หลักสูตร/ปี พ.ศ. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ปี พ.ศ. 2565
ภาคและปีการศึกษาที่สำเร็จการศึกษา ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2564
ประเภทโครงงาน
วิทยานิพนธ์
ชื่อโครงงานภาษาไทย
กรอบกระบวนการสำรวจและวิเคราะห์ความต้องการของผู้ว่าจ้างก่อนจัดทำข้อกำหนดโครงการ
ชื่อโครงงานภาษาอังกฤษ
Framework for Pre-TOR customer requirement gathering and analysis
ผู้พัฒนา
5914550106 อาทิตย์ ปรีวิลัย
อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก
พีรวัฒน์ วัฒนพงศ์
อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม
สมชาย นำประเสริฐชัย
บทคัดย่อ
เอกสารขอบเขตของงาน (Terms of Reference: TOR) เป็นหนึ่งในเอกสารบังคับสำหรับกระบวนการจัดซื้อ-จัดจ้างทางสารสนเทศ ใช้ในการสื่อสารความต้องการและรายละเอียดของระบบ จากผู้ว่าจ้างไปยังผู้พัฒนา แต่ด้วยเหตุที่เอกสารดังกล่าวมักใช้ภาษาธรรมชาติ หรือใช้การอธิบายคุณลักษณะเชิงพรรณนาโวหารและมีขอบเขตกว้าง ทำให้เกิดความกำกวมทางเทคนิคขึ้นแทบทุกครั้ง และเหนี่ยวนำให้ผู้ว่าจ้างและผู้พัฒนามีความคาดหวังต่อระบบที่กล่าวถึงในเอกสารที่ไม่ตรงกัน ทั้งในแง่มุมของการผนวกระบบเข้าในการทำธุรกรรม, ฟังก์ชันการใช้งาน, รูปแบบการจัดเก็บและการส่งผ่านข้อมูล, และประสบการณ์ของผู้ใช้ และความพยายามในการแก้ปัญหาความเข้าใจที่ไม่ตรงกันหลังจากลงนามในเอกสารแล้ว ย่อมเกิดเป็นข้อพิพาทเสมอทั้งในทางเทคนิคและทางระเบียบกฎหมาย วิธีแก้ไขที่ถูกต้องคือต้องป้องกันไม่ให้เอกสารที่มีลักษณะด้อยเช่นนั้นเกิดขึ้นเสียตั้งแต่แรก งานวิจัยนี้นำเสนอการใช้วิธีขับเคลื่อนด้วยรายการตรวจสอบ (Checklist-Driven Method) ในกรรมวิธีการจัดทำเอกสารขอบเขตของงาน ตั้งแต่เริ่มโครงการ แม้กระทั่งก่อนขั้นตอนการจัดซื้อ-จัดจ้าง เพื่อลดความกำกวมในเอกสาร ด้วยกลยุทธ “ให้ดูตัวอย่างก่อนตัดสินใจ” ซึ่งผู้วิจัยได้สนธิกระบวนการเก็บความต้องการแบบวอเตอร์ฟอล (Waterfall Requirement Pattern) เข้ากับกระบวนการเก็บความต้องการแบบเอไจล์ (Agile Requirement Pattern) และเน้นใช้การสร้างต้นแบบ (Prototyping) เป็นเครื่องมือหลักในการกำจัดความกำกวมจากการประเมินการใช้งานโดยผู้เชี่ยวชาญ ระหว่างกรรมวิธีสร้างเอกสารขอบเขตของงานแบบดั้งเดิม เทียบกับกรรมวิธีใหม่ที่นำเสนอ โดยทดลองกับโครงการพัฒนาระบบจำนวน 10 โครงการ พบว่ากรรมวิธีใหม่สามารถลดความกำกวมทางเทคนิคได้ และทำให้เอกสารมีความกระจ่างมากกว่าและตรวจสอบย้อนกลับได้ง่ายกว่าอย่างมีนัยยะสำคัญ อย่างไรก็ตามด้วยข้อจำกัดในพื้นที่ตีพิมพ์จึงนำเสนอตัวอย่างรายการตรวจสอบได้เพียงบางส่วน ((Zachariah, B. and O. F. Nonyelum 2020); (Wikipedia, ISO/IEC 9126); (Messer-Misak, K., et al. 2020); (Schön, E.-M., et al. 2017); (Aleksander, J. and W. Pawel 2021))
Abstract
Terms-of-Reference---TOR--- is a mandatory document in any system/software development contract, conveying requirements and other specifics of the system from the client-owner to the contractor-developer. By allowing the use of Natural Language as well as narrative and broad terms to be used in that document most often creates technical ambiguity which induces and widens the misunderstanding gap between parties involved, especially in the areas of business process, system functionality, data format and data movement, and user interface and user experience. Trying to eliminate those gaps after the contract automatically implies technical and legal contentions which directly translates into overblown budget, missed deadlines, poorer software quality, and eventually dissatisfaction. The best remedy is to prevent such TORs from existing in the first place. This article therefore proposes the use of Checklist-Driven Method right from beginning of the Inception Phase of the project, even before the procurement step. The Method serves as both reminder and guideline for requirement gatherers in generating ambiguous-free TOR, employing see-sample-before-commit strategy. To achieve that goal, the researchers had synergized the Waterfall Requirement Pattern and the Agile Requirement Pattern together and emphasize prototyping as a primary medium in disambiguation process. Experiment conducted by the experts on 10 software projects concluded that the proposed method does reduce technical ambiguity in the contract document. There are also significant improvements in clarity and verifiability as compared to the incumbent, classical method. Only partial sample of the checklist is included due to space limitation. ((Zachariah, B. and O. F. Nonyelum 2020); (Wikipedia, ISO/IEC 9126); (Messer-Misak, K., et al. 2020); (Schön, E.-M., et al. 2017); (Aleksander, J. and W. Pawel 2021))
คำสำคัญ (Keywords)
Ambiguous-Free Software Requirement, Requirement Engineering, Ambiguous-Reduction Software Requirement Template, Hybrid Software Requirement Gathering Model.
เว็บไซต์โครงงาน
-
วีดีโอคลิปของโครงงาน
-
ที่เก็บเวอร์ชันซอร์สโค้ด
-
ผู้นำเข้าข้อมูลครั้งแรก
อาทิตย์
ปรีวิลัย
(g5914550106)
แก้ไขครั้งสุดท้าย
เมื่อ March 13, 2022, 3:56 a.m. โดย
อาทิตย์
ปรีวิลัย
(g5914550106)
สถานะการอนุมัติ
รออนุมัติ