รายละเอียดโครงงาน

หลักสูตร/ปี พ.ศ.
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ปี พ.ศ. 2556

ภาคและปีการศึกษาที่สำเร็จการศึกษา
ภาคปลาย ปีการศึกษา 2555

ประเภทโครงงาน
การศึกษาค้นคว้าอิสระ

ชื่อโครงงานภาษาไทย
การเพิ่มประสิทธิภาพการตอบสนองการส่งต่อผู้ป่วยยามภัยพิบัติด้วยการใช้ข้อมูลเชิงพื้นที่

ชื่อโครงงานภาษาอังกฤษ
Using Spatial Data for Improving Patient Referral Response during Disaster

ผู้พัฒนา
5414550441 นัญพล วิวิธวรรธ์

อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก
อัศนีย์ ก่อตระกูล

อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม
-

บทคัดย่อ

ในปี พ.ศ. 2554 ได้เกิดมหาอุทกภัยส่งผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างร้ายแรง และมีความเสี่ยงที่จะเกิดอุทกภัยในอนาคตเพิ่มสูงขึ้น รัฐบาลไทยจึงได้กำหนดนโยบาย “2P2R” เพื่อรับมือกับสถานการณ์อุทกภัย ประกอบด้วย การเตรียมความพร้อม การป้องกันที่ยั่งยืน การตอบสนองอย่างรวดเร็ว และการพื้นฟู ซึ่งในการศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้สนใจในเรื่องของการตอบสนองการส่งต่อผู้ป่วยยามภัยพิบัติ เนื่องจากข้อมูลเชิงอธิบายเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ จำเป็นต้องใช้ข้อมูลเชิงพื้นที่เพื่อช่วยในการตัดสินใจ แต่ในปัจจุบันพบว่ายังมีปัญหาในการพิจารณาเส้นทางที่ใช้ส่งต่อผู้ป่วย เนื่องจากปัญหาความถูกต้องพิกัดที่ตั้งโรงพยาบาล ขาดการเชื่อมโยงข้อมูลภาพสถานการณ์น้ำ และขาดการเชื่อมโยงข้อมูลศักยภาพโรงพยาบาล
จากการศึกษาค้นคว้าอิสระในครั้งนี้พบว่าข้อมูลเชิงพื้นที่ที่จำเป็นในการส่งต่อผู้ป่วยยามภัยพิบัติ ประกอบด้วย ข้อมูลเส้นทาง ข้อมูลพิกัดที่ตั้งโรงพยาบาล และข้อมูลภาพสถานการณ์น้ำ ซึ่งกระบวนการได้มาซึ่งข้อมูลเกิดจากการประชุมจาก แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ และหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการส่งต่อผู้ป่วยยามภัยพิบัติ ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้ คือ การพัฒนาระบบต้นแบบสำหรับการส่งต่อผู้ป่วยยามภัยพิบัติ ซึ่งประกอบด้วยข้อมูล 3 กลุ่ม ได้แก่ ข้อมูลเชิงพื้นที่ ข้อมูลศักยภาพโรงพยาบาล และภาพถ่ายดาวเทียมจากสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.) สำหรับข้อมูลเชิงพื้นที่ความถูกต้องของข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญ งานชิ้นนี้จึงได้นำเสนอวิธีการกำหนดพิกัดที่ตั้งโรงพยาบาล เพื่อนำไปเชื่อมโยงกับข้อมูลศักยภาพโรงพยาบาล และแสดงผลบนแผนที่ได้อย่างถูกต้อง ในส่วนของภาพถ่ายดาวเทียมแสดงสถานการณ์น้ำ ได้เลือกใช้อินเตอร์เฟสเว็บแมพเซอร์วิสที่เป็นมาตรฐานในการเชื่อมโยง ทำให้ภาพถ่ายดาวเทียมที่ได้รับจากผู้ให้บริการมีความเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ ดังนั้นเมื่อทำการเชื่อมโยงข้อมูลทั้ง 3 กลุ่ม ด้วยระบบต้นแบบแล้ว จะสามารถคัดกรองโรงพยาบาลที่มีศักยภาพเพียงพอสำหรับการรักษา และช่วยในการหาเส้นทางไปยังโรงพยาบาลปลายทางยามภัยพิบัติได้
ผลที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้ คือ ระบบต้นแบบสำหรับการส่งต่อผู้ป่วยยามภัยพิบัติที่สามารถเชื่อมโยงฐานข้อมูลศักยภาพโรงพยาบาล ร่วมกับภาพถ่ายดาวเทียมแสดงสถานการณ์น้ำ ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการหาเส้นทางไปยังโรงพยาบาลปลายทางที่มีศักยภาพเพียงพอ ส่งผลให้ลดระยะเวลาในการส่งต่อ ลดการปฏิเสธการส่งต่อ ลดขั้นตอนในการประสานการส่งต่อ และช่วยเพิ่มโอกาสในการรักษาผู้ป่วยได้ทันท่วงที

Abstract

In 2011, the flood disaster occurred in 65 of Thailand's 77 provinces, starting in September and continuing until December. This was the country's worst flooding disaster in the last fifty years. It became increasingly apparent that activities associated with the disaster management: 2P2R, i.e. Preparation, Prevention, Response and Recovery, needed improvement for effective management. In order to achieve a higher level of efficiency and accountability in the handling of such activities, real time and up-to-date data are crucially needed in the support of decision making. The challenges are that need supporting data for disaster assistance management coming from various government agencies. These data are heterogeneous in nature, since their data systems were developed in different ways, by different agencies and at different times.
This independent study focuses on disaster response, especially for patient referral. The activities are how to know who, where, when to refer the patient with safety. One of the key success factors in handling referral activities, such as requests for right hospital to refer, is access to referred hospital, which could be provided by the spatial data. There are three groups needed: hospital availability data, hospital location, satellite images from Geo-Informatics and Space Technology Development Agency (GISTDA).
The outcomes of this study are the process to get hospital coordinates correctly, to integrate spatial data with hospital availability data and an algorithm for displaying the transportation route on the map correctly. Web Map Service interface is used for integrating satellite images to non-spatial data with data standard implementation.

คำสำคัญ (Keywords)

-

เว็บไซต์โครงงาน
-

วีดีโอคลิปของโครงงาน
-

ที่เก็บเวอร์ชันซอร์สโค้ด

-


สถานะการนำเข้าข้อมูล

ผู้นำเข้าข้อมูลครั้งแรก
นัญพล วิวิธวรรธ์ (g5414550441)

แก้ไขครั้งสุดท้าย
เมื่อ March 1, 2013, 10 a.m. โดย นัญพล วิวิธวรรธ์ (g5414550441)

สถานะการอนุมัติ
อนุมัติแล้ว โดย อัศนีย์ ก่อตระกูล (ak) เมื่อ March 1, 2013, 10 a.m.