รายละเอียดโครงงาน

หลักสูตร/ปี พ.ศ.
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ปี พ.ศ. 2549

ภาคและปีการศึกษาที่สำเร็จการศึกษา
ภาคปลาย ปีการศึกษา 2548

ประเภทโครงงาน
การศึกษาค้นคว้าอิสระ

ชื่อโครงงานภาษาไทย
การพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ : ชุมชนการจัดการเทคโนโลยี

ชื่อโครงงานภาษาอังกฤษ
The Implementation of Cyber Learning Community : Management of Technology (MoT) Community

ผู้พัฒนา
47653183 กาญจนา แก้วหย่อง

อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก
สมชาย นำประเสริฐชัย

อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม
-

บทคัดย่อ

โครงงานการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองเรื่อง “การพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ : ชุมชนการจัดการเทคโนโลยี” มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาและพัฒนากระบวนการในการจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management หรือ KM) มาใช้เป็นเครื่องมือในการรวบรวมองค์ความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคลให้มีสภาพกลายเป็นความรู้ที่ปรากฏชัดเจนของผู้ที่มีความรู้ในสาขาการจัดการเทคโนโลยีและสาขาที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ ส่งเสริมการถ่ายโอน แลกเปลี่ยนความรู้ เพื่อทำให้เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ในสาขาดังกล่าว ส่งผลให้เกิดการพัฒนาความรู้ในสาขาการจัดการเทคโนโลยีเป็นที่ยอมรับ
ชุมชนแห่งการเรียนรู้ มุ่งเน้นการสร้างชุมชนการจัดการเทคโนโลยีบนพื้นฐานการจัดการความรู้ ผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยน แบ่งปันความรู้ และการสร้างความรู้ใหม่ ด้วยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ชื่อว่า เว็บไซต์ (Website) และเว็บล็อก (Weblog) ออกแบบพัฒนาชุมชนโดยใช้โปรแกรมแมมโบ้ (Mambo) และยูทิลิตี้ เชื่อมต่อฐานข้อมูลมายเอสคิวแอล (MySQL)
กลยุทธ์ที่ใช้ในการกระตุ้นให้เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ คือ การประชาสัมพันธ์ การสร้างปฏิสัมพันธ์ให้สมาชิกเกิดการเชื่อมโยงกัน การสร้างพื้นที่ส่วนตัวมีอิสระในการถ่ายทอดความรู้ การแสดงความคิดเห็น จากการดำเนินการสรุปได้ว่า ชุมชนแห่งการเรียนรู้ในสาขาการจัดการเทคโนโลยีช่วยให้เกิดการถ่ายโอน แลกเปลี่ยนความรู้ในสาขาการจัดการเทคโนโลยีและสาขาที่เกี่ยวข้องทั้งในชุมชนและระหว่างชุมชน ชุมชนมีแนวโน้มจะขยายตัวต่อไปจากการประเมินตามหลักสถิติ วิเคราะห์พฤติกรรมกลุ่มเป้าหมาย ปัญหา และอุปสรรคต่างๆ สรุปเป็นข้อมูล ความรู้นำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ และการสร้างกิจกรรมต่างๆ ให้ชุมชนดำรงอยู่อย่างยั่งยืนต่อไป

Abstract

This independent study aims to study and develop KM process to use as a tool to transfer tacit knowledge to explicit knowledge for persons who are interested in Management of Technology and relevant. To build the acceptable knowledge communities to support the knowledge transfer and knowledge sharing of Technology Management
Learning Community aims to establish the Management of Technology communities base on knowledge management theory which are knowledge transfer, knowledge sharing, knowledge creation by using web site and weblog. To develop communities by using Mambo Program, MySQL for utility link to database.
Knowledge strategy was driven by announcement, interaction, knowledge transfer strategy, and communication. The conclusion, technology community lead to knowledge transfer within community and between other community. The communities will continue to grow based on the statistic evaluation. The result of using behavior had shown that this community will be expanded in the near future.

คำสำคัญ (Keywords)

-

เว็บไซต์โครงงาน
-

วีดีโอคลิปของโครงงาน
-

ที่เก็บเวอร์ชันซอร์สโค้ด

-


สถานะการนำเข้าข้อมูล

ผู้นำเข้าข้อมูลครั้งแรก
กาญจนา แก้วหย่อง (g47653183)

แก้ไขครั้งสุดท้าย
เมื่อ March 1, 2006, 10 a.m. โดย กาญจนา แก้วหย่อง (g47653183)

สถานะการอนุมัติ
อนุมัติแล้ว โดย สมชาย นำประเสริฐชัย (snp) เมื่อ March 1, 2006, 10 a.m.