รายละเอียดโครงงาน

หลักสูตร/ปี พ.ศ.
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ปี พ.ศ. 2547

ภาคและปีการศึกษาที่สำเร็จการศึกษา
ภาคปลาย ปีการศึกษา 2546

ประเภทโครงงาน
การศึกษาค้นคว้าอิสระ

ชื่อโครงงานภาษาไทย
Web Service เพื่อให้บริการการแลกเปลี่ยนข้อมูลทะเบียนประวัติบุคลากร และการลงทะเบียนระหว่างระบบสนับสนุนการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่าย และระบบฐานข้อมูลของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ชื่อโครงงานภาษาอังกฤษ
Data Interchange between Database System and Kasetsart University Learning Management System with Web Services

ผู้พัฒนา
45654092 สุธี แซ่เจีย

อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก
นนทวัฒน์ จันทร์เจริญ

อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม
-

บทคัดย่อ

การให้บริการเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนข้อมูลประวัตินิสิต อาจารย์ของมหาวิทยาลัย ข้อมูลรายวิชาและข้อมูลการลงทะเบียน ระหว่างสำนักบริการคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย โดยสำนักบริการคอมพิวเตอร์จัดเก็บรวบรวมข้อมูลดังกล่าว ซึ่งเป็นข้อมูลศูนย์กลางของทั้งมหาวิทยาลัย กับศูนย์คอมพิวเตอร์คณะต่างๆ เพื่อลดความซ้ำซ้อนในการเก็บข้อมูล ทำให้ข้อมูลมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (Unique Data) ระบบสนับสนุนการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่าย (MaxLearn) เป็นระบบที่มีความจำเป็นต้องใช้ข้อมูลนิสิต อาจารย์ ข้อมูลรายวิชาและข้อมูลการลงทะเบียน ซึ่งเป็นระบบงานที่เป็นตัวกลางระหว่างนิสิต และอาจารย์ที่สอน โดยที่นิสิตสามารถลงทะเบียนเรียน ส่งการบ้าน รายงาน Download เอกสารที่ใช้ในการเรียนการสอน และทราบข้อมูลข่าวสารทั้งของอาจารย์ ภาควิชา และคณะได้จากระบบงานดังกล่าว ซึ่งถือว่าเป็นระบบงานที่มีความทันสมัย และเป็นประโยชน์มาก สำหรับวงการการศึกษาในปัจจุบัน และสอดคล้องกับนโยบายของทางมหาวิทยาลัยที่พัฒนาให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็น E-University
โดยเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนานั้น ได้นำเอาภาษา XML (Extensible Markup Language) ซึ่งเป็นภาษาที่ให้ความชัดเจนในการให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล และการเปลี่ยนแปลงข้อมูลโดย แอพพลิเคชั่น บน เว็บ และใช้ฟอร์มที่ยืดหยุ่นได้ตามมาตรฐาน HTML มาเป็นตัวแลกเปลี่ยนและบริการข้อมูลทางการศึกษา นอกจากนั้นยังนำเอาการทำงานของ SOAP (Simple Object Access Protocol) ซึ่งเป็นมาตรฐานอุตสาหกรรมสำหรับปรับปรุงการทำงานต่างระบบการทำงาน (Cross-Platform Interoperability) มาช่วยในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างฐานข้อมูล Oracle และ MySQL ซึ่งเป็นการเรียกใช้ฟังก์ชั่นบนระบบเครือข่ายโดยใช้ XML เป็นตัวสร้าง Message ในการรับส่งข่าวสารมาใช้ในการพัฒนาอีกด้วย
ดังนั้น มหาวิทยาลัยจะมีระบบเพื่อให้บริการการสืบค้นข้อมูล ซึ่งถือได้ว่าเป็นเครื่องมือที่มีความทันสมัย และรองรับการใช้งานทั้งในปัจจุบัน และอนาคต ซึ่งข้อมูลที่ได้รับหลังจากค้นหานั้น อยู่ในรูปเอกสาร XML โดยผู้ใช้ระบบงานสามารถนำไปประมวลผลต่อได้ และเมื่อระบบมีความสมบูรณ์ และนำไปใช้กับศูนย์คอมพิวเตอร์ของทุกคณะภายในมหาวิทยาลัย จะทำให้มหาวิทยาลัยมีระบบงานที่ทันสมัย และข้อมูลถูกต้องตรงกัน

Abstract

The service is data interchange between Database System and Kasetsart University Learning Management System (KU-LMS). The Database System has kept the teacher and student’s information and distributes the data to other applications that includes Kasetsart University Learning Management System. This action made the unique data and reduced the redundant keeping data. KU-LMS need the teacher and student’s information, which is already updated for these semesters, and use this information to create relation between teachers and students. Because the teachers have opened the subjects for these semesters and the students must register each subject for sending some homework, reports and downloading the subject’s documents. KU-LMS is the central system between teachers and students to exchange the other information including the information from each department and the faculty. Furthermore KU-LMS is a part of project making Kasetsart University to be E-University.
We use Extensible Markup Language (XML) for developing this service. XML was originally envisioned as a language for defining new document formats for the World Wide Web. XML is derived from the Standard Generalized Markup Language (SGML), and can be considered to be a meta-language: a language for defining markup languages. SGML and XML are text-based formats that provide mechanisms for describing document structures using markup tags. Besides we use Simple Object Access Protocol (SOAP) that is Cross-Platform Interoperability, helping to exchange data between Oracle (Database System) and MySQL (KU-LMS’s database).
Finally, the university will have the service to exchange data between Database System and KU-LMS that is modern and facility tool. The formatting data that’s used to exchange is XML’s documents. The other application (including KU-LMS) can process data (in term of XML’s format) immediately. So, all of application will have the correct, unique and up-to-date data.

คำสำคัญ (Keywords)

-

เว็บไซต์โครงงาน
-

วีดีโอคลิปของโครงงาน
-

ที่เก็บเวอร์ชันซอร์สโค้ด

-


สถานะการนำเข้าข้อมูล

ผู้นำเข้าข้อมูลครั้งแรก
สุธี แซ่เจีย (g45654092)

แก้ไขครั้งสุดท้าย
เมื่อ March 1, 2004, 10 a.m. โดย สุธี แซ่เจีย (g45654092)

สถานะการอนุมัติ
อนุมัติแล้ว โดย นนทวัฒน์ จันทร์เจริญ (njr) เมื่อ March 1, 2004, 10 a.m.