หลักสูตร/ปี พ.ศ. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ปี พ.ศ. 2556
ภาคและปีการศึกษาที่สำเร็จการศึกษา ภาคปลาย ปีการศึกษา 2555
ประเภทโครงงาน
การศึกษาค้นคว้าอิสระ
ชื่อโครงงานภาษาไทย
การออกแบบนวัตกรรมบริการสำหรับระบบไปรษณีย์
ชื่อโครงงานภาษาอังกฤษ
Designing Service Innovation for Post Office System
ผู้พัฒนา
5414550450 นันทิยา นารถดนตรี
อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก
หัชทัย ชาญเลขา
อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม
-
บทคัดย่อ
บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด มีรายได้จากธุรกิจสื่อสารในการขนส่งสิ่งของทางไปรษณีย์ เป็นหลักโดยมีกระบวนการปฏิบัติงานตามระบบงานไปรษณีย์ในการรับฝาก ส่งต่อ นำจ่าย เพื่อดำเนินการส่งต่อสิ่งของที่ฝากส่งเข้าสู่ทางไปรษณีย์ เมื่อเกิดภัยพิบัติพื้นที่และเส้นทางในการขนส่งถูกตัดขาด การส่งสิ่งของทางไปรษณีย์ประสบปัญหาล่าช้า ตกค้าง หรือส่งคืนต้นทาง ทำให้รายได้หลักขององค์กรลดลง รวมถึงผู้ใช้บริการขาดความเชื่อมั่นในองค์กร ดังนั้นการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการออกแบบนวัตกรรมบริการสำหรับระบบไปรษณีย์ โดยการวิเคราะห์กระบวนการปฏิบัติงานไปรษณีย์ เทคโนโลยี และคัดเลือกเครื่องมือในการออกแบบนวัตกรรมบริการเพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางในการสร้างบริการที่แตกต่าง ตอบแทนสังคมและมุ่งตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้า
นวัตกรรมการบริการ คือการนำความคิดแนวทางการดำเนินงาน และเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ผ่านการคิดวิเคราะห์ร่วมกับบริบทขององค์กรและความต้องการของผู้ใช้บริการอย่างเป็นระบบนำมาใช้ในการสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการเชื่อมโยงทรัพยากรขององค์กรในสถานการณ์ที่เหมาะสมผ่านเครือข่ายความร่วมมือของผู้ร่วมผลิตและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง สร้างสรรค์ข้อเสนอและบริการที่แตกต่าง เพื่อสร้างประสบการณ์ที่น่าประทับใจร่วมกับผู้ใช้บริการ
การออกแบบนวัตกรรมบริการสำหรับระบบไปรษณีย์ใช้เครื่องมือ 3 ประเภท ประกอบด้วย โมเดลธุรกิจ สำหรับการขับเคลื่อนกลยุทธ์ในการดำเนินการสร้างระบบและสร้างขวัญกำลังใจให้กับพนักงาน พิมพ์เขียวนวัตกรรม สำหรับการพัฒนาบุคลากรให้มีความพร้อมที่จะนำความรู้ ทักษะ และประสบการณ์มาใช้ในการดำเนินงาน และโมเดลการร่วมผลิต สำหรับการสร้างพันธมิตร โดยการออกแบบนวัตกรรมบริการสำหรับระบบไปรษณีย์ยามภัยพิบัติได้นำเครื่องมือทั้ง 3 ประเภท มาประยุกต์ใช้ในการจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้าชั่วคราวจากความร่วมมือของหน่วยงานพันธมิตร เชื่อมโยงข้อมูลความช่วยเหลือต่างๆ ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผลการประเมินตัวอย่างนวัตกรรมด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับความเป็นไปได้จากคณะทำงานการบริหารจัดการความรู้ในช่วงวิกฤตอุทกภัยปี 2554 จำนวน 10 คน (คณะทำงานย่อยการจัดระบบบริการ จำนวน 5 คน และคณะทำงานย่อยการจัดระบบบริหารจัดการ จำนวน 5 คน) พบว่าองค์กรมีความพร้อมและตัวอย่างนวัตกรรมสามารถนำไปเป็นต้นแบบในการสร้างระบบได้จริง คิดเป็นร้อยละ 79 และผลการประเมินตัวอย่างนวัตกรรมด้านความพึงพอใจของผู้ใช้บริการจากลูกค้าที่มาใช้บริการ ณ ที่ทำการไปรษณีย์ จำนวน 50 คน พบว่าผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจหากมีการจัดทำระบบการจัดส่งยามภัยพิบัติ โดยการจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้า การแจ้งเตือนรับสิ่งของผ่านโทรศัพท์มือถือ และจะใช้บริการอย่างแน่นอน คิดเป็นร้อยละ 81.28
นวัตกรรมการให้บริการสำหรับระบบไปรษณีย์ยามภัยพิบัติ เป็นการสร้างข้อเสนอร่วมกับผู้ใช้บริการสนับสนุนบริการหลักคือ การส่งสิ่งของในภาวะปกติ โดยการเชื่อมโยงทรัพยากรผ่านเครือข่ายพันธมิตรและเทคโนโลยี ซึ่งสามารถตอบสนองความพึงพอใจ สร้างประสบการณ์ร่วมกับผู้ใช้บริการ และนำไปสู่การเป็น Smart Post ผู้สร้างเครือข่ายการเชื่อมโยงคนไทยที่ดีที่สุด รองรับการเป็น Smart Thailand เพื่อเตรียมความพร้อมด้านโลจิสติกส์ของประเทศไทยในการเข้าสู่ AEC ในปี 2558 ต่อไป
