หลักสูตร/ปี พ.ศ. วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ปี พ.ศ. 2566
ภาคและปีการศึกษาที่สำเร็จการศึกษา ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2566
ประเภทโครงงาน
โครงงานวิศวกรรม
ชื่อโครงงานภาษาไทย
การวิเคราะห์การยอมรับข้อมูลบนทวิตเตอร์
ชื่อโครงงานภาษาอังกฤษ
An analysis of information adoption on twitter
ผู้พัฒนา
6210506267 ชนกันต์ โผนผึ้ง
อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก
บัณฑิต มนัสเกษมศักดิ์
อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม
-
บทคัดย่อ
ปัจจุบันการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ในการแพร่กระจายและการเสพ ข้อมูลข่าวสาร ความคิดเห็นกลายเป็นกิจวัตรประจำวันของผู้คนมากมายทวิตเตอร์ก็เป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยทวิตเตอร์นั้นเป็นแพลตฟอร์มไมโครบล็อกที่ผู้ใช้สามารถ โพสต์ข้อความยาว 280 ตัวอักษรเกี่ยวกับเรื่องใดก็ได้ที่ตนสนใจโดยจะเรียกข้อความนี้ว่าทวีต ยิ่งไปกว่านั้นยังสามารถที่จะทำการติดแฮชแท็กโดยการใช้เครื่องหมายแฮช (#) หน้าข้อความบางส่วน เพื่อบ่งบอกว่าทวีตนั้นๆมีความเกี่ยวข้องกับข้อความที่ตามหลังเครื่องหมายแฮชด้วยวิธีการนี้ทวีตนั้นๆจะถูกจัดหมวดหมู่รวมกับทวีตอื่นๆที่ถูกติดแฮชแท็กเดียวกัน ทำให้ผู้ใช้งานรายอื่นๆสามารถที่จะ ตามหาเรื่องที่ตนสนใจผ่านการค้นหาแฮชแท็กได้ นอกจากนี้แฮชแท็กนำไปใช้ในการแพร่กระจายข่าวสารเหตุการณ์ต่างและ ใช้ในการโปรโมตกิจกรรมต่างๆ การทำความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผล ต่อการ เลือกใช้งานแฮชแท็กจึงอาจจะมีประโยชน์ต่อการทำความเข้าใจการแพร่กระจายของข้อมูล บนทวิตเตอร์ได้
งานวิจัยชิ้นนี้มีความตั้งใจที่จะทำการศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับ และ ใช้งานแฮชแท็ก(hashtag adoption)บนทวิตเตอร์ โดยทำศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อ กระบวนการยอมรับข้อมูล(Information adoption process)ซึ่งได้แก่ ความน่าเชื่อถือของแหล่งที่มา (Source creidibility) และ คุณภาพของข้อมูล(Argument quality) กับการใช้งานแฮชแท็กว่า
มีผลต่อการยอมรับ และใช้งานแฮชแท็กอย่างไร สามารถที่จะนำไปใช้ในการทำนายการยอมรับ และใช้งานแฮชแท็กได้หรือไม่
นอกเหนือจากนั้นในงานชิ้นนี้ยังได้มีการศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมของมนุษย์ อื่นๆได้แก่ อิทธิพลทางสังคม(Social influence), ความคล้ายคลึงระหว่างบุคคล(Entity similarity) และความคล้ายคลึงทางเครือข่าย(Structural Equivalence) ที่ได้เคยมีการศึกษาว่าสามารถนำมาใช้ ในการทำนายเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ ได้นำมาทำการศึกษาในงานนี้เช่นกันว่ามีความสามรถ ใช้ในการทำนายการใช้งานแฮชแท็กได้หรือไม่
โดยในโครงงานชิ้นนี้ได้ทำการศึกษาโดยการนำปัจจัยที่ได้กล่าวไปข้างต้นได้แก่ ความน่าเชื่อถือของแหล่งที่มา(Source creidibility), คุณภาพของข้อมูล(Argument quality), อิทธิพลทางสังคม(Social influence), ความคล้ายคลึงระหว่างบุคคล(Entity similarity) และ ความคล้ายคลึงทางเครือข่าย(Structural Equivalence) มาใช้เป็นตัวแปรเพื่อทำนายว่าผู้ใช้งาน ทวิตเตอร์รายใดๆจะยอมรับและใช้งานแฮชแท็กหนึ่งๆหรือไม่ จากนั้นจึงพยายามทำความเข้าใจ และวิเคราะห์ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งจากผลที่ได้รับชี้ให้เห็นว่าในทุกๆปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้น โดยเฉพาะความน่าเชื่อถือของแหล่งที่มา(Source creidibility), คุณภาพของข้อมูล(Argument quality) ส่งผลกระทบต่อการยอมรับและใช้งานแฮชแท็กเป็นอย่างมาก
Abstract
Nowadays, social media platforms are used to spread and consume information and opinion by people. Twitter is one of the popular social media platforms. Twitter is a microblogging platform that lets the user post a message with 280 characters(tweet) about their interests, and the user could further tag their tweet by using a hash character(#) followed by a word or sentence to indicate the topic relevant to the tweet. Hash tagging facilitates users by making it easier to navigate through the overwhelming number of tweets to meet their interests. Moreover, hashtags are used to disseminate the news and promote goods and campaigns. Understanding the factor that affects hashtag adoption could lead to a further understanding of information diffusion on Twitter.
In this research, we investigate the factors that affect hashtag adoption on Twitter. We conduct an experiment to observe the relationship and prediction power of factors that affect the information adoption process which is source credibility and argument quality on hashtag adoption. Other than those two factors we investigate other factors that have been proven to be a good predictor of adoption behavior namely social influence, entity similarity, and structural equivalence. We include these three in our prediction model to examine their prediction of hashtag adoption.
In this research, we demonstrated the prediction power of source credibility, argument quality, social influence, entity similarity, and structural equivalence in predicting hashtag adoption of Twitter users, and then we further analyze why these why and how these features affect the performance of our prediction model.
คำสำคัญ (Keywords)
ทวิตเตอร์(Twitter), การยอมรับและใช้งานแฮชแท็ก(Hashtag adoption), กระบวนการยอมรับข้อมูล (Information adoption)
เว็บไซต์โครงงาน
-
ที่เก็บเวอร์ชันซอร์สโค้ด
-
ผู้นำเข้าข้อมูลครั้งแรก
ชนกันต์
โผนผึ้ง
(b6210506267)
แก้ไขครั้งสุดท้าย
เมื่อ June 14, 2023, 4:09 p.m. โดย
ชนกันต์
โผนผึ้ง
(b6210506267)
สถานะการอนุมัติ
รออนุมัติ