หลักสูตร/ปี พ.ศ. วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ปี พ.ศ. 2563
ภาคและปีการศึกษาที่สำเร็จการศึกษา ภาคปลาย ปีการศึกษา 2562
ประเภทโครงงาน
โครงงานวิศวกรรม
ชื่อโครงงานภาษาไทย
ระบบเฝ้าสังเกตการณ์รังนกเงือก
ชื่อโครงงานภาษาอังกฤษ
Hornbill’s Nest Monitoring System
ผู้พัฒนา
5910505033 กิตติภพ ปธานวนิช
อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก
ชัยพร ใจแก้ว
อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม
อนันต์ ผลเพิ่ม
อภิรักษ์ จันทร์สร้าง
บทคัดย่อ
นกเงือกเป็นหนึ่งในสัตว์ที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศเป็นอย่างมาก เนื่องจากปริมาณนกเงือกที่มีอยู่ตามธรรมชาติสามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้ความสมบูรณ์ของระบบนิเวศ อีกทั้งยังมีส่วนช่วยในการปลูกป่าอีกด้วย ในบทความนี้จึงกล่าวถึงการออกแบบระบบเฝ้าสังเกตการณ์รังนกเงือกที่ประกอบไปด้วยเซนเซอร์ต่างๆ ทำหน้าที่ตรวจวัด และบันทึกค่าแสง อุณหภูมิ ความชื้นภายในรังนกเงือก อีกทั้งยังมีกล้องที่ทำหน้าที่ถ่ายและบันทึกภาพทั้งภายในและภายนอกรัง โดยระบบทั้งหมดจะถูกติดตั้งอยู่ภายในป่าซึ่งไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ ดังนั้นจึงได้นำเทคโนโลยีลอรา ซึ่งเป็นระบบการส่งข้อมูลระยะไกลที่ใช้พลังงานต่ำมาประยุกต์ใช้ โดยจะทำการส่งสัญญาณจากในป่าไปยังจุดรับสัญญาณที่มีเจ้าหน้าที่ดูแลอยู่ จากนั้นจึงทำการส่งข้อมูลที่ได้รับมาไปยังเว็บแอปพลิเคชันที่แสดงผลในรูปกราฟิก เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์สภาพภายในรังและพฤติกรรมของนกเงือก และนำไปใช้สร้างหรือปรับปรุงรังของนกเงือกเพื่ออนุรักษ์พันธุ์ของนกเงือกต่อไป ซึ่งจากผลการทดสอบการใช้งานจริงพบว่าระบบสามารถทำงานได้อย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ ใช้พลังงานต่ำ โดยค่าที่ตรวจวัดมีค่าใกล้เคียงกับเครื่องมือวัดมาตรฐาน
Abstract
Hornbills are one of the most important species for the ecosystem because natural hornbill’s population can be used as an indicator of ecosystem integrity, and helps facilitate forest expansion as well. This article presents the design of a hornbill's nest monitoring system consisting of various sensors responsible for measuring and recording light, temperature, and humidity inside the nest. There is also a camera that takes pictures and records hornbills’ activities both inside and outside the nest. The system will be installed in a forest with no cellular signal. Therefore, LoRa technology, which is a low-power long-range communication system, is employed. Signals will be sent from inside of the forest to a receiver supervised by an officer. The data is then sent to a web application to visualize the results for analyzing the internal conditions of the nest and behavior of hornbills, which can be used to build or improve hornbills' nests to further preserve the hornbill species. Experimental results show that the system is able to work properly and effective with low power consumption, while the measured values are close to those measured using standard instruments.
คำสำคัญ (Keywords)
Hornbill's nest monitoring system
Sensors
LoRa
Web Application
เว็บไซต์โครงงาน
-
ที่เก็บเวอร์ชันซอร์สโค้ด
-
ผู้นำเข้าข้อมูลครั้งแรก
กิตติภพ
ปธานวนิช
(b5910505033)
แก้ไขครั้งสุดท้าย
เมื่อ April 4, 2020, 10:37 a.m. โดย
กิตติภพ
ปธานวนิช
(b5910505033)
สถานะการอนุมัติ
รออนุมัติ