รายละเอียดโครงงาน

หลักสูตร/ปี พ.ศ.
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ปี พ.ศ. 2547

ภาคและปีการศึกษาที่สำเร็จการศึกษา
ภาคปลาย ปีการศึกษา 2546

ประเภทโครงงาน
การศึกษาค้นคว้าอิสระ

ชื่อโครงงานภาษาไทย
ระบบเตรียมข้อมูล สำหรับระบบจำลองยุทธ์ระดับยุทธวิธีของ กองทัพบก (ATLAS) ด้วยระบบฐานข้อมูลเชิงวัตถุ และ XML

ชื่อโครงงานภาษาอังกฤษ
: Data Preparation Program for Army Tactical Level Advanced Simulation using Object Oriented database and XML

ผู้พัฒนา
45653904 ระวี โรจนวงศ์

อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก
พีรวัฒน์ วัฒนพงศ์

อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม
-

บทคัดย่อ

โลกในยุคปัจจุบัน เทคโนโลยีด้านการจำลองสถานการณ์ (Simulation) ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญ ในวงการทหารเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากจะช่วยสนับสนุนกระบวนการตัดสินใจของผู้บังคับบัญชาและฝ่ายอำนวยการแล้ว ยังจำลองเหตุการณ์/สถานการณ์ต่างๆ เพื่อสร้างความคุ้นเคยให้กับผู้ปฏิบัติ ให้สามารถแก้ปัญหาที่ยากลำบากลงได้ ภายใต้ทรัพยากรที่ขาดแคลน แต่หากข้อมูลที่ได้รับไม่ถูกต้องหรือไม่ทันเวลาแล้วนั้น การตกลงใจก็ย่อมมีการผิดพลาดไปได้เช่นกัน การที่ผู้บังคับบัญชาและฝ่ายอำนวยการได้มีโอกาสที่จะฝึกในการแก้ปัญหา ภายใต้ภาวะวิกฤติบ่อยครั้ง ย่อมสร้างความมั่นใจและสร้างสมประสบการณ์ให้กับเขาเหล่านั้นอย่างมาก
ระบบจำลองยุทธ์ทางทหารจึงเกิดจากความต้องการดังกล่าว แต่ปัญหาที่ตามมาก็คือการเตรียมข้อมูล สำหรับระบบจำลองยุทธ์แบบเดิม ใช้เวลาในการเตรียมข้อมูลประมาณ 3 – 6 เดือน และกำลังพลประมาณ 5 - 10 นาย ประกอบกับมีขั้นตอนการเตรียมการที่ซับซ้อน ไม่ว่าจะเป็นการทำความเข้าใจกับตารางฐานข้อมูลต่างๆ การเตรียมข้อมูลจะต้องกระทำโดยอาศัยโปรแกรมอยู่รวมกันกับโปรแกรมจำลองยุทธ์บนเครื่องแม่ข่าย (Server) ทำให้เกิดความยุ่งยาก
ระบบเตรียมข้อมูล สำหรับระบบจำลองยุทธ์ระดับยุทธวิธีของกองทัพบก (ATLAS) ด้วยระบบฐานข้อมูลเชิงวัตถุ ได้ถูกออกแบบมาเพื่อแก้ไขปัญหาข้อบกพร่องดังกล่าวมาแล้ว โดยจะเป็นโปรแกรมขนาดไม่ใหญ่นักที่สามารถแยกไปทำการติดตั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC) หรือโน๊ตบุ้ค (Notebook) ของผู้รับการฝึกให้สามารถทำการเตรียมข้อมูลของหน่วยต่างๆ ได้อย่างสะดวกมาก และการที่เป็นระบบฐานข้อมูลเชิงวัตถุจะทำการเอนแคปซูเลชั่น(Encapsulation) ทุกอย่างเอาไว้ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องสนใจเรื่องความซับซ้อนของตารางต่างๆ แต่สามารถเตรียมข้อมูลของหน่วยตามความเป็นจริงที่มันเป็นอยู่มองเป็นวัตถุไม่ใช่มองความสัมพันธ์ของข้อมูลในตาราง และเพื่อเป็นการทำตามข้อจำกัดด้านงบประมาณของโครงการ และเพิ่มความอ่อนตัวในการใช้งานโดยไม่ติดยึดกับผลิตภัณฑ์และรูปแบบใดๆ (Platform) ทำได้โดยการใช้เอ็กซ์เอ็มแอล (XML) เข้ามาช่วยทำให้สามารถส่งข้อมูลจากเครื่องพีซีหรือโน๊ตบุ้ค ไปให้กรรมการทำการตรวจสอบได้หลากหลายวิธี เช่น ทำสำเนาใส่แผ่นดิสก์ (Floppy disk) หรือส่งให้ตรวจสอบโดยผ่านทาง ไปรษณีย์อิเล็คทรอนิกส์ (email) จึงมีความอ่อนตัวในการเตรียมข้อมูล อำนวยความสะดวกในการวางแผน อีกทั้งยังสามารถทำการตรวจสอบได้ตลอดเวลา
ผลที่ได้รับคือ การลดระยะเวลาในการเตรียมข้อมูลลง จาก 3 – 6 เดือน เหลือเพียง 3 - 5 วัน นอกจากนั้นยังง่ายต่อการใช้งาน ซึ่งสามารถตรวจสอบจากระยะเวลาในการเรียนรู้วิธีการเตรียมข้อมูล ซึ่งลดลงจาก 7 วันเหลือเพียงระยะเวลา 2 - 3 ชั่วโมง และการที่ใช้เอ็กซ์เอ็มแอล ทำให้สามารถตอบสนองต่อข้อจำกัดด้านงบประมาณที่ไม่สามารถจัดหาระบบฐานข้อมูลเชิงวัตถุเพิ่มเติมได้ นอกจากนั้นยังเอื้ออำนวยให้สามารถทำการฝึกได้บ่อยครั้งมากยิ่งขึ้น

