รายละเอียดโครงงาน

หลักสูตร/ปี พ.ศ.
วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ปี พ.ศ. 2568

ภาคและปีการศึกษาที่สำเร็จการศึกษา
ภาคปลาย ปีการศึกษา 2567

ประเภทโครงงาน
โครงงานวิศวกรรม

ชื่อโครงงานภาษาไทย
Pi Home: ระบบลำโพงอัจฉริยะบน Raspberry Pi พร้อมผู้ช่วยเสมือนจาก LLM

ชื่อโครงงานภาษาอังกฤษ
Pi Home: Raspberry-Pi-Based Smart Speaker System with LLM-Powered Virtual Assistant

ผู้พัฒนา
6410504136 นราวิชญ์ สฤษฎีชัยกุล
6410504241 มหัศจรรย์ สถาพรวานิชย์

อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก
อัครพงศ์ พัชรรุ่งเรือง

อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม
อัครพงศ์ พัชรรุ่งเรือง

บทคัดย่อ

ปัจจุบันระบบลำโพงอัจฉริยะได้รับความนิยม แต่ยังมีข้อจำกัดในด้านความสามารถของผู้ช่วยเสมือนที่มากับลำโพง ซึ่งมักจะให้ผลลัพธ์เป็นเพียงข้อมูลจากการค้นหาบนอินเทอร์เน็ต สำหรับโครงการ Pi Home ได้พัฒนาระบบลำโพงอัจฉริยะที่ใช้โมเดลภาษาใหญ่ (LLM) เป็นผู้ช่วยเสมือนที่สามารถตอบคำถามที่ซับซ้อนได้ดีขึ้นและให้ข้อมูลที่มีความแม่นยำมากกว่าผู้ช่วยเสมือนที่มีอยู่ในตลาด ระบบนี้ประกอบด้วยฮาร์ดแวร์ลำโพงที่รองรับอินพุตและเอาต์พุตเสียง รองรับการเชื่อมต่อผ่าน AirPlay และ Spotify Connect และมีซอฟต์แวร์ผู้ช่วยเสมือนที่ใช้ LLM ในการประมวลผลคำถามและให้คำตอบจากแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสามารถจดบันทึก ควบคุมการเล่นเพลง และควบคุมการทำงานของลำโพงได้ โครงการนี้ใช้ LangChain Framework เพื่อเชื่อมต่อ LLM และใช้แนวทาง ReAct (Reasoning + Action) ในการพัฒนาผลการตอบคำถามให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ผลลัพธ์จากการทดสอบแสดงให้เห็นว่า Pi Home สามารถตอบคำถามที่ซับซ้อนได้ดีกว่าผู้ช่วยเสมือนในระบบลำโพงอัจฉริยะที่มีในตลาดปัจจุบัน แม้ระบบจะมีศักยภาพในการเพิ่มประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้ แต่ยังมีข้อจำกัดบางประการ เช่น ความเร็วในการประมวลผลที่อาจได้รับผลกระทบจากการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต และข้อจำกัดในการรองรับคำสั่งเสียงในภาษาต่าง ๆ ซึ่งยังต้องได้รับการพัฒนาเพิ่มเติม

Abstract

Smart speaker systems have gained widespread popularity, but existing virtual assistants often struggle with answering complex queries, typically providing generic search results. Pi Home addresses this issue by developing a smart speaker system powered by a Large Language Model (LLM), enhancing virtual assistant capabilities to deliver more accurate and insightful responses. The system integrates speaker hardware that supports both audio input and output and connects via AirPlay and Spotify Connect. It also features an LLM-powered virtual assistant capable of processing queries, retrieving relevant information, taking notes, controlling music playback, and managing speaker functions. This project employs the LangChain Framework for LLM integration and applies the ReAct (Reasoning + Action) methodology for improved query resolution. Results indicate that Pi Home outperforms existing smart speaker virtual assistants in handling complex queries and delivering more relevant answers. However, the system has certain limitations, such as processing speed, which may be affected by internet connectivity, and the ability to process voice commands in various languages, which requires further development for broader language support.

คำสำคัญ (Keywords)

Smart Speaker
Virtual Assistant
Large Language Model
Raspberry Pi

เว็บไซต์โครงงาน
-

วีดีโอคลิปของโครงงาน
-

ที่เก็บเวอร์ชันซอร์สโค้ด

-


สถานะการนำเข้าข้อมูล

ผู้นำเข้าข้อมูลครั้งแรก
นราวิชญ์ สฤษฎีชัยกุล (b6410504136)

แก้ไขครั้งสุดท้าย
เมื่อ April 8, 2025, 4:02 p.m. โดย นราวิชญ์ สฤษฎีชัยกุล (b6410504136)

สถานะการอนุมัติ
รออนุมัติ