รายละเอียดโครงงาน

หลักสูตร/ปี พ.ศ.
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ปี พ.ศ. 2550

ภาคและปีการศึกษาที่สำเร็จการศึกษา
ภาคปลาย ปีการศึกษา 2549

ประเภทโครงงาน
การศึกษาค้นคว้าอิสระ

ชื่อโครงงานภาษาไทย
การพัฒนาโปรแกรมเพื่อช่วยหาจุดติดตั้งไวเลสแอกเซสพอยท์

ชื่อโครงงานภาษาอังกฤษ
Development of Wireless Access Point Placement Tool

ผู้พัฒนา
48653224 ตะวัน ดอกบัว

อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก
ชัยพร ใจแก้ว

อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม
-

บทคัดย่อ

โครงงานการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาและพัฒนาโปรแกรมเพื่อช่วยในการหาจุดติดตั้งไวเลสแอกเซสพอยท์เพื่อให้ได้ความเร็วในการเชื่อมต่อขั้นต่ำ ณ ตำแหน่งต่างๆ ตามที่ผู้ออกแบบระบบเครือข่ายไร้สายต้องการได้
เนื่องจากความเร็วในการเชื่อมต่อบนระบบเครือข่ายไร้สายจะขึ้นอยู่กับความแรงของสัญญาณและความแรงของสัญญาณจะได้รับผลกระทบจากสภาพแวดล้อม การออกแบบระบบเครือข่ายโดยไม่คำนึงถึงปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมจึงทำให้ผลลัพธ์ด้านความเร็วในการเชื่อมต่อและระยะครอบคลุมสัญญาณมีความผิดพลาดขึ้น
ในการออกแบบระบบเครือข่ายไร้สายจึงมีปัจจัยที่ต้องพิจารณาดังต่อไปนี้ ความเร็วในการเชื่อมต่อขั้นต่ำในแต่ละตำแหน่ง การลดทอนสัญญาณของสิ่งกีดขวาง จำนวนของไวเลสแอกเซสพอยท์ที่จะใช้และตำแหน่งที่จะติดตั้งของแต่ละตัว โดยสิ่งที่ต้องการคือการใช้จำนวน
ไวเลสแอกเซสพอยท์ให้น้อยที่สุดเพื่อให้ได้ความเร็วในการเชื่อมต่อขั้นต่ำเป็นไปตามที่ต้องการ รูปแบบปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาแบบหลายวัตถุประสงค์ การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้จึงเลือกใช้วิธีเชิงพันธุกรรมแบบหลายวัตถุประสงค์ในการแก้ปัญหาดังกล่าว ซึ่งให้ผลลัพธ์ที่ได้มีค่าใกล้เคียงกับคำตอบที่ดีที่สุดโดยขึ้นกับการสุ่มค่าเริ่มต้นและจำนวนรอบในการทำงาน

Abstract

This independent study aims to study and develop Windows-based application to use as a tool to determine the optimal number of access points and installation places, which satisfy data rate requirements for a wireless network designer
What determine the data rate when connected to an access point are the distance from the access point and attenuation of the obstacles in between. The objectives consist of minimizing the number of APs and the guarantee of data rates for every specified point in the area. This placment problem is a multi-objective optimization problem. Hence a multi-objective genetic algorithm (MOGA) was chosen in this independent study for solving the problem. The use of MOGA provides optimal or neat optimal solutions in tested cases. Howover, the performance greatly depend on selection of the first population and the number of generations.

คำสำคัญ (Keywords)

-

เว็บไซต์โครงงาน
-

วีดีโอคลิปของโครงงาน
-

ที่เก็บเวอร์ชันซอร์สโค้ด

-


สถานะการนำเข้าข้อมูล

ผู้นำเข้าข้อมูลครั้งแรก
ตะวัน ดอกบัว (g48653224)

แก้ไขครั้งสุดท้าย
เมื่อ March 1, 2007, 10 a.m. โดย ตะวัน ดอกบัว (g48653224)

สถานะการอนุมัติ
อนุมัติแล้ว โดย ชัยพร ใจแก้ว (fengchj) เมื่อ March 1, 2007, 10 a.m.