รายละเอียดโครงงาน

หลักสูตร/ปี พ.ศ.
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ปี พ.ศ. 2550

ภาคและปีการศึกษาที่สำเร็จการศึกษา
ภาคปลาย ปีการศึกษา 2549

ประเภทโครงงาน
การศึกษาค้นคว้าอิสระ

ชื่อโครงงานภาษาไทย
การพัฒนาระบบอาร์เอ็ฟไอดีสำหรับห้องสมุดอัตโนมัติแบบเปิดเผยรหัส

ชื่อโครงงานภาษาอังกฤษ
A Development of RFID based Open Source Digital Library

ผู้พัฒนา
48653430 พุฒิพงศ์ ยองทอง

อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก
อัศนีย์ ก่อตระกูล

อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม
-

บทคัดย่อ

ซอฟต์แวร์ห้องสมุดดิจิตอลแบบเปิดเผยรหัสที่มีใช้งานในปัจจุบัน มีความสามารถไม่น้อยไปกว่าซอฟต์แวร์บริหารจัดการห้องสมุดดิจิตอลราคาแพง กรณีของซอฟต์แวร์ห้องสมุดดิจิตอล "โคฮา" ที่นำมาทำการศึกษาในครั้งนี้ คณะผู้ศึกษาต้องการใช้งานซอฟต์แวร์ในแบบอัตโนมัติร่วมกับอุปกรณ์ยืมคืนอัตโนมัติ ทำงานด้วยระบบคลื่นวิทยุ อาร์เอฟไอดี ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล ระหว่างสื่อวัสดุของห้องสมุด และหากจะนำไปใช้งานร่วมกับซอฟต์แวร์อื่นใด ซอฟต์แวร์เหล่านั้นจะต้องมีมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ตรงกับอุปกรณ์อัตโนมัติด้วย ในการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะทำให้ซอฟต์แวร์ห้องสมุดดิจิตอล โคฮา ทำงานในกระบวนการต่างๆ แบบอัตโนมัติได้ แทนกระบวนการเดิมที่ต้องใช้เจ้าหน้าที่ควบคุมจัดการ
การพัฒนาเครื่องมือชุดนี้ จึงมุ่งเน้นไปที่การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่าซอฟต์แวร์เปิดเผยรหัสโคฮากับอุปกรณ์อาร์เอฟไอดี โดยมีข้อตกลงการแลกเปลี่ยนข้อมูลตรงกันคือ มาตรฐานรูปแบบ SIP2 เป็นแนวทางการพัฒนา มาตรฐานดังกล่าวเป็นข้อตกลงที่กล่าวถึงรูปแบบข้อความที่ส่งผ่านถึงกันหลักๆ 16 กลุ่มกระบวนการทำงาน ซึ่งในแต่ละกลุ่มจะประกอบไปด้วยข้อมูลจาก 105 ฟิลด์มาตรฐาน ประกอบกันตามข้อกำหนดของแต่ละรูปแบบการสื่อสาร และพัฒนาซอฟต์แวร์เครื่องมือเป็นสื่อกลางในการรับและส่งข้อมูลให้ระหว่างซอฟต์แวร์โคฮาและอุปกรณ์อาร์เอฟไอดี
ผลการศึกษานี้ ทำให้ซอฟต์แวร์โคฮา สามารถใช้งานอุปกรณ์อาร์เอฟไอดีในการทำรายการยืม-คืนอัตโนมัติได้

Abstract

The currently Open source Digital Library Software, here is Koha, is now better than the past, but it still could not support self-check device such as using RFID (Radio Frequency Identification). In this Independent Study, we aim to enhance the Koha with automatically circulation system through RFID interfaces. Regarding to this automatic processing, the standard pattern command for message exchanging between hardware and software calling SIP2, Standard Interchange Protocol Version 2.00, has been chosen.
The standard SIP2 message has 16 main categories for message exchange, each message using any standard data from the 105 SIP2 standard data format. This study develops the special software for interpreting and processing the message sending from the RFID devices to Koha and then sending response back to the request device.
The result of this Independent Study made Koha be able to equip with Automatic Circulation System.

คำสำคัญ (Keywords)

-

เว็บไซต์โครงงาน
-

วีดีโอคลิปของโครงงาน
-

ที่เก็บเวอร์ชันซอร์สโค้ด

-


สถานะการนำเข้าข้อมูล

ผู้นำเข้าข้อมูลครั้งแรก
พุฒิพงศ์ ยองทอง (g48653430)

แก้ไขครั้งสุดท้าย
เมื่อ March 1, 2007, 10 a.m. โดย พุฒิพงศ์ ยองทอง (g48653430)

สถานะการอนุมัติ
อนุมัติแล้ว โดย อัศนีย์ ก่อตระกูล (ak) เมื่อ March 1, 2007, 10 a.m.