รายละเอียดโครงงาน

หลักสูตร/ปี พ.ศ.
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ปี พ.ศ. 2556

ภาคและปีการศึกษาที่สำเร็จการศึกษา
ภาคปลาย ปีการศึกษา 2555

ประเภทโครงงาน
การศึกษาค้นคว้าอิสระ

ชื่อโครงงานภาษาไทย
การออกแบบนวัตกรรมกระบวนการสำหรับระบบการส่งต่อผู้ป่วย

ชื่อโครงงานภาษาอังกฤษ
Process Innovation Design for Patient Referral System

ผู้พัฒนา
5414550239 เกศรินทร์ คำน้อย

อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก
อัศนีย์ ก่อตระกูล

อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม
-

บทคัดย่อ

ระบบการส่งต่อผู้ป่วยแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือในยามปกติและในยามภัยพิบัติ ปัญหาการส่งต่อผู้ป่วยในยามปกติคือ กระบวนการในการส่งต่อผู้ป่วยที่ซ้ำซ้อน ส่งต่อนาน มีการปฏิเสธการส่งต่อ โดยสถิติการปฏิเสธการส่งต่อสูงถึง 20 ครั้ง เพราะการส่งต่อในยามปกติต้องทำการส่งต่อตาม 4 ระดับ คือในจังหวัด ในเขต ข้ามเขต และส่วนกลาง ส่งผลให้การส่งต่อผู้ป่วยมีความล่าช้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี พ.ศ. 2554 ได้เกิดมหาอุทกภัยส่งผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างร้ายแรง ทำให้การส่งต่อผู้ป่วยในยามภัยพิบัติเกิดปัญหา เพราะไม่มีการเตรียมการหรือมีกระบวนการในการส่งต่อที่พร้อมปฏิบัติในยามภัยพิบัติเข้ามาช่วยในการส่งต่อ
ดังนั้นในการศึกษาค้นคว้าอิสระในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการออกแบบนวัตกรรมกระบวนการสำหรับระบบต้นแบบเพื่อการส่งต่อผู้ป่วยในยามภัยพิบัติ มุ่งเน้นกระบวนการเตรียมความพร้อมในยามภัยพิบัติ เพื่อลดการปฏิเสธการส่งต่อ กระบวนการที่ลดลง จากการส่งต่อในรูปแบบเดิมมีทั้งหมด 14 กระบวนการ เมื่อมีการออกแบบนวัตกรรมกระบวนการสำหรับระบบต้นแบบเพื่อการส่งต่อผู้ป่วยในยามภัยพิบัติ ส่งผลให้กระบวนการในการส่งต่อลดลงเหลือ 11 กระบวนการ และสำหรับนวัตกรรมกระบวนการส่งต่อผู้ป่วยในยามปกติมุ่งเน้นการมีระบบกลางหรือนำเทคโนโลยี Cloud มาใช้ในการจัดการข้อมูล โดยมีศูนย์กลางการส่งต่อเข้ามามีบทบาทสำคัญในการประสานการส่งต่อ ส่งผลให้กระบวนการในการส่งต่อผู้ป่วยลดลงได้ ซึ่งกระบวนการได้มาซึ่งข้อมูลเกิดจากการประชุมจาก แพทย์, พยาบาล, เจ้าหน้าที่ และหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการส่งต่อผู้ป่วยยามภัยพิบัติ
ผลที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าอิสระในครั้งนี้ ได้คู่มือปฏิบัติงาน Standard Operating Procedure (SOP) สำหรับระบบต้นแบบเพื่อการส่งต่อผู้ป่วยยามภัยพิบัติที่ช่วยลดกระบวนการและเวลาในการประสานการส่งต่อ ลดการปฏิเสธการส่งต่อ สำหรับนวัตกรรมกระบวนการการส่งต่อผู้ป่วย เป็นแนวทางในการปฏิบัติเพื่อเตรียมรับการส่งต่อผู้ป่วยทั้งในยามภัยพิบัติและในยามปกติ ซึ่งทั้งสองส่วนผ่านการทดสอบจากโรงพยาบาลที่เคยประสบอุทกภัย และผลเป็นที่ยอมรับ

Abstract

Referral of patients requires a good process to transfer the responsibility of care to another health professional/hospital or of primary care to secondary care. Referral can be vertical, horizontal or diagonal. In 2011, the lessons learned from a big floodcause us to consider the standard of process of referral, especially in disaster situation, in order to secure the results of referral.
This independent study aims to design a referral process innovation in order to support referral effectively andappropriately.Through several workshops with the participants from many hospitals, the new designed process consists of 11 steps instead of 14 steps. Cloud based central system is also required as a part of the process.
The outcome of this study is a practice guideline of referral process which covers disaster situation. The process has been proved by hospitals which has experience in referral during flood situation. In the future, it could be practiced in order to become SOP orStandard Operating Procedure.

คำสำคัญ (Keywords)

-

เว็บไซต์โครงงาน
-

วีดีโอคลิปของโครงงาน
-

ที่เก็บเวอร์ชันซอร์สโค้ด

-


สถานะการนำเข้าข้อมูล

ผู้นำเข้าข้อมูลครั้งแรก
เกศรินทร์ คำน้อย (g5414550239)

แก้ไขครั้งสุดท้าย
เมื่อ March 1, 2013, 10 a.m. โดย เกศรินทร์ คำน้อย (g5414550239)

สถานะการอนุมัติ
อนุมัติแล้ว โดย อัศนีย์ ก่อตระกูล (ak) เมื่อ March 1, 2013, 10 a.m.