวดเร็วและเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย
อย่างไรก็ดีข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำท่วมของแต่ละสถานที่ที่รายงานอยู่บนเครือข่ายสื่อสังคมออนไลน์นั้น มีปริมาณมหาศาลและกระจัดกระจายอยู่ในหลายแหล่งข้อมูลบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ ทำให้ประชาชนผู้ที่ต้องการรับข้อมูลข่าวสาร เกิดความลำบากในการติดตามข้อมูลสถานการณ์ที่ต้องการได้อย่างครบถ้วน การสรุปสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ที่ต้องการทราบทำได้ยาก ด้วยเหตุนี้ผู้จัดทำจึงมีแนวคิดในการการนำข้อมูลจากสื่อสังคมออนไลน์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการรายงานสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ต่างๆ ให้แก่ประชาชน และนำไปสู่การพัฒนาแบบจำลองในการสรุปภาพรวมของสถานการณ์น้ำท่วมแต่ละพื้นที่ โดยการรวบรวมข้อมูลรายงานสถานการณ์น้ำท่วมจากข้อมูลจากสื่อสังคมออนไลน์ ศึกษาและวิเคราะห์ลักษณะทางภาษาจากข้อความ เพื่อสกัดสารสนเทศจากข้อความ และสร้างแบบจำลองในการประเมินสถานการณ์น้ำท่วม ซึ่งเป็นแนวทางในการสร้างระบบอัตโนมัติสำหรับการประเมินสถานการณ์น้ำท่วมจากชุดข้อความสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อสรุปภาพรวมของสถานการณ์น้ำท่วมในรูปแบบและความถี่ของเวลาในการรายงานอย่างเหมาะสม เพื่อตอบสนองความต้องการในการรับรู้สถานการณ์และอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการนำข้อมูลไปใช้ได้ดีมากยิ่งขึ้น

Abstract

During the 2011 severe flooding disaster occurred in Thailand. People’s life and property were mostly affected from the flooding. A lot of information about the crisis situation both from the governmental section, private section, and individual were reported via several types of media. Nevertheless the data from social network, especially Facebook and Twitter, became the most popular information's source especially due to their timeliness behavior and the information available was first-hand information, i.e. it was generated by the flood victim directly.
However, the flooding information of each area reported through the social media network was overwhelmed and scattered. This caused a lot of difficulties for the people to track and assess the flood situation. To facilitate human access to such information, this independent study focuses on studying the social media data related to the flood situation and developing the flood situation assessment model. For developing the model, it is necessary to study and analyze language behavior people in the report messages. The study suggested the minimum set of information that people needs during the disaster, as well as the strategy to develop the model that can summarize the flood situation based on the reports available in social media. To decide which reports should be assembled together for summarizing, we need to consider both temporal and spatial information. The frequency for issuing the summary report and the representation of the summary is very important. From the study, the flood situation can be separated into 5 states, where each state needs different situation assessment model and summarizing time frame.

คำสำคัญ (Keywords)

-

เว็บไซต์โครงงาน
-

วีดีโอคลิปของโครงงาน
-

ที่เก็บเวอร์ชันซอร์สโค้ด

-


สถานะการนำเข้าข้อมูล

ผู้นำเข้าข้อมูลครั้งแรก
ศิริพร แป้นพรหม (g5414550671)

แก้ไขครั้งสุดท้าย
เมื่อ March 1, 2013, 10 a.m. โดย ศิริพร แป้นพรหม (g5414550671)

สถานะการอนุมัติ
อนุมัติแล้ว โดย หัชทัย ชาญเลขา (fenghtc) เมื่อ March 1, 2013, 10 a.m.