รายละเอียดโครงงาน

หลักสูตร/ปี พ.ศ.
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ปี พ.ศ. 2549

ภาคและปีการศึกษาที่สำเร็จการศึกษา
ภาคปลาย ปีการศึกษา 2548

ประเภทโครงงาน
การศึกษาค้นคว้าอิสระ

ชื่อโครงงานภาษาไทย
การพัฒนาเครื่องมือช่วยแปลภาษา ให้สนับสนุนการใช้งานภาษาไทยแบบกึ่งอัตโนมัติ สำหรับการแปลหน้าจอโปรแกรมเว็ปห้องสมุด

ชื่อโครงงานภาษาอังกฤษ
A Development of Semi-Automatic English to Thai Languages Translation Tools For User Interface of Digital Library

ผู้พัฒนา
47653688 วสุเทพ ขุนทอง

อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก
อัศนีย์ ก่อตระกูล

อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม
-

บทคัดย่อ

การพัฒนาซอฟต์แวร์ห้องสมุดอัตโนมัติ โดยใช้ซอฟต์แวร์ห้องสมุดแบบเปิดเผยรหัส เป็นต้นแบบในการพัฒนา สามารถประหยัดต้นทุนงบประมาณในการจัดหาซอฟต์แวร์และค่าบำรุงรักษา ทั้งนี้ยังช่วยลดเวลาในการพัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้นใช้ใหม่อีกด้วย ซึ่งโดยทั่วไปซอฟต์แวร์แบบเปิดเผยรหัส จะพัฒนาโดยวิศวกรซอฟต์แวร์ในต่างประเทศ จากการนำมาทดลองใช้พบว่าหน้าจอส่วนติดต่อกับผู้ใช้ ส่วนใหญ่จะเป็นภาษาอังกฤษ ทำให้ไม่สะดวกในการใช้งาน
การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนาเครื่องมือสำหรับช่วยแปลหน้าจอส่วนติดต่อกับผู้ใช้ และคู่มือการใช้งานซอฟต์แวร์ห้องสมุด รวมทั้งสร้างกระบวนการในการปรับเปลี่ยนภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยให้สนับสนุนการใช้งานกรณีที่ซอฟต์แวร์ห้องสมุดแบบเปิดเผยรหัส มีการเปลี่ยนเวอร์ชันใหม่ รวมทั้งเครื่องมือที่พัฒนาขึ้นจะต้องมีความยืดหยุ่นที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับซอฟต์แวร์เปิดเผยรหัสในระบบที่ใกล้เคียงได้
กระบวนการทดสอบเครื่องมือการแปลครั้งนี้ ได้เลือก Koha เป็นซอฟต์แวร์ห้องสมุดแบบเปิดเผยรหัส เป็นตัวตั้งต้นเพื่อใช้ในการศึกษา และ ใช้ Dspace ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ห้องสมุดแบบเปิดเผยรหัส อีกโปรแกรมหนึ่ง สำหรับทดสอบกระบวนการในการแปลหน้าจอ ซึ่งผลที่ได้ในครั้งนี้ช่วยทำให้ผู้ใช้งานสามารถนำ Koha ไปใช้งานได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยังสามารถนำกระบวนการและเครื่องมือที่พัฒนาไปประยุกต์ใช้งานกับระบบอื่นที่ใกล้เคียงกันได้ โดยซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นสามารถที่จะแปลหน้าจอของผู้ใช้ทั่วไป 12 ไฟล์ จำนวนคำศัพท์ 350 คำ ภายใน 1 นาที และแปลหน้าจอของเจ้าหน้าที่ จำนวน 227 ไฟล์ คำศัพท์ 3,500 คำ ภายใน 13 นาที ส่วนคู่มือ Koha ภาษาอังกฤษสามารถแปลเป็นภาษาไทยด้วยเวลา 2 นาที โดยประโยชน์จาการศึกษาในครั้งนี้สามารถนำ Koha ที่แปลเป็นภาษาไทยแล้วไปประยุกต์ใช้กับห้องสมุดในโรงเรียน และมีคู่มือภาษาไทยในการอธิบายขั้นตอนการใช้งานระบบของ Koha

Abstract

Library Automation Software Development by using Open Source Digital Library(OSDL) Model is set up as a prototype in order to save cost in developing, procuring software and maintenance. It is also shorten time consuming for new software development. Normally, an Open source is developed for foreign language especially for English, which is inconvenient for Thai users because of language barrier. By this reason, the Translation Tool has to be developed. Further more the capability of this tool should support a new version of software input.
This research is, then, aimed to develop the Semi-Automatic English to Thai Translation Tool for translating the user interface and manual of Koha including supporting the new edition on OSDL easily. Moreover the development tool should be flexible for applying to the other Digital library open sources.
The experiment of this program has been done by using the Koha as the OSDL prototype and then testing by Dspace, which is the other OSDL. The result shows that users can use the Koha more easier. In addition, the users could apply the developed procedure to the other softwares. The efficiency of this program is translating 12 files, 350 words of user function within 1 minute and 227 files, 3,500 words of staff function within 13 minutes and Koha user’s manual in 2 minutes. The advantage of this independent study is be able to apply the Thai Koha for the school libraries with Thai manual to explain the functions of the Koha system.

คำสำคัญ (Keywords)

-

เว็บไซต์โครงงาน
-

วีดีโอคลิปของโครงงาน
-

ที่เก็บเวอร์ชันซอร์สโค้ด

-


สถานะการนำเข้าข้อมูล

ผู้นำเข้าข้อมูลครั้งแรก
วสุเทพ ขุนทอง (g47653688)

แก้ไขครั้งสุดท้าย
เมื่อ March 1, 2006, 10 a.m. โดย วสุเทพ ขุนทอง (g47653688)

สถานะการอนุมัติ
อนุมัติแล้ว โดย อัศนีย์ ก่อตระกูล (ak) เมื่อ March 1, 2006, 10 a.m.