รายละเอียดโครงงาน

หลักสูตร/ปี พ.ศ.
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ปี พ.ศ. 2556

ภาคและปีการศึกษาที่สำเร็จการศึกษา
ภาคปลาย ปีการศึกษา 2555

ประเภทโครงงาน
การศึกษาค้นคว้าอิสระ

ชื่อโครงงานภาษาไทย
การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพข้อมูลในระบบภูมิสารสนเทศ (กรณีศึกษาการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กฟภ.)

ชื่อโครงงานภาษาอังกฤษ
Factors Affecting Data Quality in GIS (Case Study of the Provincial Electricity Authority of Thailand)

ผู้พัฒนา
5414550603 วรวุฒิ ออวัฒนา

อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก
อินทิราภรณ์ มูลศาสตร์

อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม
-

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพข้อมูลในระบบภูมิสารสนเทศการไฟฟ้า และ ศึกษาแนวทางและวิธีการแก้ไขปรับปรุงคุณภาพข้อมูลในระบบภูมิสารสนเทศการไฟฟ้า โดยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพกับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ที่ใช้งานระบบ GIS จากการไฟฟ้า 5 แห่ง จำนวน 21 คน ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยหลักที่มีผลต่อคุณภาพข้อมูล GIS อันดับหนึ่ง ด้านบุคลากรที่นำเข้าข้อมูลระบบ GIS ไม่เพียงพอ อันดับสอง ด้านลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์มีไม่พอต่อความต้องการเข้าใช้งานระบบ ทำให้การนำเข้าข้อมูลล่าช้า อันดับสาม ด้านการขาดการจัดฝึกอบรมการนำเข้าข้อมูลระบบ GIS ทำให้เจ้าหน้าที่ขาดความชำนาญในการนำเข้าข้อมูล อันดับสี่ ด้านประสิทธิภาพอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่เกี่ยวข้องกับระบบ GIS ไม่ดีพอทำให้การประมวลผลข้อมูลล่าช้า และ อันดับห้า ด้านกระบวนการประสานงานระหว่างแผนกต่างๆไม่ดีพอทำให้การนำเข้าข้อมูลในระบบ GIS ล่าช้า จากการศึกษาพบว่าแนวทางและวิธีการแก้ไขปรับปรุงคุณภาพข้อมูล GIS คือ เพิ่มจำนวนบุคลากรที่นำเข้าข้อมูลระบบ GIS เพิ่มลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์การเข้าใช้งานระบบให้เพียงพอต่อการใช้งาน เพิ่มการจัดฝึกอบรมการนำเข้าข้อมูลระบบ GIS ให้เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน เพิ่มประสิทธิภาพอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่เกี่ยวข้องกับระบบ GIS และสร้างมาตรฐานกระบวนการทำงานที่เป็นรูปธรรมในแผนกต่างๆโดยมีคำสั่งการให้ยึดถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด

Abstract

This study was qualitative research which objectives were to explore factors that affected quality of data in the electrical geographic information system and to examine how to improve data quality in the electrical geographic information system through qualitative interviews with 21 informants from 5 Provincial Electricity offices. The findings of the research revealed that main factors that had been affecting GIS data quality included 1) insufficient personnel for GIS data entry 2) insufficient software licenses and copyrights to meet the need of system access, which caused delay of data entry 3) lack of training of GIS data entry therefore the personnel lacked expertise in data entry 4) in efficient GIS hardware devices caused delayed data processing 5) problems of workflow between departments caused huge backlog of work. The study suggested that to improve quality of GIS data the organisation need to increase the number of personnel for GIS data entry, to provide the adequate number of software licenses and copyrights, to provide sufficient training of GIS system data entry, to improve hardware devices for GIS, and to establish standard of work in every department that shall be strictly followed.

คำสำคัญ (Keywords)

-

เว็บไซต์โครงงาน
-

วีดีโอคลิปของโครงงาน
-

ที่เก็บเวอร์ชันซอร์สโค้ด

-


สถานะการนำเข้าข้อมูล

ผู้นำเข้าข้อมูลครั้งแรก
วรวุฒิ ออวัฒนา (g5414550603)

แก้ไขครั้งสุดท้าย
เมื่อ March 1, 2013, 10 a.m. โดย วรวุฒิ ออวัฒนา (g5414550603)

สถานะการอนุมัติ
อนุมัติแล้ว โดย อินทิราภรณ์ มูลศาสตร์ (int) เมื่อ March 1, 2013, 10 a.m.