หลักสูตร/ปี พ.ศ. วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ปี พ.ศ. 2563
ภาคและปีการศึกษาที่สำเร็จการศึกษา ภาคปลาย ปีการศึกษา 2562
ประเภทโครงงาน
โครงงานวิศวกรรม
ชื่อโครงงานภาษาไทย
ระบบตรวจวัดและควบคุมสภาพแวดล้อมภายในตู้เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
ชื่อโครงงานภาษาอังกฤษ
Growth Chamber Environment Monitoring and Control System
ผู้พัฒนา
5910505467 รวินท์ ศรีสมบูรณ์
อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก
อนันต์ ผลเพิ่ม
อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม
ชัยพร ใจแก้ว
อภิรักษ์ จันทร์สร้าง
บทคัดย่อ
ตู้เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเป็นเครื่องมือสำคัญในการศึกษาและปรับปรุงพันธุ์พืช อย่างไรก็ตามค่าสภาพแวดล้อมภายในตู้เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่ออาจมีค่าผันผวนและตรวจสอบได้ยาก การตรวจวัดสภาพแวดล้อมภายในตู้เพาะเลี้ยงเป็นสิ่งจำเป็น โครงงานนี้เป็นโครงงานต่อเนื่องเพื่อพัฒนาระบบตู้เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อโดยนำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตในทุกสิ่งมาประยุกต์เข้ากับระบบตรวจวัดสภาพแวดล้อมและระบบควบคุมไฟ LED เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่นักวิจัยและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเก็บข้อมูลเพื่อนำไปวิเคราะห์ โดยได้จัดเก็บค่าสภาพแวดล้อม ได้แก่ ค่าอุณหภูมิ ค่าความชื้นสัมพัทธ์ ค่าความเข้มแสง และค่าความชื้นในดิน และได้นำหลักการของการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์กับอุปกรณ์มาใช้ในการส่งข้อมูลระหว่างหน่วยตรวจวัดสภาพแวดล้อมที่ประกอบด้วย ไมโครคอนโทรลเลอร์และเซนเซอร์ ซึ่งติดตั้งอยู่แต่ละจุดภายในตู้ไปยังหน่วยประมวลผล Raspberry pi ผ่านเครือข่ายไร้สาย ผลการทดลองตรวจวัดโดยเปรียบเทียบค่าอุณหภูมิและความชื้นของหน่วยตรวจวัดที่พัฒนาขึ้นและอุปกรณ์มาตรฐาน พบว่าค่าความชื้นสัมพัทธ์ที่วัดได้มีค่าใกล้เคียงกัน ในขณะที่ค่าอุณหภูมิมีความแตกต่างเนื่องจากการที่หน่วยตรวจวัดมีการนำค่าดัชนีความร้อนมาใช้ในการคำนวณค่าอุณหภูมิ ในส่วนระบบควบคุมไฟ LED ได้นำ CoB LED มาใช้งานเพื่อให้ค่าความเข้มแสงที่มากเพียงพอ โดยการทดลองเปรียบเทียบกับระบบไฟแบบเดิม เพื่อทำการปรับระยะห่างของ LED ให้เหมาะสม
Abstract
Growth Chamber is an essential tool for plant studies. However, the chamber condition may be varied. Hence, the monitoring system in the chamber is required. This project is a continuing work on creating the growth chamber for providing the environmental monitoring and LED controlling system. The system can log the environmental parameters such as temperature, relative humidity, light intensity and soil moisture values. By implementing WLAN and IOT technology, the sensor nodes in the chamber can wirelessly communicate with the Raspberry Pi controller and servers. The measured values have compared with the standard measurement equipment. The testing results shown that , the relative humidity is non-significantly different. However, the temperate value might be varied due to the heat index calculation of the measurement tool. For LED system, the CoB LED has been implemented for increasing the light intensity. The LED distance for suitable light intensity is also studied in this paper.
คำสำคัญ (Keywords)
ตู้เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ, อินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ง ระบบการเฝ้าติดตาม, ระบบควบคุมไฟแอลอีดี, Growth Chamber, Internet of Things, Monitoring system, LED controller
เว็บไซต์โครงงาน
practice.cpe.ku.ac.th:1880
ที่เก็บเวอร์ชันซอร์สโค้ด
Server (Node red) :
https://github.com/Mikimilk/gc_project.git
Monitoring unit (ESP32) :
https://github.com/Mikimilk/monitoring_unit.git
ผู้นำเข้าข้อมูลครั้งแรก
รวินท์
ศรีสมบูรณ์
(b5910505467)
แก้ไขครั้งสุดท้าย
เมื่อ April 18, 2020, 12:52 a.m. โดย
รวินท์
ศรีสมบูรณ์
(b5910505467)
สถานะการอนุมัติ
รออนุมัติ