รายละเอียดโครงงาน

หลักสูตร/ปี พ.ศ.
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ปี พ.ศ. 2562

ภาคและปีการศึกษาที่สำเร็จการศึกษา
ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2561

ประเภทโครงงาน
วิทยานิพนธ์

ชื่อโครงงานภาษาไทย
การออกแบบสถาปัตยกรรมและการตรวจวัดประสิทธิภาพตัวกรองยูอาร์แอลสำหรับเครือข่ายความเร็วสูง

ชื่อโครงงานภาษาอังกฤษ
Architectural Design and Performance Measurement of URL Filtering for High Speed Network

ผู้พัฒนา
5417550019 สุรชัย จิตพินิจยล

อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก
สุรศักดิ์ สงวนพงษ์

อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม
ภุชงค์ อุทโยภาศ
สุภาพร เอื้อจงมานี

บทคัดย่อ

ตัวกรองยูอาร์แอล มีหน้าที่ควบคุมการเข้าถึงเว็บไซต์ของไคลเอ็นต์ตามรายการยูอาร์แอลที่กำหนด ปัจจุบันเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีพัฒนาการด้านอัตราเร็วเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จำเป็นต้องอาศัยตัวกรองยูอาร์แอลที่มีประสิทธิภาพ สามารถรองรับปริมาณแพ็กเก็ตจำนวนมาก มีความถูกต้องแม่นยำ การตรวจสอบรายการยูอาร์แอลรวดเร็วและใช้ทรัพยากรระบบน้อย จึงจำเป็นต้องออกแบบโครงสร้างข้อมูลและขั้นตอนวิธีที่มีประสิทธิภาพ และเลือกใช้สถาปัตยกรรมการวางตัวกรองยูอาร์แอลแบบไม่หยุดระงับ (non-blocking) ข้อมูลจราจรเครือข่าย เพื่อให้การส่งข้อมูลระหว่างไคลเอ็นต์กับเซิร์ฟเวอร์ไม่มีเวลาหน่วง และไม่ส่งผลกระทบกับเครือข่ายหากตัวกรองหยุดทำงาน วิธีการนี้อาศัยเทคนิคยึดครองเซสชั่นเพื่อใช้ควบคุมการเข้าถึงเว็บไซต์
วิทยานิพนธ์นี้นำเสนอขั้นตอนวิธีให้ตัวกรองยูอาร์แอลทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการออกแบบโครงสร้างข้อมูล และการบริหารรายการยูอาร์แอลร่วมกับการจัดการไอพีแอดเดรส เพื่อลดเวลาประมวลผล เนื้องานนำเสนอการปรับปรุงโครงสร้างต้นไม้เอวีแอล สำหรับจัดเก็บและสืบค้นรายการยูอาร์แอล ทำให้ลดเนื้อที่จัดเก็บรายการยูอาร์แอลและสืบค้นได้เร็วขึ้น กลไกการปรับปรุงกระบวนการกลั่นกรองไอพีแอดเดรสก่อน ทำให้รองรับอัตราเร็วเครือข่ายได้ถึง 100 กิกะบิตต่อวินาที โดยใช้ตัวกรองยูอาร์แอลเพียงเครื่องเดียว
จากการตรวจวัดประสิทธิภาพตัวกรองยูอาร์แอล โดยเปรียบเทียบระหว่างการใช้โครงสร้างต้นไม้เอวีแอลเพียงอย่างเดียวกับการกลั่นกรองไอพีแอดเดรสก่อน พบว่าเวลาสืบค้นรายการยูอาร์แอลลดลง 13 เท่า

Abstract

The URL filtering purposely is to control client’ internet access according to the URL-block list. At present, the computer network grows rapidly. It requires an effective URL filtering that can support a large number of packets, accurately and quickly functions, and use low system resources. Thus, it requires an efficient design of data structure and effective algorithms for URL filtering by using non-blocking architecture. As a result, data transmission between clients and servers can be smoothly processed and does not affect the network, in case that URL filtering stops working. This design is based on the session hijacking techniques that control the server access.
This thesis proposes the effective URL filtering algorithm by designing data structure and managing URL lists with IP addresses to minimize processing time. This work presents the AVL tree structure improvement for storing and searching URL lists to reduce the storage space and searching time. The improvement mechanism applies IP address pre-filter that supports up to 100 Gbps network by using only single COTS.
Compared the performance measurement of URL filtering, the AVL tree structure improvement and the IP address pre-filter reduces URL searching time by 13 times.

คำสำคัญ (Keywords)

URL filtering, URL matching, Session Hijacking, Hashing, Bloom Filter.

เว็บไซต์โครงงาน
-

วีดีโอคลิปของโครงงาน
-

ที่เก็บเวอร์ชันซอร์สโค้ด

-


สถานะการนำเข้าข้อมูล

ผู้นำเข้าข้อมูลครั้งแรก
สุรชัย จิตพินิจยล (g5417550019)

แก้ไขครั้งสุดท้าย
เมื่อ Sept. 6, 2019, 2:22 p.m. โดย สุรชัย จิตพินิจยล (g5417550019)

สถานะการอนุมัติ
รออนุมัติ