Abstract
Thailand Post’s income mainly derives from transporting postal items. The system of postal services is accepting, forwarding and delivery postal items. In disaster situation, postal transport routes were cut off, the parcel were delayed or returned to senders. These causes may reduce income and lower consumer’s confidence to organization. Therefore, the concept of Service innovation is to designing Service Innovation for Post Office System. Service innovation for Post Office System has been done by analyzing the postal operation and technology as well as selecting tools to create a guideline that build the different services, help the society and fulfill customer’s satisfaction.
Service innovation is a concept of operations, ideas and technologies that have been analyzed with the context of the organization and the needs of consumer in a systematic way. The use of Service Innovation increases business value by linking the resources of the organization in appropriate situation through collaboration with suppliers and stakeholders, creating suggestion and different services to share impressive experiences with the customers.
Designing Service Innovation for Post Office System consists of three tools ; namely Business Model, Innovation Blueprint and Co-Production model. Business model is a factor-driven business strategy by policy implementation and create morale among employees. Innovation Blueprint is another factor-driven to HR development to develop employees to use their knowledge, skills and experience for their work. Co-Production Model responses factors of creating alliances. All three tools were applied in order to design Service Innovation for Post Office System during disaster. The Service Innovation establishes a temporary distribution center in collaboration with partner and connects information associated with information technology.
Results from the evaluation of Service Innovation for Post Office System during disaster about the possibility by working group of knowledge management in managing flood crisis 2012 (there are management system sub committees 5 and operating system sub committees 5). Reveal that the organization is ready and able to use prototype of the service innovation system as a main system for 79 percent. In terms of customer’s satisfaction 81.28 percent of 50 customers who use the service at the post offices are satisfied with the preparation of the delivery system during disaster.
A Designing of Service Innovation for Post Office System during Disaster offers delivery service in disaster situation which improves customer’s satisfaction, leads the organization to the Smart Post, Thailand's best connectivity service, and supports the Smart Thailand to prepare logistic transport of the country for the AEC in 2015.
คำสำคัญ (Keywords)
-
เว็บไซต์โครงงาน
-
วีดีโอคลิปของโครงงาน
-
ที่เก็บเวอร์ชันซอร์สโค้ด
-
ผู้นำเข้าข้อมูลครั้งแรก
นันทิยา
นารถดนตรี
(g5414550450)
แก้ไขครั้งสุดท้าย
เมื่อ March 1, 2013, 10 a.m. โดย
นันทิยา
นารถดนตรี
(g5414550450)
สถานะการอนุมัติ
อนุมัติแล้ว โดย
หัชทัย
ชาญเลขา
(fenghtc)
เมื่อ March 1, 2013, 10 a.m.