Abstract

Now a days, simulation technology is widely used and plays important role in the Army. Besides supporting the right decision making process of commanders and staffs, simulation can simulate various situations for the acquaintance of commanders and staffs by solving critical circumstance under the lack of resources. In that circumstance if the data was not right or not in the right time, so the right decision making will not occur as well. But if the commanders and staffs have the chance to be trained in solving the problems frequently, they will gain more confidence and experiences in better decision making.
The military simulation system is urgently needed, but the problem occurs are the data preparation. As for original simulation system requires 3-6 months and 5-10 personals to accomplish the data preparation. The process of preparation is also complicated. The data preparator have to comprehend the relation of the complex relational database table and the ability to prepare the data. The data preparation must occur in the server which creates a bottle neck in data preparation process.
The data preparation for Army Tactical Level Advanced Simulation has been designed to solve these problems. It is a stand alone program that can deploy or install on trainee’s personal computer or notebook, so they can prepare unit themselves. Encapsulation characteristic of object-oriented technology method will encapsulate everything in it. As a matter of fact, the unit will be as it is. The trainee don’t have to know relationship of data. They just drag and drop the icon in the tree browser then they will have the unit they want. This program use XML technology which is a platform neutral. We can deliver the result which is a XML file easily and flexibility.
The result of this project reduces the time in data preparation from 3-6 months to 3-5 days and reduces personnel requirement from 5-10 persons to 1 person in data preparation. Other than that, it’s easier to operate which can reduce the training course for using the preparation program from 7 days to few hours only. By the reducing time, commanders and staffs can be trained as many times as they want.

คำสำคัญ (Keywords)

-

เว็บไซต์โครงงาน
-

วีดีโอคลิปของโครงงาน
-

ที่เก็บเวอร์ชันซอร์สโค้ด

-


สถานะการนำเข้าข้อมูล

ผู้นำเข้าข้อมูลครั้งแรก
ระวี โรจนวงศ์ (g45653904)

แก้ไขครั้งสุดท้าย
เมื่อ March 1, 2004, 10 a.m. โดย ระวี โรจนวงศ์ (g45653904)

สถานะการอนุมัติ
อนุมัติแล้ว โดย พีรวัฒน์ วัฒนพงศ์ (pw) เมื่อ March 1, 2004, 10 a.m.