หลักสูตร/ปี พ.ศ. วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ปี พ.ศ. 2566
ภาคและปีการศึกษาที่สำเร็จการศึกษา ภาคปลาย ปีการศึกษา 2565
ประเภทโครงงาน
โครงงานวิศวกรรม
ชื่อโครงงานภาษาไทย
ทุ่นติดตามกระแสน้ำผ่านเครือข่ายแบบลอรา
ชื่อโครงงานภาษาอังกฤษ
Tide Tracking Buoy with LoRa Wireless Network
ผู้พัฒนา
6210503560 นายณัชนนท์ ดอกไม้กุล
อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก
อนันต์ ผลเพิ่ม
อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม
อภิรักษ์ จันทร์สร้าง
บทคัดย่อ
การตรวจวัดคุณภาพน้ำและการเก็บข้อมูลของกระแสน้ำในปัจจุบัน มักใช้อุปกรณ์ตรวจวัดในลักษณะของทุ่นฝังสมอที่ติดตั้ง ณ บริเวณที่ต้องการทดสอบ และหากพื้นที่ในการทดสอบมีขนาดที่กว้างมากขึ้น ก็จำเป็นจะต้องติดตั้งจุดทดสอบเพิ่มขึ้นเพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ทดสอบ จึงได้เกิดงานวิจัยที่ทำการออกแบบระบบติดตามข้อมูลกระแสน้ำจากทุ่นลอยแบบปล่อยลอยตามกระแสน้ำ เพื่อให้สามารถใช้ทุ่นเพียงตัวเดียวในการครอบคลุมพื้นที่ทดสอบที่กว้างขึ้น โดยใช้ทุ่นลอยที่ติดตั้งเซ็นเซอร์ในการเก็บข้อมูลกระแสน้ำ ได้แก่ อุณหภูมิ ความขุ่นของน้ำ ลักษณะของคลื่น และมีระบบติดตามตำแหน่ง ซึ่งส่งข้อมูลการทดสอบให้เกตเวย์ตามเวลาจริงด้วยเทคโนโลยีลอรา และส่งต่อผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อบันทึกลงฐานข้อมูล และแสดงผลผ่านแอปพลิเคชัน แต่งานวิจัยดังกล่าวยังเป็นเพียงต้นแบบของระบบ งานวิจัยนี้จึงได้ทำการพัฒนาและออกแบบทุ่น-ลอยให้ระบบดังกล่าวให้สามารถใช้งานในสภาพแวดล้อมจริง โดยผลการพัฒนาสามารถทำให้ทุ่นลอยรับค่าจากเซ็นเซอร์วัดคุณภาพน้ำและส่งต่อข้อมูลให้เกตเวย์ได้อย่างถูกต้อง
Abstract
The current methods for assessing water quality and collecting tide data often involve using anchored buoys, which are stationary devices placed in specific locations. To gather data across a wider area, more anchored buoys must be installed. To address this challenge, a previous study proposed the Real-Time Tide Data Tracking System with Moving Buoys, which uses a single buoy to cover a larger testing area. The proposed system is equipped with various sensors, including water quality measurements, temperature, water turbidity, current wave characteristics, and GPS tracking. The buoy transmits real-time data to a gateway through LoRa technology, which then forwards the data to the internet for storage in a database and display via an application. However, the previous system remains a prototype, lacking a functional buoy. This paper presents an improvement of the previous system, making it ready for deployment in real-world environments. The results demonstrate that the system can effectively collect data from the sensors on the buoy and send the data to the gateway.
คำสำคัญ (Keywords)
การวัดคุณภาพน้ำ, เทคโนโลยีลอรา, อินเตอร์เน็ตทุกสรรพสิ่ง
เว็บไซต์โครงงาน
-
ที่เก็บเวอร์ชันซอร์สโค้ด
-
ผู้นำเข้าข้อมูลครั้งแรก
นายณัชนนท์
ดอกไม้กุล
(b6210503560)
แก้ไขครั้งสุดท้าย
เมื่อ April 6, 2023, 10:28 p.m. โดย
นายณัชนนท์
ดอกไม้กุล
(b6210503560)
สถานะการอนุมัติ
รออนุมัติ