หลักสูตร/ปี พ.ศ. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ปี พ.ศ. 2549
ภาคและปีการศึกษาที่สำเร็จการศึกษา ภาคปลาย ปีการศึกษา 2548
ประเภทโครงงาน
การศึกษาค้นคว้าอิสระ
ชื่อโครงงานภาษาไทย
การพัฒนาประสิทธิภาพในระบบจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ กรณีศึกษาศูนย์ข้อมูลทรัพยากรธรรมชาติจากข้อมูลดาวเทียม สทอภ.
ชื่อโครงงานภาษาอังกฤษ
Performance Tunning Terrabyte Storage: The Study case of Satellite Base Resources Information Center, GISTDA
ผู้พัฒนา
47653514 พลศิษฏ์ นิตยะกุล
อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก
ประดนเดช นีละคุปต์
อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม
-
บทคัดย่อ
การจัดเก็บข้อมูลภาพถ่ายรายละเอียดสูงจำนวนมากเข้าสู่ระบบจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่เป็นการบริหารจัดเก็บข้อมูลในเชิงการบริหารจัดการ รูปแบบในการจัดเก็บที่เหมาะสมกับลักษณะงานย่อมทำให้หน่วยงานสามารถนำเอาระบบจัดเก็บข้อมูลที่มีมูลค่าสูงมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ลักษณะของการประมวลผลข้อมูลภาพถ่ายรายละเอียดสูงขนาดใหญ่ ของศูนย์ข้อมูลทรัพยากรธรรมชาติจากข้อมูลดาวเทียม สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน), สทอภ.ที่มีการใช้เวลาประมวลผลนานเป็นวันๆนั้น จึงจำเป็นต้องค้นหารูปแบบในการจัดเก็บเพื่อลดการสิ้นเปลืองทรัพยากรของหน่วยงานในอนาคต
การทดสอบครั้งนี้ได้จำลองการทำงานของศูนย์ฯ ซึ่งทำให้สามารถสรุปรูปแบบการจัดเก็บของระบบที่เหมาะสมได้ 2 ส่วน คือ ส่วนการจัดเก็บข้อมูลผลผลิตที่ใช้แบบ RAID 5 กับหน่วยความจำถาวรชนิดแข็งจำนวน 24 ก้อน และการกำหนด Strip Size ของระบบจัดเก็บข้อมูล Sannet II Fc ของ Dothill ขนาด 128 Kbytes เช่นเดียวกับการแนะนำของผู้ผลิต และส่วนใช้งานประมวลผลข้อมูลที่ใช้แบบ RAID 0 กับหน่วยความจำถาวรชนิดแข็งจำนวน 12 ก้อน และขนาด Strip Size ที่ 256 Kbytes อันเป็นขนาดสูงสุดที่ระบบจัดเก็บข้อมูลจะทำได้ นอกจากนี้รูปแบบการจัดเก็บข้อมูลของระบบปฏิบัติการ Windows แบบ 32 บิต ทั้ง MBR และ GPT ก็ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน การดำเนินการทดสอบด้วยการจัดเก็บของระบบปฏิบัติการ Windows แบบ 64 บิตหรือแบบอื่นๆ จะเป็นคำตอบที่จะช่วยให้เราสามารถค้นหาระบบที่เหมาะสมในการประมวลงานและการจัดสรรพื้นที่ในระบบจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ของหน่วยงานทางด้านแผนที่และภาพถ่ายของประเทศต่อไป
การทดสอบด้วยโปรแกรมและวิธีที่จำลองการทำงานของหน่วยงาน โดยการทดสอบของโปรแกรม HD Tach เพื่อการทดสอบการรับส่งข้อมูลมาตรฐานการทำงานทั่วไปในขนาด 8 และ 32 เมกกาไบต์ โปรแกรม Disk Bench ที่ทดสอบการรับส่งข้อมูลขนาด 700 เมกกาไบต์ ถึง 7 กิกาไบต์ และการจับเวลาการถ่ายโอนข้อมูลขนาดใหญ่รวม 25 ถึง 37 กิกาไบต์ ก็ให้ผลลัพท์ที่แตกต่างกันออกไปตามขนาด Strip Size และจำนวนหน่วยความจำถาวรชนิดแข็ง แต่การกำหนดน้ำหนักการวัดผล 15% 35% และ 50% ของแต่ล่ะการทดสอบตามลำดับช่วยให้ได้ผลสรุปการทดสอบที่เหมาะสมกับการดำเนินการทำงานของหน่วยงานแผนที่ขนาดใหญ่ได้อย่างชัดเจน
Abstract
Geospatial Data Management by store a lot of high resolution imagery into terabyte storage system is Data Warehouse in Management concept. Each match raid model of processing will improve the performance of organization. The Long day processing of a big high resolution satellite data of Satellite Based Resources Information Center, GISTDA is the cause that need to find the sufficient raid model to reduce the running out of resource in National Mapping and Imagery Organization of Thailand in the future.
The result of this study from Information Center found 2 raid model : First model use for Data Production by RAID 5, 24 hard disk, 128 Kbytes Dot Hill Sannet II FC terabyte storage system – suggestion in best practice from Dot Hill. Second model use for Image Processing by RAID 0, 12 hard disk, 256 Kbytes Dot Hill Sannet II FC terabyte storage system - maximum configuration. Unless partitioning of 32 bit Microsoft Windows Operation System both MBR and GPT also have an effect with the performance. The testing with Windows 64 Bit Version or 64 Bit System will be the next step to increase the performance of terabyte storage system in imagery processing and management system of National Mapping and Geospatial.
To complete a study of software and workflow currently use in the target department, HD Tach software is used in order to test data transferring rate of 8 and 32 megabyte, Disk Bench software is used in order to test data transferring rate between 700 megabyte and 7 gigabyte and Data Transfer Timing of data between 25 to 37 gigabyte also give different result depend on the strip size and total number of hard drives during testing. However, different weighted of 15%, 35% and 50% of each testing in order clearly provide a good conclusion of workflow implement in the target department.
คำสำคัญ (Keywords)
-
เว็บไซต์โครงงาน
-
วีดีโอคลิปของโครงงาน
-
ที่เก็บเวอร์ชันซอร์สโค้ด
-
ผู้นำเข้าข้อมูลครั้งแรก
พลศิษฏ์
นิตยะกุล
(g47653514)
แก้ไขครั้งสุดท้าย
เมื่อ March 1, 2006, 10 a.m. โดย
พลศิษฏ์
นิตยะกุล
(g47653514)
สถานะการอนุมัติ
อนุมัติแล้ว โดย
ประดนเดช
นีละคุปต์
(pom)
เมื่อ March 1, 2006, 10 a.m.