รายละเอียดโครงงาน

หลักสูตร/ปี พ.ศ.
วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์และความรู้ ปี พ.ศ. 2566

ภาคและปีการศึกษาที่สำเร็จการศึกษา
ภาคปลาย ปีการศึกษา 2565

ประเภทโครงงาน
โครงงานวิศวกรรม

ชื่อโครงงานภาษาไทย
อันเฟค: การตรวจสอบข่าวปลอมและสรุปข่าวของภาษาไทยโดยใช้ไลน์บอท

ชื่อโครงงานภาษาอังกฤษ
UnFake: Thai Fake news detection and summarization using LINE Bot

ผู้พัฒนา
6210545581 นายภูริช ไตรนรพงศ์
6210546404 นายณัฐพล กอเจริญรัตน์

อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก
ภารุจ รัตนวรพันธุ์

อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม
ภารุจ รัตนวรพันธุ์

บทคัดย่อ

ในยุคปัจจุบันผู้คนสามารถอ่านหรือดูข่าวได้จากทุกที่ โดยเฉพาะจากแพลตฟอร์มที่เข้าถึงง่ายอย่างโซเชียลมีเดีย ทุกคนสามารถโพสต์อะไรก็ได้บนโซเชียลมีเดียและสามารถหลอกลวงในเรื่องต่างๆได้ การแพร่กระจายของข่าวปลอมกำลังเป็นปัญหาสำคัญสำหรับหลายประเทศมากขึ้นเรื่อยๆ ในประเทศไทย ผู้คนส่งต่อข่าวปลอมโดยไม่ทราบข้อเท็จจริงหรือไม่ตรวจสอบกับแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้ก่อน คนจำนวนมากโดยเฉพาะผู้สูงอายุมักเชื่อสิ่งที่อยู่ในอินเทอร์เน็ตโดยไม่ทันได้ไตร่ตรองเพราะยังใหม่ต่อเทคโนโลยี สิ่งนี้เกิดขึ้นบ่อยครั้งในกลุ่มแชทไลน์ แอปพลิเคชันสื่อสารหลักของประเทศไทย ข่าวปลอมอาจทำให้ผู้คนเข้าใจผิดและสร้างความสับสนในสังคม ข่าวปลอมบางข่าวอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้คน เนื่องจากข่าวดังกล่าวชี้แนะให้เห็นแนวทางที่ไม่ถูกต้องในการทำบางสิ่ง วิธีแก้ไขคือใช้ไลน์บอทของพวกเรา เพื่อตรวจจับข่าวปลอมและสรุปข่าว บอทจะใช้เทคนิคและโมเดลการประมวลผลภาษาธรรมชาติขั้นสูงเพื่อวิเคราะห์ข่าวใดๆ ที่ส่งไปยังบอทและตรวจสอบว่าเป็นข่าวปลอมหรือไม่ บอทจะสรุปและย่อความของข่าวเพื่อลดเวลาในการอ่าน โมเดลจะเป็นแบบเฉพาะสำหรับภาษาไทย ผู้ใช้สามารถส่งต่อข้อความข่าวสารจากไลน์ไปยังไลน์บอท เพื่อตรวจหาและสรุป โมเดลจะมีความแม่นยำประมาณ 80-90 เปอร์เซ็นต์ การแก้ปัญหาด้วยวิธีนี้จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถตรวจสอบข่าวก่อนจะส่งต่อ และด้วยแอปพลิเคชันที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลายอย่างไลน์ จะทำให้คนไทยเข้าถึงได้ง่ายขึ้นและใช้งานง่ายขึ้น เราสามารถตรวจสอบวิธีแก้ปัญหาของเราได้โดยการวัดความแม่นยำของโมเดลการตรวจจับข่าวปลอมและความพึงพอใจของผู้ใช้

Abstract

Nowadays people can read or watch the news from everywhere, especially from easy-to-access platforms like social media. Anyone can post anything on social media and people can lie about many things. The spread of fake news is becoming increasingly a significant problem for many countries. In Thailand, people spread fake news without knowing the fact or bother checking it with a reliable source first. Many people especially elderly people like to believe anything that is on the internet because they are still new to the technology. This happens a lot in the group chat in LINE, Thailand’s main communication application. Fake news can mislead people and create confusion in the community. Some fake news might affect people’s health because the news suggests the wrong ways of doing something. The solution is to utilize LINE’s bot to detect fake news and even summarize the news. The bot will use advanced natural language processing techniques and models to analyze any news sent to the bot and check if it is fake news or not. The bot will also provide a summarized version of the news to reduce reading time. The model will be specialized for the Thai language. Users can forward news messages from LINE to the LINE bot for it to detect and summarize. The models will have an accuracy of around 80-90 percent. This solution will let users check the news first before sharing and with a widely used application like LINE, this will have better accessibility and ease-of-use to Thai people. We can validate our solution by measuring the accuracy of the fake news detection model and user satisfaction.

คำสำคัญ (Keywords)

Fake news, Thai, LINE, Detection, Summarization

เว็บไซต์โครงงาน
-

วีดีโอคลิปของโครงงาน

ที่เก็บเวอร์ชันซอร์สโค้ด

https://github.com/nuttapol-kor/fake-news-project


สถานะการนำเข้าข้อมูล

ผู้นำเข้าข้อมูลครั้งแรก
นายภูริช ไตรนรพงศ์ (b6210545581)

แก้ไขครั้งสุดท้าย
เมื่อ May 10, 2023, 8:36 p.m. โดย นายภูริช ไตรนรพงศ์ (b6210545581)

สถานะการอนุมัติ
รออนุมัติ